Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56120
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีล่าช้าในกลุ่มเยาวชนไทย และผลกระทบต่ออัตราการนอนโรงพยาบาลและอัตราเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์
Other Titles: LATE DIAGNOSIS OF HIV INFECTION IN YOUNG THAI PEOPLE:RISK FACTORS AND IMPACT ON HOSPITALIZATION AND ADVERSE EVENT RATES
Authors: เนติมา คูนีย์
Advisors: นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล
สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Narin.H@Chula.ac.th,nhiransu@gmail.com,nhiransu@yahoo.com
Somrat.L@Chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ ใช้รูปแบบการศึกษาแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิดย้อนหลัง เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีล่าช้าในกลุ่มเยาวชน และการวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิดไปข้างหน้า เพื่อศึกษาความแตกต่างของอัตราการนอนโรงพยาบาลและอัตราเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีล่าช้าเปรียบเทียบกับกลุ่มไม่ล่าช้า ทำการศึกษาในโรงพยาบาลรัฐ 21 แห่งทั่วประเทศ ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 จากผลการศึกษาผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 193 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีล่าช้า (ระดับซีดีโฟร์น้อยกว่า 350 เซลล์ต่อไมโครลิตร หรือมีความเจ็บป่วยของระยะเอดส์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในช่วง 12 เดือนหลังการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี) 150 ราย และกลุ่มที่ไม่ล่าช้า 43 ราย พบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีล่าช้า ได้แก่ ผู้ที่ไม่ได้อาศัยอยู่กับบิดามารดา (OR 3.87; 95% CI 1.40-10.66), ไม่มีบุตร (OR 3.25; 95% CI 1.27-8.31), อายุที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมากกว่า 18 ปี (OR 4.25; 95% CI 1.27-14.22), อายุของคู่เพศสัมพันธ์เท่ากันหรือมากกว่า (OR 3.36; 95% CI 1.39-8.08), การเสพยาเสพติด (OR 3.65; 95% CI 1.22-10.88), มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังได้รับความรู้เกี่ยวกับเอชไอวี (OR 2.48; 95% CI 1.02-5.99) และผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลทั่วไป (OR 3.34; 95% CI 1.07-10.35) หรือโรงพยาบาลศูนย์ (OR 3.19; 95% CI 1.31-7.79) ทั้งนี้ กลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีล่าช้า มีอัตราการนอนโรงพยาบาลภายหลังได้รับการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีเป็น 2.50 (95% CI 1.34-4.57; p<0.01) เท่า และ มีอัตราเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เป็น 1.87 (95% CI 1.15-3.05; p = 0.01) เท่าของกลุ่มไม่ล่าช้าเมื่อควบคุมปัจจัยอื่นๆ งานวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดกลุ่มประชากรเป้าหมายในโครงการตรวจหาผู้ติดเชื้อเยาวชนตั้งแต่ระยะแรก โดยเฉพาะกลุ่มผู้เสพยาเสพติด และกลุ่มที่ไม่มีบุตร ทั้งนี้ ควรทบทวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และนโยบายการตรวจหาเชื้อเอชไอวีสำหรับเยาวชน
Other Abstract: This study used a hospital-based case-control design to evaluate factors that were associated with the late diagnosis of HIV, and a retrospective cohort design to address the difference in hospitalization and adverse event rates compared between the late and non-late diagnosis groups. The study was conducted in 21 hospitals across Thailand during January 2012 and August 2013. A total of 193 patients were studied. There were 150 patients in the late diagnosis group (CD4 cell count was below 350 cells/µL, or an AIDS-defining illness was presented within 12 months of the first HIV diagnosis) and 43 patients in the non-late diagnosis group. Factors associated with the late diagnosis of HIV were those who: did not live with their parent (OR 3.87; 95% CI 1.40-10.66), had no children (OR 3.25; 95% CI 1.27-8.31), had first sexual intercourse at age older than 18 years (OR 4.25; 95% CI 1.27-14.22), had same-age or older partners (OR 3.36; 95% CI 1.39-8.08), were substance users (OR 3.65; 95% CI 1.22-10.88), changed their behaviours after receiving HIV education (OR 2.48; 95% CI 1.02-5.99), and sought care at general (OR 3.34; 95% CI 1.07-10.35) or regional hospitals (OR 3.19; 95% CI 1.31-7.79). In addition, the hospitalization rate in the late diagnosis group was 2.5 (95% CI 1.34-4.57; p<0.01) and the adverse event rate was 1.87 (95% CI 1.15-3.05; p = 0.01) times, higher than those in the non-late group. This study is beneficial in terms of targeting the right population for early HIV testing programs in young people. Such programs should consider reviewing parental engagement and the HIV testing policy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56120
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5275354130.pdf8.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.