Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55256
Title: การกำหนดตำแหน่งทางกายวิภาคศาสตร์ของเส้นประสาท Sciatic และความสัมพันธ์ระหว่างเส้นประสาท Sciatic และกล้ามเนื้อ Piriformis
Other Titles: ANATOMICAL LOCALIZATION OF THE SCIATIC NERVE AND ITS RELATIONSHIP TO THE PIRIFORMIS MUSCLE
Authors: เปริน วันแอเลาะ
Advisors: วิไล ชินธเนศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Vilai.Ch@Chula.ac.th,cvilai1@yahoo.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Piriformis (PM) เป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมวางตัวอยู่ในชั้นลึกของบริเวณก้น โดยปกติจะวางพาดทับเส้นประสาท Sciatic (SN) ซึ่งเป็นเส้นประสาทส่วนปลายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย เมื่อผ่านลอดใต้ PM ออกมาแล้วจะทอดตัวไปทางด้านหลังของต้นขา ให้แขนงควบคุมการทำงานกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ปลายขาและเท้า รวมทั้งรับความรู้สึกจากบริเวณเหล่านั้นอีกด้วย ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งของ SN และความสัมพันธ์ทางกายวิภาคศาสตร์ระหว่าง SN และ PM มีความสำคัญทางคลินิกและการทำหัตถการทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของ PM ความสัมพันธ์ทางกายวิภาคศาสตร์ระหว่าง SN และ PM และตำแหน่งของ SN เปรียบเทียบกับปุ่มกระดูกในบริเวณใกล้เคียง โดยทำการศึกษาจากร่างอาจารย์ใหญ่จำนวน 102 ร่าง พบลักษณะทางสัณฐานวิทยาของ PM 6 รูปแบบ โดยรูปแบบที่พบมากที่สุดคือ กล้ามเนื้อเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือลูกแพร์ (67.65%) ประเภทความสัมพันธ์ระหว่าง SN และ PM ที่พบประกอบด้วย รูปแบบ a (74.02%), b (22.55%) และ c (3.43%) ตามการแบ่งของ Beaton และ Anson การวัดระยะจากจุดกึ่งกลางของ SN และปุ่มกระดูกที่ใช้อ้างอิง ได้แก่ PSIS (P), ischial tuberosity (T) และ greater trochanter (G) พบว่า ความยาวของระยะต่างๆในเพศชายและหญิง มีค่าดังนี้ ระยะ P-T มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 131.42±12.35 และ 127.52±11.01 มิลลิเมตร โดยตำแหน่งของ SN จาก P คิดเป็น 60.77±5.93% และ 59.22±5.78% ของความยาวระยะ P-T ค่าเฉลี่ยของระยะ T-G คือ 77.64±8.79 และ 67.62±9.04 มิลลิเมตร ซึ่งตำแหน่งของจุดกึ่งกลาง SN จาก T มีค่าเท่ากับ 35.90±7.59% และ 40.17±8.49% ของความยาวระยะ T- G และค่าเฉลี่ยระยะ P-G มีค่าเท่ากับ 155.65 ± 13.11 และ 146.17 ± 15.08 มิลลิเมตร โดยตำแหน่งของ SN จากจุด P คิดเป็น 54.59±6.05% และ 53.71±6.61% ของระยะ P-G จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างเพศและข้างในบางค่า ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้คาดว่าจะช่วยป้องกันและลดอุบัติการณ์การบาดเจ็บของเส้นประสาท sciatic และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำหัตถการทางการแพทย์บริเวณสะโพกและบริเวณอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการวินิจฉัย และการรักษาที่ประสบความสำเร็จต่อไป
Other Abstract: The piriformis (PM) is a triangular shaped muscle which located deep in the gluteal region. Normally, the PM is positioned adjacent to the sciatic nerve (SN), the largest peripheral nerve in the body. The knowledge of the SN’s position and the anatomical relationship between SN and PM is essential for medical procedures. This research aimed to study toward the PM morphology, the anatomical relationship of SN and PM and the position of SN and nearby bony landmarks. 102 cadavers of both genders were dissected. Six variations of the PM morphology have been observed. The most common morphology was triangular shape (67.65%). According to the classification of Beaton and Anson on the relationship of SN and PM, the percentage of type a, b and c were 74.02%, 22.55% and 3.43% respectively. The distance between the midpoint of SN and the three bony landmarks including PSIS (P), ischial tuberosity (T), and greater trochanter (G) were measured. The lengths between them in males and females were as follows. The lengths of P-T line were 131.42±12.35 and 127.52±11.01 mm. The positions of SN from P were 60.77±5.93% and 59.22±5.78% of P-T length. The distances between T and G were 77.64±8.79 and 67.62±9.04 mm. The midpoint of SN from T were 35.90±7.59% and 40.17±8.49% of T- G length. Moreover, the distances between P and G were 155.65±13.11 and 146.17±15.08 mm. The positions of SN from P were 54.59±6.05% and 53.71±6.61% of P-G length. There are statistically significant differences between genders and sides in some parameters. The result from this study is expected to have some benefits in protecting and reducing the number of SN injuries when performing medical operations at the relevant area and, likewise, it is intended to be applied for the effectiveness of the diagnosis and treatment in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55256
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.763
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.763
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874098930.pdf11.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.