Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56484
Title: การแปรผันทางพันธุกรรมและการประเมินความเป็นไปได้ในการผสมต่างสายพันธุ์ระหว่างอึ่งน้ำเต้า (Microhyla fissipes) อึ่งข้างดำ (M. heymonsi) และอึ่งลายเลอะ (M. butleri) โดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนบางส่วนของไมโทคอนเดรียลดีเอ็นเอในการตรวจสอบในพื้นที่ อพ.สธ. : รายงานวิจัย
Other Titles: Genetic variation and genetic assessment of possible natural hybridization between three species of toads in the genus Microhyla using mtDNA analysis in the RSPG area
Authors: อัมพร วิเวกแว่ว
วิเชฏฐ์ คนซื่อ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: อึ่งน้ำเต้า
อึ่งข้างดำ
อึ่งลายเลอะ
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การผสมข้ามสายพันธุ์ (hybridization) เป็นการผสมพันธุ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีความใกล้ชิดกันเชิงวิวัฒนาการที่มีโครงสร้างทางพันธุกรรมของประชากรหรือสปีชีส์ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ลูกผสม (hybrids) ที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดการถ่ายเทเคลื่อนย้ายของยีน (gene flow) ระหว่างประชากรหรือสปีชีส์ได้หากลูกผสมดังกล่าวสามารถอยู่รอดและสืบพันธุ์ได้ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยใช้เทคนิคทางด้านชีวโมเลกุล อึ่งน้ำเต้า (Microhyla fissipes) อึ่งข้างดำ (M.heymonsi) และอึ่งลายเลอะ (M.butleri) จัดเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีขนาดลำตัวใกล้เคียงกันและมีการกระจายอยู่ในทุกภาคของประเทศไทย จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่าอึ่ง 2 หรือ 3 ชนิด มีการใช้พื้นที่อยู่อาศัยร่วมกัน และที่สำคัญด้วยธรรมชาติของอึ่งที่มีการปฏิสนธิภายนอกร่างกายเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ได้ การศึกษาครั้งนี้จึงในใจตรวจหาและออกแบบเครื่องหมายดีเอ็นเอที่เหมาะสมและมีความจำเพาะต่อชนิดของอึ่ง เพื่อจำแนกและระบุชนิดของอึ่งทั้งสามชนิดเพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการเกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ในธรรมชาติ โดยนำตัวอย่างอึ่งน้ำเต้าจำนวน 17 ตัวที่เก็บมาจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยและจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว อึ่งข้างดำจำนวน 20 ตัว ที่เก็บมาจากอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิและจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว และอึ่งลายเลอะจำนวน 10 ตัว ที่เก็บมาจากอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ มาตรวจหาและเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน COI ในไมโทคอนเดรียลดีเอ็นเอที่สกัดมาจากเนื้อเยื่อตับของอึ่งทั้งสามชนิด โดยใช้เทคนิคพีซีอาร์ ผลการศึกษาพบว่าเฉพาะผลิตภัณฑ์พีซีอาร์ของอึ่งน้ำเต้าจำนวน 12 ตัวและของอึ่งข้างดำ จำนวน 9 ตัว เท่านั้นที่ให้ผล sequencing ชัดเจนและน่าเชื่อถือ โดยลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ได้มีความยาว 678 คู่เบส จากการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ด้วยโปรแกรม Dnasp พบจำนวน haplotype ที่แตกต่างกันจำนวน 10 haplotype ที่มีความแปรผันทางพันธุกรรมจำนวน 138 ๖20.35%) ตำแหน่งมี parsimony informative sites จำนวน 129 ตำแหน่ง และมีค่า haplotype diversity (hd) และค่า nucleotide diversity (π) ค่อนข้างสูง โดยเฉลี่ย hd = 0.810 ±0.080 และ π = 0.09202±0.00887 โดยมีค่า Genetic distance ระหว่างประชากรของอึ่งทั้งสองชนิดระหว่าง 0.000 ถึง 0.202 แสดงว่าประชากรของอึ่งน้ำเต้าและอึ่งข้างดำมีความแตกต่างทางพันธุกรรมของยีน COI ค่อนข้างสูง ซึ่งเหมาะที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องหมายดีเอ็นเอเพื่อใช้ในการจำแนกชนิดของอึ่งทั้งสองชนิด นอกจากนี้จากการศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการยังพบว่าอึ่งน้ำเต้าและอึ่งข้างดำมีความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการเป็นแบบ monophyletic group การตรวจพบการเกิด gene flow ระหว่างประชากรของอึ่งทั้งสองชนิดแสดงว่าอึ่งน้ำเต้าและอึ่งข้างดำสามารถผสมข้ามสายพันธุ์กันได้ในธรรมชาติ
Other Abstract: Hybridization is a mating between genetically different species. It results from incomplete reproductive isolation. Viable and fertile hybrids may lead to gene flow between populations or species. This can be checked using bio-molecular techniques. Ornate Chorus Frog (Microhyla fissipes), Dark-sided Chorus Frog (M.heymonsi) and Noisy Chorus Frog (M.butleri) are amphibian in the same genus. They are similar in body size, found all over Thailand and share their habitats. Essentially, the external fertilization of amphibians may increase the risk of hybridization. Therefore, this study aims to design species-specific mtDNA marker to identify species and to detect possible natural hybridization among these three species. Seventeen M. Fissipes were collected from Chulalongkorn University (CU) and Khao Khew Open zoo (KK), twenty M. heymonsi were collected from Thong Pha Phum Natural Park (TP) and KK and ten M. butleri were collected from TP. These were screened and compared in terms of the COI gene base sequences of the mitochondrial DNA extracted from the liver tissue. The results showed that only twelve M. fissipes and nine M. heymonsi had obvious and reliable COI sequences, 678 base pairs. Ten unique haplotypes based on 138 (20.35%) variable sites were detected from the 21 aligened sequences using Dnasp program. The haplotype diversity (hd) and nucleotide difersity (π) were high. On average, hd = 0.810±0.080 and π = 0.09202 ± 0.00887. In addition, there were 129 parsimony informative sites and the genetic distance among populations ranged from 0.000 to 0.202. This indicates that the COI gene is suitable for use as a species-specific mtDNA marker. Moreover, phylogenetic analyses of the mtDNA haplotypes indicated that M.fissipes and M.heymonsi are monophyletic in their evolutionary relationships. Furthermore, the detections of gene flow between the two species may indicate the occurrence of historical natural hybridization between M. fissipes and M. heymonsi.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56484
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amporn_wi_2555.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.