Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55718
Title: แรงจูงใจ การแสวงหาข้อมูล และการตัดสินใจท่องเที่ยวของผู้บริโภคหญิงโสดวัยทำงาน
Other Titles: TRAVEL MOTIVATION, INFORMATION SEEKING AND DECISION MAKING OF SINGLE FEMALE WORKING CONSUMERS
Authors: ธนิศา แสวงพรรค
Advisors: พนม คลี่ฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Phnom.K@Chula.ac.th,Phnom.K@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจแรงจูงใจในการท่องเที่ยว การแสวงหาข้อมูลท่องเที่ยว การตัดสินใจท่องเที่ยวของผู้บริโภคหญิงโสดวัยทำงาน 2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง แรงจูงใจในการท่องเที่ยว การแสวงหาข้อมูลการท่องเที่ยวและการตัดสินใจท่องเที่ยวของผู้บริโภคหญิงโสดวัยทำงาน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงโสดวัยทำงาน อายุ 35 – 44 ปี จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ 9 ครั้งต่อปี แต่ละครั้งที่ท่องเที่ยวจะใช้เวลา 3 วัน มักเที่ยวในวันหยุดสุดสัปดาห์ เดินทางด้วยรถยนต์ ท่องเที่ยวกับกลุ่มเพื่อนหรือคนรู้จัก มักเดินทางท่องเที่ยวภาคเหนือและชื่นชอบการท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ ในด้านการแสวงหาข้อมูลพบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเป็นประจำ และใช้แหล่งข้อมูลภายในตัวนักท่องเที่ยว เช่น ความทรงจำเดิมและประสบการณ์ในอดีตในระดับมากที่สุด นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับแรงจูงใจแบบปัจจัยผลักดันด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด และแรงจูงใจแบบปัจจัยดึงดูดด้านการบำรุงรักษาของจุดหมายปลายทางมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า แรงจูงใจในการท่องเที่ยวโดยรวมทั้งปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำและมีทิศทางแปรตามกัน โดยที่การตัดสินใจท่องเที่ยวแบบที่มีการวางแผนล่วงหน้าบางส่วนมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจทั้งปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูด และการตัดสินใจท่องเที่ยวแบบที่ไม่มีการวางแผนล่วงหน้ามีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจแบบปัจจัยผลักดัน ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับปานกลางและมีทิศทางแปรตามกัน ส่วนการแสวงหาข้อมูลมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยที่แหล่งข้อมูลภายในตัวนักท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจท่องเที่ยวในระดับต่ำและมีทิศทางแปรตามกัน ทั้งนี้ แหล่งข้อมูลบุคคล แหล่งข้อมูลเพื่อการค้า และแหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่เพื่อการค้า มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจท่องท่องเที่ยวในระดับต่ำมาก และมีทิศทางแปรตามกัน
Other Abstract: The main objectives of this research is to explore and explain the correlation between travel motivation, information seeking and decision making of single female working consumers. This research was using quantitative research method. Online questionnaires were used to collect data from 400 single female working consumers whose age are 35 - 44 years old and were travelling in the last 6 months. The result shows that, most single female working consumers have travel 9 times per year, 3 days per times and usually travel in weekend. They were travel by personal car, and also travel with friends. Most of them like to visit northern and natural based tourism. It is also finds that they always seeking travel information via internet and used the internal source such as past memory and experienced in the highest level. As for the push and pull motivations, the result shows that single female working consumers emphasize socio-cultural factors and destination maintenance factors. From the hypothesis testing, the result concludes that travel motivation in push and pull factors is significantly related to the travel decision making of single female working consumers with low- level positive correlation at .05 level. Furthermore, the partially planned travel decision making is correlated with both of push and pull motivations and the unplanned travel decision making is also correlated with push motivations with medium-level positive correlation. Regarding the travel information seeking, the result shows that travel information seeking is significantly related to travel decision making with positive and low correlation at .05 level. In addition, internal source is correlated with travel decision making of single female working consumers with low-level positive correlation. Moreover, personal source, commercial source and non-commercial source is related to travel decision making with lowest-level positive correlation.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55718
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.412
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.412
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5884655028.pdf4.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.