Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56489
Title: บทบาทและความสำคัญของทากเปลือย Jorunna funebris ในระบบนิเวศ - 1: ฤดูกาลสืบพันธุ์และจำนวนประชากรในพื้นที่หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี : รายงานวิจัย
Other Titles: Important rolses of the nudibranch, Jorunna funebris, in the ecosytems - 1: seasonal reproductions and populations in Mu Ko Samae San, Chon Buri province
Authors: สุชนา ชวนิชย์
วรณพ วิยกาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ทากเปลือย
Jorunna funebris
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทำการศึกษาฤดูกาลสืบพันธุ์และจำนวนประชากรทากเปลือย Jorunna funebris Kelaart, 1858 ในพื้นที่หมู่เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยการออกสำรวจ 4 พื้นที่ ได้แก่ บริเวณชายฝั่งเกาะคราม แหลมปู่เจ้า หาดยาว และเขาหมาจอ รวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง ในเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม และ กันยายน 2555 พบประชากร Jorunna เฉพาะบริเวณแหลมปู่เจ้าที่ระดับความลึก 2-4 เมตร ในช่วงเดือนมีนาคมและกันยายน 2555 โดยประชากรที่พบส่วนใหญ่ (ประมาณ 80%) มีขนาดความยาวเหยียดต่ำกว่า 30 มิลลิเมตร อาศัยอยู่บนไฮดรอยด์หรือฟองน้ำสีน้ำเงิน Xestospongia sp. ทั้งนี้ไม่พบทากเปลือย Jorunna ที่มีขนาดสูงกว่า 40 มิลลิเมตร จากการนำทากเปลือยขนาดโดยเฉลี่ย 80 มิลลิเมตร ที่ได้จากเกาะร้านดอกไม้ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี มาทำการเลี้ยงเพื่อศึกษาพฤติกรรมช่วงการผสมพันธุ์เป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ พบว่า ทากเปลือย Jorunna สามารถจับคู่ผสมพันธุ์วางไข่ได้เกือบตลอดเวลาในระบบเลี้ยง โดยพบการวางไข่ในทุกคู่ที่เลี้ยง และวางไข่สูงสุด 3 ครั้งในช่วงเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม พัฒนาการของไข่ที่ฟักออกมาเป็นตัวอ่อนระยะ veliger ไม่ประสบความสำเร็จในการลงเกาะบนพื้นผิว จำเป็นต้องทำการศึกษาต่อไป
Other Abstract: The seasonal reproductions and populations of nudibranch, Jorunna fenebris Kelaart, 1857 at Mu Ko Samae San, Sattahip, Chon Buri Province were investigated. There were four study sites, i.e. the coast of Ko Khram, Laem Pu Chao, Had Yao, and Khao Maa Choa in this study. In each site, the surveys were conducted 5 times: in January, March, May, July, and September 2012. The results showed that Jorunna’s population was found only at Laem Pu Chao at the depth between 2m and 4 m during March and September 2012. All specimens were smaller than 40 mm, and approximately 80% of the specimens were in the small size class (less than 30 mm). The specimens were found associated with food sources, i.e. hydroid and blue sponge Xestospongia sp. In the experiment of reproduction behaviors by rearing 80 mm in length Jorunna collected from Ko Ran Daomai, Chon Buri Province, we found that all of them mated and laid eggs 1-3 times during 7-week period. However, in the laboratory, the development of Jorunna eggs stopped at the veliger stage because they could not settle and metamorphose. More studies are needed to investigate the development of the Journna larvae in the laboratory.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56489
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchana_ch_2555.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.