Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55497
Title: กรรมวิธีการสร้างโพนของครูฉลอง นุ่มเรือง
Other Titles: METHODS OF MAKING PON BY MASTER CHALONG NUMRUANG
Authors: เปมิกา เกษตรสมบูรณ์
Advisors: พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pornprapit.P@Chula.ac.th,rosita_rosalina@hotmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องกรรมวิธีการสร้างโพนของครูฉลอง นุ่มเรือง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรรมวิธีการสร้างโพนของครูฉลอง นุ่มเรือง และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพเสียงโพนของครูฉลอง นุ่มเรือง โดยใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการเก็บข้อมูลภาคสนามที่ค่ายโพนป่ายางหูเย็น ตำบลปรางหมู่ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง และฝากตัวเป็นศิษย์กับครูฉลอง นุ่มเรือง สังเกตและเป็นลูกมือช่างในการทำโพน ผลการศึกษาพบว่าด้วยใจรักงานช่างครูฉลอง นุ่มเรือง ได้เริ่มศึกษางานช่างจากบิดาซึ่งประกอบอาชีพเป็นช่างไม้ เริ่มต้นเรียนการทำโพนตั้งแต่อายุ 15 ปี สืบทอดภูมิปัญญาการสร้างโพนจากบรรพบุรุษทั้งหมด 4 ชั่วอายุ โพนตระกูลนุ่มเรืองมี 3 ขนาดคือ ขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 38 เซนติเมตร 48 เซนติเมตร และขนาดมากกว่า 48 เซนติเมตรขึ้น ส่วนสูงของโพนขึ้นอยู่กับความสมส่วนของหุ่นโพนกับขาโพนและส่วนสูงของผู้ตี ทั้งนี้มีสัดส่วนโดยประมาณของเส้นผ่านศูนย์กลางต่อส่วนสูงเท่ากับ 9:10 เวลา 1 เดือนผลิตได้ 5 ใบ คุณภาพเสียงโพนของครูฉลอง นุ่มเรือง ได้รับการยกย่องว่าดังก้อง ดังไกล เสียงพุ่งลอยขึ้นฟ้า คงทน สัดส่วนสวยงาม เมื่อส่งโพนเข้าประกวดในการจัดแข่งขันตีโพนประจำปีของจังหวัดพัทลุงได้รับรางวัลชนะเลิศ 7 ปีซ้อนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึงปี พ.ศ.2557 ภูมิปัญญาเชิงช่างในการสร้างโพนใช้อุปกรณ์ 69 ชนิดมีขั้นตอนการรสร้างทั้งหมด 12 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมหนัง การตากหนัง การฆ่าหนัง การทำหุ่นโพน การขึงหนัง การทำลูกสัก การทำหวาย การใส่หวายและการใส่ลูกสัก การตกแต่งหนังโพน การทำเหล็กเส้นและการใส่เหล็กเส้น การทำขาโพนและการประกอบขาโพน การทำไม้ตีโพน องค์ความรู้ของครูฉลอง นุ่มเรือง สะท้อนวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นของชาวพัทลุง 6 ประการ ได้แก่ 1.การใช้ผ้าพันเขาวัวชนพันนิ้วป้องกันมีดบาดขณะเหลาหวายขึงกลอง 2.การคัดเลือกพันธุ์ไม้ 5 ชนิด คือ ไม้ตาลโตนด ไม้ขนุน ไม้ตะเคียน ไม้โท่ ไม้เทียมและไม้นาคบุตร 3.การเลือกใช้สมุนไพรตำเพื่อฟอกหนัง 4.การใช้น้ำมันมะพร้าวดูแลรักษาหนัง 5.การใช้เตา คันเบ็ดและราวไทยในการขึงหนัง 6.การประยุกต์เครื่องไถนาเป็นเครื่องฟอกหนัง ครูฉลอง นุ่มเรืองรักษาภูมิปัญญาโบราณของการเหลาอกไก่และขอบขันที่ได้รับมอบจากบรรพบุรุษ และพัฒนาวิธีใหม่จนส่งผลให้โพนมีคุณภาพเสียงดังเป็นลักษณะเฉพาะ
Other Abstract: The research about the methods of making Pon by Master Chalong Numrueang aims to study the methods and the factors that effect on the sound quality of his. This research uses qualitative research by collecting the field data at Ponphayang Camp, Phrangmu Sub-district, Mueang Pattalung District, Phattalung Province as well as observing, interview and studying the drum making process under the tutelage of Master Chalong Numrueang. The researching findings show that Master Chalong Numrueang has started learning the carpentry from his father who was the carpenter since he was 15 years old. At present, there are totally 4 generations of Pon making in his family. The proportion of Pon are in 3 sizes depending on its diameter: 38 cm, 48 cm, and more than 48 cm. However, the height of drums depends on the height of drummers. The proportion of the height and the diameter is approximately 9:10. There are 12 procedures in making Pon which reflects the local culture of Pattalung. First, the use of the cloth that is designed for bandaging the fighting bull’s horn; (2) the selection of 5 types of the plants; (3) the choice of herbs; (4) applying the coconut oil to clean and protect the drumhead; (5) using stove, fishing rod, and clothesline to stretch the leather on the drumhead; and (6) adapting the ploughing machine to be the leather bleaching machine. Master Chalong Numrueang has the mastership in using 69 kinds of equipment with meticulousness for choosing the quality materials.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55497
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.358
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.358
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5886742335.pdf18.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.