Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55450
Title: หลักความโปร่งใสภายใต้ข้อบังคับการอนุญาโตตุลาการของคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ
Other Titles: UNCITRAL Rules on Transparency in Treaty-based Investor-State Arbitration
Authors: นภชนก รอดแสง
Advisors: ศักดา ธนิตกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sakda.T@Chula.ac.th,Sakda.T@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความโปร่งใสในบริบทของการระงับข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนกับรัฐนั้นมีรูปแบบที่สำคัญอยู่ 3 ประการคือ การเปิดเผยข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการระงับข้อพิพาท, การเปิดให้เข้ารับฟังการพิจารณา และการรับเอกสารจาก Amicus curiae ซึ่งรูปแบบการอนุญาโตตุลาการการลงทุนระหว่างนักลงทุนกับรัฐนั้นเป็นรูปแบบดั้งเดิมที่มาจากการอนุญาโตตุลาการทางการค้า ทำให้เกิดปัญหาความชอบธรรมในการที่จะใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการที่เหมือนกันสำหรับข้อพิพาทที่มีความแตกต่างกัน เช่น ลักษณะของคู่พิพาท ฐานกฎหมายที่ใช้ในการฟ้องร้อง ลักษณะความยินยอมของคู่สัญญา โดยปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีด้วยกันหลายประการ เช่น ความสอดคล้องของคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการ ค่าใช้จ่ายในกระบวนการที่มีราคาสูงมากเกินไป หรือการขาดความโปร่งใส จนมีการถกเถียงถึงการปฏิรูปกลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนกับรัฐ การปรับปรุงข้อบังคับในการอนุญาโตตุลาการในเรื่องของความโปร่งใสนั้นในปี ค.ศ. 2013 UNCITRAL ได้สร้างหลักความโปร่งใสภายใต้ข้อบังคับการอนุญาโตตุลาการขึ้นมา โดยเนื้อหานั้นเกี่ยวกับการเพิ่มความโปร่งใสเข้ามาในข้อบังคับว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการ เช่น การเปิดให้มีการเข้าถึงเอกสารและข้อมูล, การรับเอกสารจากฝ่ายที่สาม, การเปิดให้เข้าฟังการพิจารณา จากการศึกษาพบว่า UNCITAL ได้มีการเพิ่มทางเลือกให้แก่นักลงทุนและรัฐที่ได้ทำสนธิสัญญาการลงทุนไปก่อนวันที่หลักความโปร่งใสจะมีผลบังคับใช้ โดยการทำอนุสัญญาว่าด้วยความโปร่งใสขึ้นมาอีกด้วย ซึ่งเนื้อหาในวิทยานิพนธ์เล่มนี้จะศึกษาและวิเคราะห์หลักความโปร่งใสภายใต้ข้อบังคับการอนุญาโตตุลาการและอนุสัญญาว่าด้วยความโปร่งใส รวมถึงศึกษาถึงข้อดีและข้อเสียต่างๆของหลักว่าด้วยความโปร่งใสนี้ด้วย
Other Abstract: Transparency in the context of Investor-State dispute settlement, has three patterns: public access to arbitration document and information, an open hearing arbitration and submission documents form Amicus curiae. Procedure of Investor-State Arbitration is from former Commercial Arbitration that causes the legitimacy problem from the use of same arbitration procedures for disputes which are different characters such as nature of the parties, legal base used in the litigation, nature of the parties consent. These brings several problems as the consistency of the arbitral award, cost of procedure is too high or lack of transparency. So there has been debate to reform Investor-State dispute settlement mechanisms. The amendment of an arbitration rules on transparency in 2013, UNCITRAL established UNCITRAL Rules on Transparency in Treaty-based Investor-State Arbitration. The content is about increasing transparency into arbitration rules such as provide access to documents and information, receive documents from third party, open to hearing arbitration. The study found that UNCITAL has added an option to Investor and State which have entered into an investment treaty before the date of entry into force of the Transparency Rules. By implementing the Convention on Transparency. The contents of this thesis will study and analyze the principle of transparency under the Arbitration Rules of UNCITRAL and the Convention on Transparency also the advantages and disadvantages of this principle of transparency.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55450
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.446
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.446
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5685983934.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.