Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55532
Title: Effect of filter on average glandular dose and image quality in digital mammography
Other Titles: ผลของตัวกรองรังสีที่มีต่อปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ต่อมน้ำนมและคุณภาพของภาพโดยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านมระบบดิจิตอล
Authors: Chatsuda Songsaeng
Advisors: Anchali Krisanachinda
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Medicine
Advisor's Email: Anchali.K@Chula.ac.th,anchali.kris@gmail.com
Issue Date: 2016
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The purpose of this study is to determine the average glandular dose, AGD and the image quality in phantom and patient for different target-filters (W/Rh and W/Ag) of the digital mammography system. The ACR mammography phantom and BR 12 phantom were used to determine the AGD and the image quality, the contrast to noise ratio (CNR) and the signal to noise ratio (SNR) of various target filters in different phantom thickness. A retrospective mammography study includes 200 patients which 100 patients were examined using the W/Rh target-filter and 100 different patients using W/Ag target-filter. The compressed breast thickness (CBT, mm), compression force (lbs), average glandular dose (AGD, mGy), peak kilovoltage (kVp) and tube current time (mAs) were recorded and compared between W/Rh and W/Ag target. The result in the phantom study, at the same thickness, the CNR and SNR values were decreased with increasing tube voltages in AEC technique. At the manual technique, when the tube voltage was constant and tube current time was increasing, CNR and SNR were increased. This was agreeable for both W/Rh and W/Ag target-filters. In patient study, the mean AGD, CBT, CF, kVp, mAs of W/Rh were 1.26 mGy, 54.18 mm, 13.24 lbs., 29.68 and 106.75 respectively in CC view. The mean AGD, CBT, CF, kVp, mAs of W/Ag was 1.79 mGy, 81 mm, 14.15 lbs., 31.79 and 113.34 respectively. At 40 mm CBT, the optimal tube output for W/Rh range from 27 to 29 kVp and mAs range from 58 to 129, the AGD range from 0.82 to 1.15 mGy. The optimal tube output for W/Ag range from 30 to 35 kVp and mAs range from 145 to 200, the AGD range from 1.28 to 2.97 mGy. For compress breast thickness range from 40 mm to 60 mm, the W/Rh target-filter should be chosen and the CBT greater than 70 mm, the W/Ag target-filter is appropriate in order to compensation between good image quality and dose reduction. Conclusion in patient study, the determination of patient dose in King Chulalongkorn Memorial Hospital in 2016-2017 revealed that the mean AGD was 1.26 mGy, the mean CBT was 54.18 mm for W/Rh. The mean AGD was 1.79 mGy, the mean CBT was 81 mm for W/Ag. In our study, 2.5% of the patients received the average glandular dose over the diagnostic reference level of 3 mGy per view.
