Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55563
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรพรรณ พนัสพัฒนา | - |
dc.contributor.author | ณัฏฐธิดา สุเมธารัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:39:41Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:39:41Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55563 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | ภาพพิมพ์สามมิติ (Hologram) มีลักษณะพิเศษที่สามารถแสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปของสีหรือภาพที่ปรากฏเมื่อเปลี่ยนทิศทางหรือมุมมองที่ดู ซึ่งนอกจากจะสามารถทำหน้าที่ในฐานะกลไกป้องกันการปลอมแปลงสินค้าได้ตามที่ใช้กันในวงการค้าการอุตสาหกรรมกันอย่างแพร่หลายแล้ว ยังสามารถทำหน้าที่ในฐานะเครื่องหมายการค้าได้อีกทางหนึ่งด้วยอันเป็นที่ยอมรับและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายในหลายๆ ประเทศทั่วโลก แต่กฎหมายเครื่องหมายการค้าของประเทศไทย อันได้แก่ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มีบทบัญญัติที่ไม่ครอบคลุมเพียงพอต่อการให้ความคุ้มครองภาพสามมิติ (Hologram) ในฐานะเครื่องหมายการค้าแต่อย่างใด เพื่อประโยชน์ในการเสนอแนะแนวทางการให้ความคุ้มครองแก่ภาพสามมิติ (Hologram) ในประเทศไทย ผู้เขียนจึงได้ศึกษารวมรวมบทบัญญัติแห่งกฎหมายและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองแก่เครื่องหมายการค้าภาพสามมิติ (Hologram) ของต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น ทั้งในส่วนของรูปแบบการบัญญัติบทนิยามคำว่าเครื่องหมายอันพึงได้รับความคุ้มครองในฐานะเครื่องหมายการค้า การพิจารณาลักษณะบ่งเฉพาะ การพิจารณาลักษณะต้องห้าม และการพิจารณาความเหมือนหรือคล้ายของภาพสามมิติ (Hologram) กับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนแล้ว ตลอดจนหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่หน่วยงานรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใช้ประกอบการพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าภาพสามมิติ (Hologram) ในฐานะเครื่องหมายการค้าด้วย โดยผู้เขียนได้เสนอให้ปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติเครื่องหมาย พ.ศ. 2534 บางประการเพื่อขยายการให้ความคุ้มครองแก่เครื่องหมายการค้าภาพสามมิติ (Hologram) และนำเสนอหลักเกณฑ์การพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าภาพสามมิติ (Hologram) เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปโดยสะดวกและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอถึงผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้บริโภค และสังคมโดยรวม อันเนื่องมาจากการให้ความคุ้มครองแก่ภาพสามมิติ (Hologram) ในฐานะเครื่องหมายการในประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้บริโภค และสังคมโดยรวมด้วย | - |
dc.description.abstractalternative | A hologram, a printed picture containing special features that are changeable in colors or presented different representations along with different perspective views, is normally used in marketplace for security and anti-counterfeiting purposes and it has been increasingly used to function as a trademark which is accepted and protected by trademark laws in many counties across the world. However, in Thailand, the provisions of the Trademark Act of B.E.2534 are inadequate to protect a hologram as a trademark. For the purpose of providing suggestions for the protection of hologram trademark in Thailand, this study gathers provisions of trademark laws and relevant rules relating to the protection of a hologram trademark in Republic of China (Taiwan), United States of America, and Japan focusing mainly on similar provisions on four issues: the definition of protected subject matters, examination of distinctiveness of a hologram, examination of prohibited characteristics of a hologram, examination of similarity of a hologram, and regulations relating to hologram registration application which are imposed by relevant authorities. The study suggests amendments to some provisions of the Trademark Act of B.E.2534 in order to protect a hologram as a trademark and supplements guidelines on the examination of hologram registration application to make the examination convenient and efficient. Besides, the study provides assessment of positive and negative effects of protecting a hologram as a trademark in Thailand on entrepreneurs, consumers, and society as a whole. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.493 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ภาพสามมิติ | - |
dc.subject | เครื่องหมายการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | - |
dc.subject | Three-dimensional illustration | - |
dc.subject | Trademarks -- Law and legislation | - |
dc.title | การให้ความคุ้มครองแก่เครื่องหมายการค้าภาพสามมิติ (Hologram) | - |
dc.title.alternative | THE PROTECTION OF HOLOGRAM MARKS | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Orabhund.P@Chula.ac.th,Orabhund.P@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.493 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5785971434.pdf | 3.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.