Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55314
Title: | การถ่ายทอดแนวความคิดด้านการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยประเภทศิลปะการแสดงเต้นรำเฉพาะพื้นที่ของนราพงษ์ จรัสศรี |
Other Titles: | THE TRANMISSION OF NARAPHONG CHARASSRI’S CREATIVE CONCEPTS OF SITE-SPECIFIC DANCE PERFORMANCE |
Authors: | จิรายุทธ พนมรักษ์ |
Advisors: | วิชชุตา วุธาทิตย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Vijjuta.V@Chula.ac.th,vijjuta@yahoo.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการถ่ายทอดแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยประเภทศิลปะการแสดงเต้นรำเฉพาะที่ (Site-specific dance performance) มีขอบเขตในการศึกษาศึกษาเฉพาะแนวความคิดด้านการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ประเภทศิลปะการแสดงเต้นรำเฉพาะที่ ของศาสตราจารย์ ดร.นราพงษ์ จรัสศรี การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลโดยประมวลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามที่ได้มา วิเคราะห์ในเรื่องของการถ่ายทอดแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยประเภทศิลปะการแสดงเต้นรำเฉพาะพื้นที่ของศาสตราจารย์ ดร.นราพงษ์ จรัสศรี ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ในทางการสร้างสรรค์มีอยู่หลายระดับ และอาจพิจารณาได้ว่า คำว่าพื้นที่ อาจมีความหมายถึงอาณาบริเวณ 2 ลักษณะ คือ พื้นที่ ที่เป็นอาณาบริเวณว่างเปล่า (space) และพื้นที่ที่มีนัยสำคัญเฉพาะ (site) การศึกษาพบว่า ศิลปินในสาขาต่าง ๆ นิยมสร้างผลงานอันมีพื้นที่เฉพาะ หรือพื้นที่มีนัยสำคัญจำนวนมาก และงานศิลปกรรมในลักษระดังกล่าว มีงานที่เป็นงานชิ้นเอกอยู่จำนวนไม่น้อย ตามแขนงสาขาทางศิลปะ ทั้งจิตรกรรมและประติมากรรม วรรณศิลป์และดุริยางคศิลป์ และศิลปะการละคร การศึกษาพบว่า การได้ร่วมงานกับศิลปินสำคัญ ๆ ขณะพำนักอยู่ในต่างประเทศนั้นทำให้ ศาสตราจารย์ ดร.นราพงษ์ จรัสศรี ได้มีส่วนร่วมทั้งในฐานะเป็นผู้แสดง และผู้สร้างสรรค์ จึงมีประโยชน์อย่างมาก เพราะวงการนาฏยศิลป์ในโลกตะวันตกนั้น นิยมการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยประเภทการเต้นรำเฉพาะพื้นที่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ การแสดงที่นำเสนอมรดกทางวัฒนธรรม และการแสดงที่นำเสนอวัฒนธรรมร่วมสมัย ในการถ่ายทอดศิลปะการแสดงประเภทการเต้นรำเฉพาะพื้นที่ ได้มีการศึกษาแบ่งแยกเป็น 2 ประเด็น คือในฐานะที่เป็นการถ่ายทอดงานงานสร้างสรรค์ให้ผู้ชม การศึกษาครั้งนี้ได้วิเคราะห์องค์ประกอบที่พบในการแสดงชุดต่าง ๆ ได้แก่ บท ลีลา เครื่องแต่งกาย เสียงและดนตรี แสง และผู้แสดง นอกจากนี้ยังได้พิจารณาการถ่ายทอดในฐานะที่เป็นการให้ความรู้ในองค์กรการศึกษา พบว่า ศาสตราจารย์ ดร.นราพงษ์ จรัสศรี ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงประเภทเต้นรำเฉพาะพื้นที่ในวิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Abstract: | This dissertation aims at investigesting tranmission of concepts in site-specific dance performance creativity and has scope of study in Thai Creative dance works by Professor Naraphong Charassri Ph.D. This study deploys qualitative methodology and analyzes data by literary review and field study. This study has found that areas used in the creativity are of several levels and may be defined in two types i.e. spece and site. The study has also found that artists in various branches of art tend to create their works based on sites or specific areas, among the works created in paintings, sculptures, literary works arts, musical arts, and performing arts found the masterpieces. His extensive experiences in working with eminent artists when residing abroad in the United Kingdom as performer and co-creator make Professor Naraphong Chasassri efficient in art creativity and the experimentation, the main activities in the West in that period. Site-specific Thai dance performances by Professor Naraphong Charassri Ph.D. are of two groups; the works concerning Thai culteral heritage, and the works concerning contemporary culture. The tranmission are done through two channels, the tranmission through art appreciation in the audiences with combination of literary application, dance gestures, costumes, sound and music, light, and performers. Another type of tranmission in done in academic arena since the knowledge of such creativity has delivered to fellows in doctoral program in creativity at Chulalongkorn University. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | นาฏยศิลป์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55314 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.392 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.392 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5486820235.pdf | 16.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.