Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55466
Title: เสรีภาพทางศาสนากับการใช้อำนาจรัฐในการจัดการการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
Other Titles: Freedom of Religion and the Use of State Power in Administration of Pali Buddist Scripture
Authors: อาทร เจริญคัมภีร์
Advisors: คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Kanongnij.S@Chula.ac.th,Kanongnij.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเสรีภาพทางศาสนากับการใช้อำนาจรัฐในการจัดการการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีว่ามีความสอดคล้องกับแนวความคิดทฤษฎีที่เกี่ยวเสรีภาพทางศาสนา บทบาทของรัฐในทางศาสนาหรือไม่ อย่างไร ตลอดจนหลักเกณฑ์ที่ปรากฏในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 67 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “...รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท...” โดยมีข้อเสนอแนะว่า บทบาทของรัฐที่เหมาะสมกับการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทกับประเทศไทยนั้นควรมีลักษณะและรายละเอียดประการใด จากผลการศึกษาพบว่า บทบาทของรัฐไทยมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่รัฐใช้อำนาจเหนือฝ่ายพุทธจักรมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะการจัดตั้งมหาเถรสมาคมครั้งแรกก็อาศัยอำนาจนิติบัญญัติของฝ่ายรัฐ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ทำให้พุทธจักรรวมอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยเดียวกับฝ่ายอาณาจักร มหาเถรสมาคมจึงมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายของฝ่ายรัฐได้ให้อำนาจไว้ สำหรับเสรีภาพทางศาสนา พบว่า บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน...” ทำให้เข้าใจได้ว่า เสรีภาพทางศาสนา อาจแบ่งได้เป็นสองแบบ คือเสรีภาพในการนับถือศาสนาซึ่งจัดได้ว่าเป็นเสรีภาพในเชิงสัมบูรณ์ และเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนา ซึ่งจัดได้ว่าเป็นเสรีภาพในเชิงสัมพัทธ์ โดยการจัดการการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีเป็นการใช้เสรีภาพในเชิงสัมพัทธ์เพราะเป็นการใช้เสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักพุทธศาสนาเถรวาท บทบาทของรัฐในการเข้าแทรกแซงเสรีภาพดังกล่าวจึงต้องถูกจำกัดโดยผลแห่งบทบัญญัติมาตรา 31 ของรัฐธรรมนูญดังกล่าว ในทางปฏิบัติ พบว่า บทบาทของรัฐไทยไม่ปรากฏแนวทางที่ชัดเจนในด้านความสัมพันธ์กับพุทธจักรว่าเป็นรัฐฆราวาสหรือรัฐศาสนา ทั้งยังพบว่า รัฐไม่มีความเป็นกลางทางศาสนากล่าวคือบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 67 วรรคสอง กำหนดให้ รัฐส่งเสริมและสนับสนุนพุทธศาสนาเถรวาทเป็นพิเศษในซึ่งในทางทฤษฎีรัฐควรวางบทบาทตนเองอย่างจำกัด อย่างไรก็ตามการที่รัฐไทยเข้าไปมีบทบาทกับพุทธจักรด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการการศึกษาพระปริยัติแผนกบาลีอาจพิจารณาได้ว่าเป็นเรื่องที่มีความเหมาะสมเพราะพุทธศาสนาแบบเถรวาทเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือและเป็นเรื่องที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study Freedom of Religion with the exercise of State power in the Administration of Pali Buddist Scripture in consistent with theoretical concepts of Freedom of Belief including the role of State in religion, covering the provisions of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560; article 67 paragraph two which provides that “the State should promote and support education and dissemination of dharma principles of Theravada Buddhism”. The thesis proposes the appropriate role of the State in promoting and supporting the study and dissemination of Theravada Buddhism in Thailand. This research indicates that, since Sukhothai period until present, the State has been exercised the power over Buddhism, especially, when the Sangha Supreme Council of Thailand was first established, under the Act of Council of the Elders in the Raddanakosindra Year 121 (B.E.2445). This made Buddhism gathers under sovereignty of the Kingdom, causing, the Sangha Supreme Council of Thailand to have the authority and power according to the law. In case of freedom of religion, according to the The Constitution of The Kingdom of Thailand B.E. 2560; article 31 provides that “A person shall enjoy full liberty to profess a religion, and shall enjoy the liberty to practice a form of worship in accordance with his or her religious principles”. Consequently, freedom of religion is divided into 2 categories ; freedom of religion as the Absolute right, and, the freedom to practice or perform ritual according to their religious principles as the Relative right. The role of the State relating to study and dissemination of Buddhism in Thailand must be restricted by the provisions of The Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560; article 31. Nevertheless, the role of the State in relation to the Buddhism is considered unclear with the position of non-neutrality to promotes and supports all of religions in Thailand. In supporting and promoting the administration of Pali Buddist Scripture , the State should limit its role to be appropriated under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55466
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.431
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.431
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686041934.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.