Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56259
Title: การผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพโดยยีสต์และราคล้ายยีสต์ที่แยกได้จากบริเวณชายฝั่งเกาะสีชัง
Other Titles: BIOSURFACTANT PRODUCTION BY YEAST AND YEAST-LIKE FUNGI ISOLATED FROM COASTAL AREAS OF KOH SI CHANG
Authors: สุดารัตน์ ลือพงศ์พัฒนะ
Advisors: จิราภรณ์ ธนียวัน
ศศิธร จินดามรกฎ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Jiraporn.Th@Chula.ac.th,jiraporn.th@chula.ac.th
Sasitorn@biotec.co.th
Subjects: สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ
ยีสต์ -- ไทย -- ชลบุรี -- เกาะสีชัง
Biosurfactants
Yeast -- Thailand -- Chon Buri -- Koh Sichang
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การคัดเลือกยีสต์และราคล้ายยีสต์ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่คัดแยกได้จากบริเวณชายฝั่งเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ราคล้ายยีสต์สายพันธุ์ Aureobasidium pullulans YTP6-14 มีประสิทธิภาพในการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพมากที่สุด และเมื่อเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อปรับปรุงสูตรที่ประกอบด้วยอัตราส่วนระหว่างกลูโคส 2.5 เปอร์เซ็นต์ และกลีเซอรอล 2.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นแหล่งคาร์บอน เปปโตนเป็นแหล่งไนโตรเจนที่อัตราส่วน C:N เท่ากับ 300 ค่าพีเอชในอาหารเลี้ยงเชื้อ เท่ากับ 6.5 และบ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ด้วยอัตราการเขย่า เท่ากับ 200 รอบต่อนาที เป็นระยะเวลา 7 วัน พบว่าค่าแรงตึงผิวในอาหารเลี้ยงเชื้อลดลงจาก 53 มิลลินิวตันต่อเมตร เหลือ 32 มิลลินิวตันต่อเมตร หรือมีค่าผลต่างแรงตึงผิว เท่ากับ 37 เปอร์เซ็นต์ และค่าการกระจายน้ำมันสูงสุด เท่ากับ 43.34±2.5 ตารางเซนติเมตร จากการศึกษาลักษณะคุณสมบัติของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ พบว่า มีค่าความเข้มข้นวิกฤตของการเกิดไมเซลล์ หรือ ค่า critical micelle concentration (CMC) เท่ากับ 39 มิลลิกรัมต่อเมตร ค่า Hydrophilic-lipophilic balance (HLB) เท่ากับ 10 - 14.27 และสามารถก่ออิมัลชันร่วมกับน้ำมันรำข้าวได้ดีที่สุด จากการศึกษาความเสถียรของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ พบว่าสารลดแรงตึงผิวชีวภาพมีความเสถียรต่อภาวะต่างๆ เช่น ความเข้มข้นเกลือ (1-12 เปอร์เซ็นต์ ) ค่าพีเอช (2-12) และอุณหภูมิ (4-100 องศาเซลเซียส) เมื่อเตรียมสารลดแรงตึงผิวชีวภาพให้บริสุทธิ์บางส่วนด้วยเทคนิค preparative TLC พบว่า สารลดแรงตึงผิวชีวภาพสามารถแบ่งเป็น 3 ลำดับส่วน ได้แก่ F1, F2 และ F3 ซึ่งลำดับส่วนที่ F2 และ F3 มีค่าการกระจายน้ำมันสูง จึงได้เลือกมาทำให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิค HPLC และจากการวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีของสารลดแรงตึงชีวภาพด้วยเทคนิค FI-MS และ 2D-NMR พบว่า สารลดแรงตึงผิวชีวภาพลำดับส่วนที่ F2-3 มีน้ำหนักมวลโมเลกุล เท่ากับ 168 ซึ่งคือสาร 5-hydroxy-2-decenoic acid deta-lactone หรือ Massoia lactone โดยถือเป็นการรายงานครั้งแรกที่พบว่าสาร Massoia lactone มีคุณสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้จากราคล้ายยีสต์
Other Abstract: Screening of the efficient biosurfactant producing yeasts and yeast-like fungi isolated from coastal areas of Koh Sichang, Aureobasidium pullulans YTP6-14 was the most efficient biosurfactant producing yeast-like fungi and further investigated for optimizing the nutritional and environmental condition for biosurfactant production. The highest biosurfactant production was obtained when cultivating with 2.5 % (w/v) glucose supplemented with 2.5 % (w/v) glycerol as a carbon source and peptone as a nitrogen source with C:N ratio of 300, pH 6.5, at 30 °C within a shake flask at 200 rpm After cultivation for 7 days, it shown the surface tension of culture medium was decreased from 53 mN/m to 32 mN/m or 37% and oil displacement in medium 43.34 cm2. The physicochemical study of the biosurfactant, the CMC value is 39 mg/L, the HLB value is 10-14.27 and best form emulsion with rice bran oil. The study of stability test, it remained unchanged properties of the biosurfactant within a wide range of environmental condition such as pH (2-12), temperature (4-100 ºC) and NaCl concentration (2-10 %). It display three major biosutrfactants, namely F1, F2 and F3. F2 and F3 shown high biosurfactant activity by oil displacement assay and futher analysis via HPLC. In addition, the chemical structure of biosurfactant by FI-MS and 2D-NMR. The molecular mass of 168 was obtained and this was clearly shown that F2-3 is 5-hydroxy-2-decenoic acid delta lactone, massoia lactone. This is the first report natural production of Massoia Lactone which has surfactant activity by yeast-like fungi.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56259
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1496
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1496
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572147323.pdf4.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.