Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56495
Title: ข้อมูลทางชีวโมเลกุลและพยาธิสภาพของ Hepatozoon ในกิ้งก่าบินปีกจุด (Draco maculatus) : รายงานวิจัย
Other Titles: Molecular data and histopathology of hepatozoon in Draco maculatus
Authors: มาลินี ฉัตรมงคลกุล
ชิดชัย จันทร์ตั้งสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: กิ้งก่าบินปีกจุด -- ปรสิต
กิ้งก่าบินปีกจุด -- ปรสิต -- แง่โมเลกุล
Draco maculatus -- Parasites
Draco maculatus -- Parasites -- Molecular aspects
Draco (Reptiles) -- Parasites
Draco (Reptiles) -- Parasites -- Molecular aspects
Molecular parasitology
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การติดปรสิตในกระแสเลือดเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในสัตว์สี่ขาทั้งกลุ่มสัตว์เลี้ยงและกลุ่มที่พบอยู่ตามป่าอย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยพบมีข้อมูลอยู่ไม่มากนักสำหรับการติดปรสิตในกระแสเลือดของสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามป่า งานวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาการติดปรสิตในกระแสเลือดของกิ้งก่าบินปีกจุด Draco maculatus ซึ่งเป็นกิ้งก่าขนาดเล็กดำรงชีวิตอยู่ตามต้นไม้และกินแมลงเป็นอาหารพบได้ตามป่าหลายแห่งของประเทศไทย กิ้งก่าบินปีกจุดจำนวน 8 ตัวถูกจับจากพื้นที่เขาวังเขมร จังหวัดกาญจนบุรี การตรวจหาปรสิตในกระแสเลือดโดยการทำแผ่นฟิล์มเลือดชนิดบางแล้วย้อมด้วยสี Giemsa จากตัวอย่างเลือดของกิ้งก่าบินทั้ง 8 ตัว พบว่า 6 ตัวมีการติดปรสิต Hepatozoon sp. และจำนวน 2 ใน 6 ตัวนี้มีการติดปรสิต Trypanosoma sp. ร่วมด้วย การตรวจส่องภายใต้กล้องจุลทรรศน์แสดงให้ถึงพยาธิสภาพในเนื้อเยื่อเลือดของกิ้งก่าบิน กล่าวคือ ในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดปรสิต Hepatozoon sp. ระยะแกมีโตไซท์ พบว่าเยื่อหุ้มเซลล์จะมีขอบเขตไม่ชัดเจนและแตกสลายไป การเพิ่มจำนวนและหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของสมอลซับยูนิตไรโบโซมอลดีเอ็นเอจากกิ้งก่าบินปีกจุดที่ติดเชื้อจำนวน 2 ตัว ร่วมกับการวิเคราะห์โดยใช้ BLAST ยืนยันสถานภาพทางอนุกรมวิธานว่าปรสิตที่ตรวจพบเป็นปรสิตชนิดหนึ่งในสกุล Hepatozoon นอกจากนี้ การวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์และความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการโดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์ของสมอลซับยูนิตไรโบโซมอลดีเอ็นเอที่ได้จากการโคลนนิ่งหลายสายแสดงให้เห็นว่า ลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ได้จากกิ้งก่าบินที่ตรวจสอบทั้งสองตัวมีความคล้ายคลึงกันสูงมากและมีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการที่ใกล้ชิดกัน ชี้ให้เห็นว่าปรสิต Hepatozoon ที่ติดในกระแสเลือดของกิ้งก่าบินปีกจุดน่าจะมาจากชนิดเดียวกัน
Other Abstract: Infection of blood parasites is commonly found in a wide variety of tetrapod vertebrates both domestic and wild ones. However, in Thailand, little is known from wild lizards of small sizes. In this study, we examined the parasitic infection in the spotted flying lizard, Draco maculatus – an arboreal entomophagous agamid lizard indigenous to forests throughout Thailand. A total of eight Drago maculatus were captured during 2011-2012 from Khao Wang Khamen, Kanchanaburi Province. Blood specimens were examined usings thin-filmed blood smear preparations with Giemsa staining. Six of them were found positive with the presence of Hepatozoon sp. And two of which were co-infected with Trypanosoma sp. Microscopic observation revealed that red blood cells infecting with Hepatozoon gametocytes showed a sign of loss in their plasma membrane integrity. Amplification and sequencing of SSU rDNAs of the two infected lizards confirmed the same taxonomic identity of this apicomplexan parasite by BLAST analysis. Sequence and phylogenetic analyses based on SSU rDNA sequences of several clones showed high percentages of sequence similarities and their close relationships, suggesting the infection of single Hepatozoon species.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56495
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Malinee_Ch_2555_Draco.pdf5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.