Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55338
Title: LOW CARBON DEVELOPMENT STRATEGIC MODEL FOR SUSTAINABLE TRANSPORT : A CASE STUDY OF MASS TRANSIT SYSTEM IN BANGKOK METROPOLITAN
Other Titles: แบบจำลองเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำสำหรับภาคการขนส่งที่ยั่งยืน : กรณีศึกษาระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร
Authors: Kwanyawee Thaveewatanaseth
Advisors: Sangchan Limjirakan
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: Sangchan.L@Chula.ac.th,sangchan.l@chula.ac.th
Issue Date: 2016
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Sustainable transportation has been raised up into the mainstreaming of low carbon development and sustainable city frameworks since first recognized at the United Nations Conference on Environment and Development (UNCED), in the outcome document namely the Agenda 21. Nowadays, sustainable transport is one of the major approaches for the mega cities to achieving Sustainable Development Goals (SDGs) as the 2030 Agenda for Sustainable Development. Bangkok Metropolitan is one of the cities in Asia where become more vulnerable areas to climate change impacts and unsustainable city patterns caused by urbanization, economic growth, high energy consumption and greenhouse gas (GHG) emissions. As results from inefficient public transport system, lack of land-use planning as well as lack of mobility management, Bangkok has more environmental, social and economic problems. In Thailand, the mass rapid transit (MRT) master plans have been developed as the key role in developing Bangkok Metropolitan toward low carbon and sustainable city, but there still lack of sustainable transportation concept applied in such plans. The objectives of the study are to study the current situation of transportation system and its impacts in Bangkok Metropolitan, and to propose low carbon development strategic model on sustainable transport toward sustainable and low carbon city. This research was designed as exploratory research applying a qualitative research methods consisting of 1) desk reviews of international, national, and local policies and relevant documents which related to sustainable development, sustainable transport, low carbon city, and mass rapid transit system; and 2) in-depth semi-structured stakeholder interviews were conducted with key respondents that classified into six stakeholder groups; namely governmental agencies, mass rapid transit operators, consulting companies, international organizations, non-profit organizations, and experts. Multiple viewpoints of different key stakeholder groups were analyzed and presented in the form spider charts which somewhat useful for the inductive analysis processes. The research found that policy and institutional elements issues are major challenges for implementing low carbon development strategy for sustainable transport and low carbon city; including inconsistency of policy and plan, lack of stakeholder involvement and buy-in, lack of readiness in data, human resources, technology and finance, and ineffective regulations enforcement. The proposed model highlighted the major factors and supplemental key elements composing of institution, technical and human capacity development, institutional framework and stakeholder mapping, policy setting, process integration and inclusive plans, as well as plan of implementation with concrete and continuity action plan and implementation. These would support effective strategic process for low carbon development strategy on sustainable transport and low carbon city. The study would highly recommend that both inter- and intra-connecting networks of the MRT systems as well as the transit oriented development for developing inclusive and effective transport systems need to be strongly taken into account. In addition, a high-level participation and a clear direction of the governmental policies also need strongly support in achieving sustainable transport towards low carbon city development processes.
Other Abstract: การขนส่งที่ยั่งยืนเป็นหนึ่งในแกนหลักของกรอบการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำและเมืองที่ยั่งยืน ในเอกสาร Agenda 21 จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเมื่อปี ค.ศ. 1992 จนถึงปัจจุบัน การขนส่งที่ยั่งยืนเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญสำหรับเมืองใหญ่ต่างๆ ในการนำมาปรับใช้เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ในปี ค.ศ. 2030 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหนึ่งในภูมิภาคเอเชียที่มีความล่อแหลมจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและรูปแบบการพัฒนาเมืองที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งเกิดจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมถึงขาดการจัดการการเดินทางที่เหมาะสมในกรุงเทพมหานคร เป็นผลทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีการพัฒนาแผนแม่บทภาคการขนส่งด้วยรถไฟฟ้าในการพัฒนากรุงเทพมหานครไปสู่เมืองคาร์บอนต่ำและเมืองที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่า ในระยะเริ่มต้นของการพัฒนาแผนแม่บทดังกล่าว ยังขาดการนำแนวคิดการขนส่งที่ยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัจจุบันของระบบขนส่งและผลกระทบด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเพื่อเสนอแบบจำลองเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำสำหรับภาคการขนส่งที่ยั่งยืนและนำไปสู่เมืองคาร์บอนต่ำและยั่งยืน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจที่ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1) การศึกษาทบทวนนโยบายทั้งในระดับระหว่างประเทศ ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น รวมถึงศึกษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน การขนส่งที่ยั่งยืน เมืองคาร์บอนต่ำ และระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และ 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยมีการจัดกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน บริษัทที่ปรึกษา องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร และผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ความหลากหลายในมุมมองจากแต่ละกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบแผนภูมิใยแมงมุม ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการวิเคราะห์เชิงอุปนัย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ปัญหาด้านนโยบายและองค์ประกอบขององค์กรถือเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับการดำเนินงานยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำเพื่อการขนส่งที่ยั่งยืนและเมืองคาร์บอนต่ำ ซึ่งประกอบด้วย ความไม่สอดคล้องของนโยบายและแผนงาน การขาดการมีส่วนร่วมและการยอมรับเห็นชอบจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความไม่พร้อมทางด้านข้อมูล ทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยี และทางการเงิน ตลอดจนความไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ทั้งนี้ โมเดลจากการศึกษาครั้งนี้ได้นำเสนอปัจจัยหลัก และองค์ประกอบเสริมที่สำคัญต่างๆ อันประกอบด้วย การพัฒนาด้านขีดความสามารถของสถาบัน ด้านเทคนิค และความเชี่ยวชาญของบุคลากร กรอบโครงสร้างสถาบันและการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การกำหนดนโยบายและการบูรณาการของกระบวนการและแผนงาน รวมทั้งแผนการดำเนินงานที่มีแผนปฏิบัติการและการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนประสิทธิภาพของกระบวนการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำสำหรับภาคการขนส่งที่ยั่งยืนและเมืองคาร์บอนต่ำ ดังนั้น จึงได้แนะนำให้มีการเชื่อมต่อทั้งภายในเครือข่ายของระบบรถไฟฟ้า และการเชื่อมต่อระหว่างระบบรถไฟฟ้าไปยังระบบภาคการขนส่งอื่นๆ รวมถึงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน เพื่อเป็นการพัฒนาระบบขนส่งที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมของผู้บริหารระดับสูง และทิศทางที่ชัดเจนของนโยบายภาครัฐ จะเป็นการสนับสนุนที่สำคัญในการนำไปสู่กระบวนการพัฒนาภาคการขนส่งที่ยั่งยืนและการพัฒนาสู่เมืองคาร์บอนต่ำให้ประสบผลสำเร็จ
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2016
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Environment, Development and Sustainability
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55338
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1551
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1551
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5587760520.pdf7.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.