Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5523
Title: ความจำเพาะและความไวของการทดสอบทางผิวหนังในการวินิจจัยโรคภูมิแพ้จมูกอักเสบต่อแมลงสาบ
Other Titles: The specificity and the sensitivity of skin prick test in the diagnosis of nasal allergy to cockroach
Authors: พรเพ็ญ ธรรมพานิชวงค์
Advisors: เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
ประพันธ์ ภานุภาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Kiat.R@chula.ac.th
Prapan.P@chula.ac.th
Subjects: เยื่อจมูกอักเสบ
แมลงสาบ
โรคภูมิแพ้ -- การวินิจฉัย
การทดสอบทางผิวหนัง
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังเป็นวิธีที่นิยมใช้ในการวินิจฉัยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ แต่ผลการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังโดยเฉพาะวิธีทดสอบที่ชั้นหนังกำพร้า (skin prick test) ที่สามารถวินิจฉัยว่า สารสกัดจากฝุ่นซากแมลงสาบที่เกิดปฏิกิริยาที่ผิวหนังเป็นสาเหตุของอาการจมูกอักเสบยังไม่มีการยืนยันที่ชัดเจน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินเครื่องมือเพื่อการวินิจฉัยโรค (diagnostic test) ได้แก่ การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังวิธี skin prick test โดยใช้การทดสอบจมูก (nasal provocation test) ด้วยสารสกัดจากฝุ่นซากแมลงสาบเป็น gold standard ในการเปรียบเทียบ และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง กับการทดสอบจมูกด้วยสารสกัดจากฝุ่นซากแมลงสาบสายพันธุ์อเมริกา โดยทำทดสอบจมูกในคนปกติ และผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่ให้ผลการทดสอบ skin prick test ต่อสารก่อภูมิแพ้ตั้งแต่ 3+ ขึ้นไป แล้วบันทึกอาการคัดจมูก คัน จาม และปริมาณน้ำมูกที่เกิดจากการกระตุ้น ผลการวิจัยพบว่า จากผู้ป่วยที่เข้ามาคัดกรองจำนวน 63 ราย ผ่านเกณฑ์ 40 ราย พบว่า 22 รายให้ผลการทดสอบทางผิวหนังเป็นบวกต่อสารสกัดจากฝุ่นซากแมลงสาบ โดยมี 18 รายที่มีผลเป็น 3+ ขึ้นไป และทุกรายให้ผลบวกต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย ขนาดของปฏิกิริยาจากการทดสอบผิวหนังมากกว่าหรือเท่ากับ 5 มม. มีความจำเพาะ (specificity), ความไว (sensitivity), positive predictive value และ negative predictive value ในการวินิจฉัยเป็นร้อยละ 71, 57, 71 และ 55 ตามลำดับ เมื่อใช้เกณฑ์ 1 ใน 3 ของการทดสอบจมูก หรือใช้ปริมาณสารสกัดจากฝุ่นซากแมลงสาบ 0.0125 มก. เป็น cut-off point ในการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีจมูกอักเสบจากการแพ้ฝุ่นซากแมลงสาบ ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ทั้ง 2 กลุ่มตอบสนองต่อการกระตุ้นจมูกไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาจากเกณฑ์ที่กำหนด ค่ามัธยฐานของปริมาณสารสกัดที่ต่ำสุดที่กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางจมูกในคนปกติเท่ากับ 12.5 มก. ในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้อื่นเท่ากับ 6.88 มก. และในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากฝุ่นซากแมลงสาบเท่ากับ 0.125 มก. (p<0.001 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุม กับกลุ่มผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคจมูกอับเสบจากภูมิแพ้ต่อฝุ่นซากแมลงสาบ กับผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดอื่นๆ) และพบว่าขนาดของปฏิกิริยาบวมนูนจากการทดสอบผิวหนังมีความสัมพันธ์เชิงผกผันกับปริมาณสารสกัดจากฝุ่นซากแมลงสาบที่ใช้ทดสอบจมูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Rho = -0.514, p<0.001) โดยสรุป การวินิจฉัยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ต่อฝุ่นซากแมลงสาบ โดยวิธี skin prink test ที่ให้ปฏิกิริยาบวมนู้นตุ้งแต่ 3+ ขึ้นไปมีความจำเพาะสูงแต่มีความไวค่อนข้างต่ำในการวินิจฉัยโรค อย่างไรก็ตาม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของตุ่ม wheal ของ SPT มีความสัมพันธ์เชิงผกผันกับปริมาณสารสกัดฝุ่นแมลงสาบที่ใช้ทดสอบจมูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The allergen skin prick test is commonly used to diagnose cockroach allergic rhinitis (AR) although positive results do not always indicate that rhinitis is of allergic origin. This diagnostic study was designed to assess the specificity and the sensitivity of skin prick test in the diagnosis of nasal allergy to cockroach compared to nasal provocative test (NPT), and to determine the association between skin prick reaction and nasal provocation responses to Periplaneta americana allergen extract (CRa). Sixty three rhinitis patients were screened and 40 cases were enrolled. Twenty-two non-rhinitis with negative SPT healthy volunteers were included as control. All underwent nasal provocation tests using standardized cockroach extract. Serial ten folds dilutions of allergen extract were delivered by a metered dose pump. Nasal stuffiness, rhinorrhea, itching, and sneezing were recorded, and the amount of secretion was measured. The results showed that 22 of 40 rhinitis patients (55%) had SPT positive to cockroach antigen, 18 of them had positive reaction at least 3+. All of cockroach sensitized patents also showed positive SPT against other antigens. In NPT results, median threshold of CRa in healthy volunteers was 12.5 mg, in non-cockroach AR was 6.88 mg, and cockroach AR was 1.25 mg. The value is significantly lower in the allergic rhinitis group compared to that of the normal controls (p<0.001). There is no significant difference in median CRa threshold between cockroach and non-cockroach AR groups. Diameters of wheal of CRa skin test positivity were reversely correlated to the threshold of CRa in NPT (Rho = -0.514, p<0.001). Based on positive NPT as a gold standard (either using at least 1 out of 3 criteria or the cut-off threshold at 0.0125 mg of CRa), the specificity, sensitivity, positive predictive value (PPV), and negative predictive value (NPV) of cockroach SPT positive of at least 3+ was 71, 57, 55 and 71 percent, respectively. In conclusion, a significant reverse correlation between diameter of CRa positive wheal and the CRa nasal reactive threshold was found. SPT positive against CRa of at least 3+ has high specificity but relatively low sensitivity for the diagnosis of cockroach nasal allergy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5523
ISBN: 9741304129
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pornpen.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.