Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5592
Title: องค์ประกอบธาตุในฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Elemental composition of airborne fine particulate matter PM2.5 in Bangkok
Authors: รพีพัฒน์ เกริกไกวัล
Advisors: วนิดา จีนศาสตร์
สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: wanida.j@chula.ac.th
supat.w@chula.ac.th
Subjects: ฝุ่น
มลพิษทางอากาศ
อนุภาค
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเก็บฝุ่นละอองขนาดเล็กด้วยเครื่องเก็บฝุ่นแยกขนาดชนิดไดโคโทมัสแอร์แซมเพลอร์ พบว่าระดับของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนในเขตกรุงเทพมหานครสูงกว่าพื้นที่ควบคุมสัดส่วนของฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนต่อฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนมีค่ามากกว่าร้อยละ 60 โดยในช่วงฤดูแล้งระดับฝุ่นละอองบริเวณดินแดง พญาไท และพุทธมณฑลสายสองสูงกว่าในช่วงฤดูฝน ดินแดงซึ่งเป็นตัวแทนของบรรยากาศริมถนนมีปริมาณฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนเฉลี่ย 65.35+-18.7 มคก./ลบ.ม. ในช่วงฤดูฝน และ 129.56+-38.9 มคก./ลบ.ม. ในฤดูแล้ง พญาไทเป็นตัวแทนของบรรยากาศทั่วไปมีค่าเฉลี่ยฝุ่นขนาดเล็กว่า 2.5 ไมครอน 27.71+-16.9 มคก./ลบ.ม. ในช่วงฤดูฝนและ 62.63+-30.3 มคก./ลบ.ม. ในช่วงฤดูแล้ง และพุทธมณฑลสายสองซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมมีค่าเฉลี่ยฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน 14.21+-1.87 มคก./ลบ.ม. ในช่วงฤดูฝนและ 32.4+-9.9 มคก./ลบ.ม. ในช่วงฤดูแล้ง สัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ระหว่างฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน และฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนมีค่า 0.979 นั่นคือระดับของฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนสามารถบอกถึงแนวโน้มของปริมาณฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนในอากาศได้ องค์ประกอบของธาตุหลักในฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนได้แก่คาร์บอน ซัลเฟอร์ และโพแทสเซียม ส่วนฝุ่นละอองขนาด 2.5 ถึง 10 ไมครอนประกอบด้วย เหล็ก ซิลิกา และแคลเซียม ปริมาณของธาตุปริมาณน้อยในฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนประกอบด้วยโพแทสเซียม 1.3892 มคก./ลบ.ม. สังกะสี 0.4529 มคก./ลบ.ม. แมงกานีส 0.1518 มคก./ลบ.ม. ตะกั่ว 0.1576 มคก./ลบ.ม. และทองแดง 0.0095 มคก./ลบ.ม. บริเวณที่เป็นบรรยากาศริมถนนมีองค์ประกอบของธาตุสูงกว่าบริเวณที่เป็นบรรยากาศทั่วไป และพื้นที่ควบคุมตามลำดับ อย่างไรก็ตามองค์ประกอบธาตุไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณของฝุ่นละอองแต่อาจขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดและชนิดของมลพิษมากกว่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองในอากาศ
Other Abstract: The small size air borne particulates were sampling by using dichotomous air sampler. The level of small size PM2.5 in Bangkok sites, was higher than in control site. The ratio of PM2.5 to PM10 is more than 50%. During dry season, the level of particulates in Dindang, Phayathai and Phuttamonthol Sai 2 were higher than in wet season. Dindang site represented the roadside atmosphere had average PM2.5, 65.35+-18.7 micro g./m3 in wet season and 129.56+-38.9 micro g./m3 in dry season. Phayathai site represented the ambient atmosphere had average PM2.5, 27.71+-16.95 micro g./m3 in wet season and 62.63+-30.3 micro g./m3 in dry season and Phuttamonthol Sai 2, the control area, had average PM2.5, 14.21+-1.87 micro g./m3 in wet season and 32.40+-9.9 micro g/.m3 in dry season. Coefficient of relation between PM2.5 and PM10 was 0.979. The level of PM10 could reflect the trend of PM2.5 quantity in atmosphere. The major elements in PM2.5 were carbon, sulfur, and potassium. PM2.5 to 10 micron consists of ferrous, silica, and calcium. Quantitative of trace element composition in PM2.5 has Potassium 1.3892 micro g./m3, Zinc 0.4529 micro g./m3, Manganese 0.1518 micro g./m3, Lead 0.0576 micro g./m3 and copper 0.0095 micro g./m3. Roadside atmosphere area has major element composition higher ambient area and control site respectively. However the variation of element composition was not directly related to the loading of particulate level. It could depend on the source apportionment and type of pollution rather than the concentration of particulate matters
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5592
ISBN: 9741300883
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rapeepat.pdf5.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.