Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55233
Title: การเปรียบเทียบความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูงระหว่างกำลังพลประจำเรือและกำลังพลหน่วยบกของกองทัพเรือ
Other Titles: Comparison of prevalence and associated factors of hypertension between ship officers and In-land officers of the Royal Thai Navy
Authors: แจ่มจันทร์ จันทร์แจ้ง
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pornchai.Si@Chula.ac.th,psithisarankul@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทนำ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความดันโลหิตสูงในกำลังพลประจำเรือและกำลังพลหน่วยบกของกองทัพเรือ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Analytic cross-sectional study กลุ่มตัวอย่างเป็นกำลังพลกองทัพเรือที่ปฏิบัติงานในพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมีกำลังพลประจำเรือ 670 ราย และกำลังพลหน่วยบกจำนวน 647 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งให้ผู้เข้าร่วมการศึกษากรอกข้อมูลด้วยตนเองและค่าความดันโลหิตที่ได้จากการวัดและบันทึกโดยบุคลากรทางการแพทย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความชุกของความดันโลหิตสูงด้วย Proportion test และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูงด้วย Multiple logistic regression ผลการศึกษา: กำลังพลประจำเรือมีความชุกของโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 31.2 ซึ่งน้อยกว่ากำลังพลหน่วยบกที่มีความชุกของโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 41.1 อยู่ร้อยละ 9.9 (95% CI 4.75, 15.08) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความชุกของความดันโลหิตสูงในกำลังพลประจำเรือได้แก่ การสูบบุหรี่ ไขมันในเลือดสูง การดื่มแอลกอฮอล์ อายุ และดัชนีมวลกายตามลำดับ แต่ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูงในกำลังพลหน่วยบกได้แก่ อายุและดัชนีมวลกาย วิจารณ์และสรุปผลการศึกษา: ความชุกของความดันโลหิตสูงในกำลังพลกองทัพเรือมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ อายุ และดัชนีมวลกาย โดยไม่เกี่ยวข้องกับความแตกต่างของหน่วยงานที่สังกัด ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพจึงควรมุ่งเน้นที่การรณรงค์เลิกสูบบุหรี่ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ และการควบคุมอาหาร
Other Abstract: Background: The objectives of this study were to compare prevalence and associated factors of hypertension between ship officers and In-land officers of the Royal Thai Navy. Method: This was an analytic cross-sectional study of 670 naval ship officers and 647 In-land officers in Sattahip district, Chonburi province. Data was collected by self-administered questionnaires. The blood pressure was measured and recorded by medical personnel. Data were analyzed by descriptive statistics. The prevalence of hypertension were compared by proportion test. The associated factors were analyzed by multiple logistic regression. Result: Prevalence of hypertension in ship officers was 31.2 percent, statistically less than prevalence of hypertension in In-land officers, which was 41.1 percent, for 9.9 percent (95% CI 4.75, 15.08). The associated factors of hypertension in ship officers were smoking, alcohol consumption, hyperlipidemia, age and BMI, respectively. While, the associated factors of hypertension for in-land officers were age and BMI. Discussion and Conclusion: The prevalence of hypertension among naval officers was associated with health behaviors, increasing age and BMI rather than the difference of working unit. Thus, health promotion program for naval officers should emphasize on smoking cessation, reducing alcohol consumption and diet-control especially in elder officers.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55233
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.220
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.220
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874013530.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.