Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5637
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ-
dc.contributor.advisorศักดิ์ชัย โตภาณุรักษ์-
dc.contributor.authorขนิษฐา ชันวิจิตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-01-29T02:13:38Z-
dc.date.available2008-01-29T02:13:38Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743472878-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5637-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูล หมายเลขโคนม ลำดับการให้นม อายุเมื่อคลอดลูก เดือนและปีที่แม่โคคลอดลูก จำนวนวันให้นม ปริมาณน้ำนมรวมตลอดลำดับการให้นม และปริมาณน้ำนมราย 10 วัน จำนวน 12,530 ระเบียน จากฟาร์มโคนมขนาดใหญ่รายหนึ่งของประเทศไทย ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณน้ำนมได้แก่ระดับเลือดโคโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน ลำดับการให้นม เดือนปีที่แม่โคคลอดลูก (p<0.01) โดยมีอายุและจำนวนวันให้นมเป็นความแปรปรวนร่วม การศึกษาค่าปรับปริมาณน้ำนมได้แบ่งกลุ่มข้อมูลตามระดับเลือดของโคนมโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนและลำดับการให้นม เป็น 100 87.5 75 และ 50 เปอร์เซ็นต์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน และ ลำดับการให้นมที่ 1 2 และตั้งแต่ 3 ขึ้นไป โดยวิธีที่ 1 เป็นวิธีแบบตัวคูณซึ่งแบ่งช่วงของวันให้นมเป็น 15 ช่วง (M15STAGE) วิธีที่ 2 เป็นวิธีแบบตัวคูณซึ่งแบ่งวันให้นมเป็น 30 ช่วง (M30STAGE) และวิธีที่ 3 ใช้สมการถดถอยเชิงเส้นตรงอย่างง่าย โดยปรับจำนวนวันให้นมให้เป็นมาตรฐานที่ 300 วันจากการทดสอบความสอดคล้องของค่าปรับปริมาณน้ำนมกับปริมาณน้ำนมจริงพบว่าการใช้สมการถดถอยเชิงเส้นตรงมีประสิทธิภาพสูงสุดคือมีค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ยสัมบูรณ์ของผลต่างระหว่างปริมาณน้ำนมที่ปรับได้ กับปริมาณน้ำนมจริงที่ 300 วัน ต่ำกว่า M15STAGE และ M30STAGE อย่างไรก็ตามค่าปัจจัยปรับที่ศึกษาได้ไม่สามารถเปรียบเทียบกับค่าปรับที่ใช้กันโดยทั่วไปในประเทศไทย (MGENERAL) ได้ เนื่องจากมีจำนวนวันให้นมมาตรฐานต่างกันโดยปริมาณน้ำนมที่ได้จาก MGENERAL มีแนวโน้มต่ำกว่าปริมาณน้ำนมจริงที่ 300 วันของข้อมูลปัจจุบันที่ใช้ศึกษายกเว้นที่ระดับเลือด 50 เปอร์เซ็นต์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน และจากค่าเฉลี่ยลีสท์สแควร์ของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลต่างระหว่างปริมาณน้ำนมปรับกับปริมาณน้ำนมจริง ของแต่ละวิธีตั้งแต่วันให้นมที่ 210 ขึ้นไป พบว่าการใช้สมการถดถอยมีค่าเฉลี่ยลีสท์สแควร์ต่ำที่สุด ในทุกระดับเลือด ข้อเสนอจากการศึกษาครั้งนี้คือค่าปริมาณน้ำนมมีวิธีคำนวณหลากหลายวิธี การเลือกใช้วิธีใดควรคำนึงถึงธรรมชาติของข้อมูลเพื่อจะได้ค่าปรับที่มีความเหมาะสมกับประชากรen
dc.description.abstractalternativeThe records of 12,530 lactations comprising of cow number, breed groups, lactation numbers, age of calving, month-year of calving, lactation length, total milk yield, and milk yield per 10 days were used in this study. Factors affecting total milk yield were breed groups, lactation numbers, month-year of calving, with age at calving and lactation length as covariate (p<0.01). In studying correction factors, the data was divided into breed groups (100, 87.5, 75, and 50 percent of Holstein Friesian) and lactation numbers (1, 2 and 3 and later lactations). The first method was the multiplicative correction factors with 15 stages of lactation (M15STAGE). The second was the multiplicative correction factors with 30 stages of lactation (M30STAGE) and the third method involved the simple linear regression. Lactation lengths were standardized to 300 days. The average differences, standard deviations of the differences and average absolute differences were used to test the correspondence between the projected milk yield predicted from the above three methods and actual 300-day milk yield. The projected milk yield from the abovementioned methods could not be compared with milk yield projected from generally used method of correction factors in Thailand (MGENERAL) because of the differences in standard lactation length. Overall projected milk yield from MGENERAL tended to give lower milk yield than actual 300-day yield except for 50 percent of Holstein Friesian. The linear regression method showed the smallest in average differences, standard deviations of differences and averaging absolute differences (from 210 to 300-day-in milk) in all breed groups. Therefore, it implied that the linear regression method was probably the best method in projecting the actual milk yield. This study suggested that there were various methods for calculating the correction factors and the user should be cautious in selecting the most appropriate correction factors that fit the population in order to declare the cow performance correctly.en
dc.format.extent975244 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectน้ำนมen
dc.subjectโคนม -- ปริมาณน้ำนมen
dc.subjectโคนมพันธุ์โฮลสไตน์en
dc.titleการเปรียบเทียบวิธีปรับปริมาณน้ำนมมาตรฐานที่ 300 วัน ของโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนและลูกผสมen
dc.title.alternativeComparison of methods for adjusting milk yield to 300 days in Holstein-Friesian purebred and Crossbredsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการปรับปรุงพันธุ์สัตว์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorrchancha@chula.ac.th, Chancharat.R@Chula.ac.th-
dc.email.advisortsakchai@chula.ac.th-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khanitta.pdf952.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.