Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55224
Title: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากวัสดุและการใช้งานของอาคารพักอาศัยต้นแบบในโครงการบ้านประชารัฐ การเคหะแห่งชาติ
Other Titles: GREENHOUSE GAS EMISSION FROM CONSTRUCTION AND OPERATION OF BANN PRACHARAT PROJECT OF NATIONAL HOUSING AUTHORITY
Authors: ณัฎฐ์วิภา รุ่งเรืองธนาผล
Advisors: อรรจน์ เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Atch.S@Chula.ac.th,atch111@live.com
Subjects: อาคารแบบยั่งยืน
ก๊าซเรือนกระจก
Sustainable buildings
Greenhouse gases
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากอาคารพักอาศัยต้นแบบในโครงการบ้านประชารัฐ การเคหะแห่งชาติ โดยใช้วิธีการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากคู่มือ IPCC (2006) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การปรับเปลี่ยนวัสดุกรอบอาคาร มีผลต่อการใช้พลังงานในการทำความเย็นของอาคาร เมื่อปรับเปลี่ยนวัสดุกรอบอาคารให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ค่าการใช้พลังงานในการทำความเย็นก็จะลดลงด้วย ซึ่งการปรับเปลี่ยนวัสดุนี้ยังมีความสัมพันธ์กับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมของอาคารอีกด้วย เพื่อให้ได้ผลการจำลองการใช้พลังงานที่สมบูรณ์และถูกต้องกับสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน จึงนำไฟล์ข้อมูลอากาศของกรุงเทพที่เป็นไปตามการคาดคะเนผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในอนาคตเข้ามาใช้ในการคำนวณ จากการทดลองพบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากวัสดุกรอบอาคารและก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานในการทำความเย็นของอาคารนั้น เมื่อมีการปรับเปลี่ยนวัสดุกรอบอาคารเป็นคอนกรีตมวลเบา หลังคากระเบื้องดินเผา กระจกตัดแสง และเพิ่มฉนวนเยื่อกระดาษหนา 2 นิ้ว เหนือฝ้าเพดาน โดยบ้านเดี่ยว 2 ชั้น บ้านแฝด 2 ชั้น ทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น และคอนโด 4 ชั้น จะมีมูลค่าการก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากอาคารกรณีศึกษาคิดเป็นร้อยละ 20, 9, 12 และ 6 เมื่อปรับเปลี่ยนวัสดุแล้วสามารถลดค่าไฟลงได้ร้อยละ 54, 38, 30 และ 26 และมีค่าความคุ้มทุนในการลงทุนการก่อสร้างใน 6 ปี, 3 ปี, 5 ปี และ 3 ปี รวมถึงมีค่าประสิทธิผลเชิงนิเวศเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 6 เท่า, 4 เท่า, 1.4 เท่า และ 1 เท่า ทั้งนี้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมสามารถลดลงคิดเป็นร้อยละ 14, 14, 11 และ 7 ต่อปีตามลำดับ ซึ่งถือได้ว่าเป็นชุดทางเลือกการเปลี่ยนวัสดุกรอบอาคารที่ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมกับอาคารผู้มีรายได้น้อยและคุ้มค่าการลงทุนที่สุด
Other Abstract: This paper examines the greenhouse gas emission from production and operation of Bann Pracharat Project of National Housing Authority. The calculations are made with reference to the IPCC (2006) handbook. The study found that changing the building envelope material affects the energy use in the operation of the building in terms of cooling. When the effectiveness of the envelope improves, the energy used in operation decreases. Changing the envelope material also correlates with the overall greenhouse gas emission of the building. For a more complete and accurate energy model, data of Bangkok's climate trend and its forecast that factored in the effect of global warming. The study found that when the building envelope is changed to autoclaved aereated concrete, clay-tiled roof, heat absorbing glass, and 2-inch Cellulose insulation, for single house, twin house, townhouse and condominium, the greenhouse gases will emission decrease by 54, 38, 30 and 26 percent. However, construction cost will increase by 20, 9, 12 and 6 percent, while energy cost will decrease by 54, 38, 30 and 26 percent. The breakeven period for the construction cost is 6, 3, 5 and 3 years on average, with the eco-efficacy rising by 6, 4, 1.4 and 1 times greater. In conclusion, this set of the alternative envelope material is the most appropriate and cost-effective investments for those with lower income to lower their greenhouse gas emission. e to lower their greenhouse gas emission.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55224
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1178
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1178
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873565425.pdf10.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.