Other Abstract: จุดประสงค์หลักของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาผลของตัวกรองรังสีที่มีต่อปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ต่อมน้ำนมและคุณภาพของภาพโดยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านมระบบดิจิตอล ในการศึกษานี้จะใช้หุ่นจำลองเต้านม ACR และ BR 12 ที่ความหนาต่างกัน เพื่อศึกษาปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ต่อมน้ำนมและคุณภาพของภาพโดยศึกษาค่าอัตราส่วนความคมชัดต่อสัญญาณรบกวน(CNR) และค่าอัตราส่วนสัญญาณจริงต่อสัญญาณรบกวน(SNR) ในตัวกรองรังสีต่างชนิดกัน การศึกษานี้จะเก็บข้อมูลย้อนหลังจากผู้ป่วยที่เข้ารับการถ่ายภาพรังสีเต้านมจำนวน 200 คนแบ่งเป็นผู้ป่วยที่ถ่ายภาพรังสีเต้านมที่ใช้เป้าหลอดที่ทำด้วยทังสเตนและฟิลเตอร์ชนิดโรเดียมจำนวน 100 คน และผู้ป่วยที่ถ่ายภาพรังสีเต้านมที่ใช้เป้าหลอดที่ทำด้วยทังสเตนและฟิลเตอร์ชนิดซิลเวอร์จำนวน 100 คน ในปัจจัยต่างๆได้แก่ ความหนาของเต้านมที่บีบอัด แรงที่บีบอัด ปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ต่อมน้ำนม ค่ากิโลโวลเตจสูงสุด ค่ามิลลิแอมแปร์วินาที ทำการบันทึกข้อมูลและเปรียบเทียบระหว่างฟิลเตอร์สองชนิด ผลการทดลองในหุ่นจำลองพบว่า ที่ความหนาที่เท่ากัน เมื่อใช้ระบบเออีซี การเพิ่มค่า กิโลโวลเตจจะทำให้ค่า CNR และ SNR ลดลง แต่เมื่อใช้ค่าที่ตั้งเอง เมื่อค่า กิโลโวลเตจคงที่ และเพิ่มค่ามิลลิแอมแปร์วินาที ค่า CNR และ SNR จะเพิ่มขึ้น ผลการศึกษาจะสอดคล้องกันทั้งตัวกรองรังสี สองชนิด โรเดียม และซิลเวอร์ ผลการทดลองในผู้ป่วยพบว่า ปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ต่อมน้ำนมของเป้าหลอดที่ทำด้วยทังสเตนและฟิลเตอร์ชนิดโรเดียมมีค่าเท่ากับ1.26 มิลลิเกรย์ ค่าเฉลี่ยของความหนาของเต้านมที่บีบอัด มีค่าเท่ากับ 54.18 มิลลิเมตร ค่าเฉลี่ยของแรงที่บีบอัดมีค่าเท่ากับ 13.24 ปอนด์ ค่าเฉลี่ยกิโลโวลเตจเท่ากับ 29.68 ค่าเฉลี่ยของมิลลิแอมแปร์วินาทีมีค่าเท่ากับ 106.75 ปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ต่อมน้ำนมของเป้าหลอดที่ทำด้วยทังสเตนและฟิลเตอร์ชนิดซิลเวอร์มีค่าเท่ากับ 1.79 มิลลิเกรย์ ค่าเฉลี่ยของความหนาของเต้านมที่บีบอัด มีค่าเท่ากับ 81มิลลิเมตร ค่าเฉลี่ยของแรงที่บีบอัดมีค่าเท่ากับ 14.15 ปอนด์ ค่าเฉลี่ยของกิโลโวลเตจมีค่าเท่ากับ 31.79 ค่าเฉลี่ยของมิลลิแอมแปร์วินาทีมีค่าเท่ากับ 113.34 สรุปผลการทดลองในหุ่นจำลอง จะให้ปริมาณรังสีเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.82 ถึง 1.15 มิลลิเกรย์ เป้าหลอดที่ทำด้วยทังสเตนและฟิลเตอร์ชนิดซิลเวอร์ โดยจะให้ปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ต่อมน้ำนมอยู่ในช่วง 1.28 ถึง 2.97 มิลลิเกรย์ สำหรับความหนาของเต้านมตั้งแต่ 40 ถึง 60 มิลลิเมตรควรเลือกใช้เป้าหลอดที่ทำด้วยทังสเตนและฟิลเตอร์ชนิดโรเดียมและสำหรับความหนาของเต้านมที่มีค่ามากกว่า 70 มิลลิเมตร ควรเลือกใช้เป้าหลอดที่ทำด้วยทังสเตนและฟิลเตอร์ชนิดซิลเวอร์เพื่อลดปริมาณรังสีให้แก้ผู้ป่วยและคงคุณภาพของภาพที่ดี สรุปผลการทดลองของผู้ป่วยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ในปี 2559 ถึง 2560 พบว่าปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ต่อมน้ำนมของเป้าหลอดที่ทำด้วยทังสเตนและฟิลเตอร์ชนิดโรเดียมมีค่าเท่ากับ 1.26 มิลลิเกรย์ ที่ความหนาเฉลี่ยของเต้านม 54.18 มิลลิเมตร ปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ต่อมน้ำนมของเป้าหลอดที่ทำด้วยทังสเตนและฟิลเตอร์ชนิดซิลเวอร์มีค่าเท่ากับ 1.79 มิลลิเกรย์ ที่ความหนาเฉลี่ยของเต้านม 81 มิลลิเมตร ในการศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการถ่ายภาพรังสีเต้านม ได้รับปริมาณรังสีเกินปริมาณรังสีอ้างอิง 3 มิลลิเกรย์ คิดเป็น 2.5%
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2016
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Medical Imaging
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55532
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1694
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1694
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974114330.pdf5.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.