Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56130
Title: ความเป็นธรรมในการกระจายค่าใช้จ่ายด้านบุคคลสำหรับบุคลากรสาธารณสุข ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: EQUITY IN HEALTH PERSONNEL FINANCING AMONG HOSPITALS UNDER THE OFFICE OF THE PERMANENT SECRETARY, MINISTRY OF PUBLIC HEALTH
Authors: วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย
Advisors: ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย
สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Piya.H@Chula.ac.th,piya@post.harvard.edu,piya.h@chula.ac.th
Somrat.L@Chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาการขาดแคลน และการกระจายกำลังคนด้านสาธารณสุข ที่ไม่เหมาะสมในส่วนภูมิภาค เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานานในประเทศไทย การเพิ่มค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญ เพื่อดึงดูดกำลังคนด้านสาธารณสุขไว้ในระบบ ซึ่งค่าตอบแทนมีหลายประเภท และอัตราการจ่ายที่แตกต่างกันตามลักษณะของพื้นที่ ตามวิชาชีพ และตามปีที่ปฏิบัติงาน ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการศึกษาเรื่องความเป็นธรรมในการกระจายค่าใช้จ่ายด้านบุคคลสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาล ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมาก่อน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเป็นธรรมในการกระจายค่าใช้จ่ายด้านบุคคลสำหรับบุคลากรสาธารณสุข ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 75 จังหวัด (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) ในช่วงปีงบประมาณ 2551-2555 รวมทั้งวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายแพทย์และพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2554 ใน 8 จังหวัด วิธีการศึกษา การศึกษานี้แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาความเป็นธรรมในการกระจายค่าใช้จ่ายด้านบุคคล ใช้ข้อมูลค่าใช้จ่ายแยกประเภทของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขใน 75 จังหวัด มาวิเคราะห์ความเป็นธรรมในการกระจายค่าใช้จ่ายด้านบุคคลแนวราบและแนวดิ่งในระดับจังหวัดโดยใช้ดัชนี Gini Coefficient และ Concentration index ในส่วนที่สองเป็นการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายแพทย์และพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้ข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของแพทย์และพยาบาลรายบุคคลที่เก็บจากโรงพยาบาลใน 8 จังหวัด มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านบุคคลต่อค่าใช้จ่ายรวมของโรงพยาบาล(ไม่รวมงบลงทุน) เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ถึงปี 2555 โดยสัดส่วนเงินเดือน ค่าจ้าง ต่อค่าใช้จ่ายด้านบุคคล มีแนวโน้มลดลง และแนวโน้มสัดส่วนจากแหล่งเงินงบประมาณน้อยลงในขณะที่จากแหล่งเงินบำรุงแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในการวิเคราะห์ความเป็นธรรมในการกระจายค่าใช้จ่ายด้านบุคคลต่อประชากรในระดับจังหวัด พบว่าค่าใช้จ่ายจากแหล่งเงินงบประมาณมีความเป็นธรรมในแนวราบน้อยกว่าจากเงินบำรุง และมีแนวโน้มแย่ลง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายจากแหล่งเงินบำรุงมีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ความเป็นธรรมแนวดิ่ง พบว่ารายจ่ายด้านบุคลากรสาธารณสุขมีการกระจายค่าใช้จ่ายด้านบุคคลให้กับจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำมากกว่าจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยสูง ในส่วนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของแพทย์และพยาบาลพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่าง อายุ อายุราชการ ลักษณะงานหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และประเภทโรงพยาบาล โดยในกลุ่มแพทย์ ปัจจัยการทำเวชปฏิบัติส่วนตัวเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะสำหรับกระทรวงสาธารณสุข ในการพัฒนานโยบายด้านบุคลากรสาธารณสุขโดยเฉพาะเรื่องค่าตอบแทนต่อไป
Other Abstract: Shortage and maldistribution of health workforce is one major problem in Thai health system. A number of policies have been implemented with the aim to retain key health professionals in the public sector. Financial measures and incentives such as special allowances for non-private practice and additional payments for remote staff have been implemented. However, there has been no study to assess the equity in human resource for health financing in public sector in Thailand. This study aims to evaluate the equity in the distribution of health workforce financing in public hospitals under the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health across all 75 provinces and to identify the factors associated with the level of compensation of doctors and nurses in 8 study provinces in Thailand. This study has two parts. The first part is the analysis of equity in distribution of health workforce financing across province. Human resources for health financing data were collected from routine report of hospital financing in the fiscal year 2008-2012 from the Ministry of Public Health. The components and sources of health workforce financing were descriptively analyzed. Inequalities in health workforce financing across province were assessed using indices of inequality such as Gini Coefficient and Concentration index to explore horizontal and vertical inequity in health workforce financing. The second part is the analysis of factors associated with doctor and nurse compensation from the public. Data of individual staff payments were collected from hospitals from 8 provinces in the fiscal year 2011. Analysis was done using multiple regression analysis. The study reveals a big difference in health workforce expenditure per capita across provinces. Sources of financing for more than half of the spending came from government budget (53.8%) while about one third came from hospital revenues. Across provinces, health workforce spending from government spending is more unequal than from hospital revenues as shown in higher Gini coefficient for government budget source. However, the Concentration Index shows that the Thai system is rather progressive with more spending in lower resource provinces. This study also shows that there are significant difference in the level of compensation across age, work year, work type or specializations and hospitals type, for both doctors and nurses. Private practice is another significant factor associated with public sector compensation among doctors. The findings from this study can be useful for the Ministry of Public Health in its ongoing reform of health workforce and compensation policy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56130
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5375363930.pdf4.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.