Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55657
Title: การศึกษาความยืดหยุ่นและแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ณ ศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่างไทยแลนด์-ออสเตรเลีย-เนเธอร์แลนด์เพื่อการศึกษาวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
Other Titles: The study of resilience and social support in HIV/AIDS client at the HIV Netherlands Australia Thailand Research Collaboration Thai Red Cross AIDS Research Centre
Authors: นปภัช เมืองมา
Advisors: เดชา ลลิตอนันต์พงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Decha.L@Chula.ac.th,drdecha@hotmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เหตุผลของการทำวิจัย : ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีสะสมทั้งหมด 1,201,839 ราย จากการคาดประมาณ ปี พ.ศ.2558 และยังมีชีวิตอยู่ประมาน 600,000 ราย แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างพยายามที่จะลดการเลือกปฏิบัติและการตีตรา แต่ก็มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพียง 355,123 ราย ที่เข้าถึงการรักษาภายใต้ระบบสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้อาจ ส่วนหนึ่ง อาจเกิด จากผลกระทบของการตีตราและการเลือกปฏิบัติมี หลายการศึกษาพบว่า การสนับสนุนทางสังคมและความยืดหยุ่น สามารถลดผลกระทบจากการถูกตีตราและการเลือกปฏิบัติได้ ทั้งยังส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี วัตถุประสงค์ : เพื่อการศึกษาความยืดหยุ่นและแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ณ ศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่างไทยแลนด์-ออสเตรเลีย-เนเธอร์แลนด์ เพื่อการศึกษาวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วิธีการทำวิจัย : การศึกษานี้ได้รับการอนุมัติ จากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาสาสมัครทุกรายได้ เขียนเอกสารให้ความยินยอม ก่อนเข้าร่วมการศึกษานี้ และ จึงทำการตอบแบบสอบถามทั้ง 3 ส่วน ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ,แบบวัดความยืดหยุ่น ฉบับภาษาไทย ซึ่งแปลจาก Wagnlid and Young (1993) และแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2559 การแปลผล ความยืดหยุ่นใช้ระดับคะแนน สูง(147-175) ปานกลาง(121-146) ต่ำ(<121) และ แรงสนับสนุนทางสังคมแปลผลด้วย ระดับคะแนน สูง(≥74), ปานกลาง(47-73), ต่ำ(20-46) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่น และแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ วิเคราะห์ผลโดย ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์ทางสถิติ ดำเนินการโดยใช้ SPSS รุ่น 22.0 และใช้ค่า p < 0.005 เพื่อระบุความมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษา : จากกลุ่มตัวอย่างผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 130 ราย อายุเฉลี่ย Median (IQR) 43 (36 - 49) ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 69 และเป็นเพศหญิง 31% ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสดร้อยละ 47 และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 43 และประมานร้อยละ26 มีรายได้อยู่ในช่วง 5,000 - 10,000 บาท กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส โดยมีระยะเวลาการรักษา ปริมาณเม็ดเลือดขาวหลังการรักษาเฉลี่ย 11.3(IQR 5-16.6) ปี เกือบ 2 ใน 3 (72%) มีปริมานเม็ดเลือดขาว ณ ปัจจุบัน มากกว่า 500 cell/mm3 ค่าเฉลี่ยของเม็ดเลือดขาว CD4 Median (IQR) 608.5 (484 - 782) cell/mm3 และมีปริมาณไวรัสเอชไอวี ณ ปัจจุบันน้อยกว่า 50 copies/ml ถึงร้อยละ 99 ทั้งนี้ร้อยละ 55 มีระดับความยืดหยุ่นระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 142.2, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 24.2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความยืดหยุ่นได้แก่แรงสนับสนุนทางสังคม (สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน = 0.25, p < 0.01) และร้อยละ 61 มีแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลางค่อนไปทางสูง (ค่าเฉลี่ย = 70.2 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =13.3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงสนับสนุนทางสังคมได้แก่อายุ (สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน = - 0.348, p < 0.01) ระดับการศึกษา (สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน = 0.31, p < 0.01) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน = 0.32, p < 0.01) และระยะเวลาในการเข้ารับการรักษา (สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน = 0.26, p < 0.01) สรุป : จากการศึกษา ในกลุ่มตัวอย่างผู้ติดเชื้อเอชไอวี วัยผู้ใหญ่ ที่มีระดับไวรัสต่ำ และระดับเม็ดเลือดขาวสูงพบว่าส่วนใหญ่ มีความยืดหยุ่นในระดับสูงและมีแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลางค่อนไปทางสูงระดับแรงสนับสนุนทางสังคมที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่นที่สูงขึ้น ในขณะที่แรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับ อายุที่มากขึ้น การศึกษาระดับสูง และระยะเวลาในการเข้ารับการรักษาที่ยาวนาน
Other Abstract: Background: By 2015, Thailand had accumulated amount of 1,201,839 HIV infected people and approximately 600,000 HIV-infected patients were expected alive. Although relevant agencies try to reduce discrimination and stigmatization, however, only 355,123 HIV-infected patients have been treated under the National Health System. The lower uptake of treatment in National Health system may be partly due to the stigma and discrimination. Many studies found that social support and resilience can reduce the impact of stigma and discrimination. Additionally, it also contributes to the quality of life of people living with HIV. Objective: This study aimed to evaluate the resilience and social support among HIV/AIDS clients at the HIV Netherlands Australia Thailand Research Collaboration Thai Red Cross AIDS Research Centre, Bangkok, Thailand. Methods: This study was approved by the institutional review board at Chulalongkorn University and all clients gave their written consent prior entry to the study. The three self-report questionnaires (Demographic data form, Thai Resilience Scale by Wagnlid and Young (1993), and Social support Questionnaire were administered at a visit between October to December 2016. Low, moderate and high level of resilience were defined as a score of <121, 121-146, 147-175 respectively. Low, moderate and high level of social support were defined as a score of 20-46, 47-73, ≥74 respectively. The Resilience scale was presented by proportion and percentage. The associated factors of resilience and social support of HIV/AIDS client were analysed by Chi-square test , Pearson’s correlation. Statistical analysis was performed by IBM SPSS Statistics version 22.0. P<0.05 was used for statistically significant. Results: One hundred and thirty HIV clients participated in this study. The median age was 43 (IQR: 36 - 49) years. Most of the participants are male (69% male vs. 31% female), Almost 47% of them were single and 43% reported bachelor degree education. Approximately 26% of them had monthly income 5,000-10,000 Baht All of them received antiretroviral therapy with the median duration of HIV treatment was 11.3(IQR 5-16.6) years. Almost two-third (72%) of them had current CD4 cell count more than five-hundred cells/mm3. Median CD4 was 608.5 (IQR 484-782) cells/mm3. Ninety-nine percent had viral suppressed (HIV RNA <50 copies/ml). Fifty-five percent had high level of resilience (mean = 142.2, S.D. = 24.2). Sixty-one percent had moderate to high level of social support (mean = 70, S.D. = 13.3).The factors related to resilience were social support (Pearson’s r = .25, p < 0.01). The factor related to social support were age (Pearson’s r = - .348, p < .01) and education (Pearson’s r = .31, p < .01) and the duration of treatment (Pearson’s r = .26, p < .01, p <0.01) and monthly income (Pearson’s r = .32, p < .01). Conclusion: In this study of well-suppressed and high CD4, HIV infected adults, majority of them had high levels of resilience and moderate to high level of social support. The higher of social support were associated to higher resilience score. Additionally, the social support was related to older age, higher educational level and the longer duration of HIV treatment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55657
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1202
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1202
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874018730.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.