Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56496
Title: ฟลักซ์ กระบวนการขนส่ง และวัฏจักรของสารอาหารพืชบริเวณแนวปะการังหมู่เกาะแสมสาร -1: การแพร่กระจายและการเปลี่ยนแปลงในรอบวัน ฤดูกาล และรอบปีของสารอาหารพืชในมวลน้ำ : รายงานวิจัย
Other Titles: Fluxes, transport processes and cycling of nutrients at reefs of Mo Ko Samae San-1. Distribution and daily, seasonal and annual variation of nutrients in water masses
Authors: เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล
ปัทมา สิงหรักษ์
วรณพ วิยกาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: แนวปะการัง -- ไทย -- เกาะแสมสาร (ชลบุรี)
น้ำทะเล -- องค์ประกอบ
Reefs -- Thailand -- Koh Samae Sarn (Chonburi)
Seawater -- Composition
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารอาหารพืชในรอบวันของน้ำทะเลในพื้นที่ที่มีและไม่มีแนวปะการัง หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี โดยเก็บตัวอย่างและตรวจวิเคราะห์น้ำทะเลทุก 2 ชั่วโมง ต่อเนื่องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ในฤดูน้ำหลากและ 48 ชั่วโมงในฤดูแล้ง พบว่าพื้นที่ที่แนวปะการังมีการแปรผันตามความลึกและในรอบวันของปัจจัยทางกายภาพเคมีและสารอาหารส่วนใหญ่ มากกว่าบริเวณที่ไม่มีแนวปะการัง นอกจากนี้อินทรีย์ฟอสฟอรัสที่ละลายน้ำในแนวปะการังมีการแปรผันในรอบวันและต่างระดับความลึกน้ำสูง โดยเพิ่มขึ้นในตอนกลางคืนและลดลงในช่วงเช้ามืด คาดว่าปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นนี้น่าจะปล่อยออกมาจากปะการัง จากค่าผันแปรในรอบวันของ pH และออกซิเจนละลาย น่าจะเนื่องมาจากในช่วงกลางวัน Zooxanthalle ในตัวปะการังสังเคราะห์แสง ให้พลังงานกับปะการังไปใช้ในการดึง carbonate ions จากน้ำทะเลมาสร้างโครงสร้างแคลเซียมคาร์บอเนต ทำให้ความสามารถในการเป็นบัฟเฟอร์ลดลง ส่งผลให้ pH ในน้ำทะเลบริเวณนี้แปรปรวนมากกว่านอกแนวปะการัง อย่างไรก็ดี ควรมีการศึกษาค่า alkalinity เพื่อยืนยันปรากฎการณ์
Other Abstract: Diurnal changing of nutrients in seawater inside and outside coral reefs in Mo Ko SameSan, Chonburi province was investigated. Seawater were collected and analysis every 2 hours for 24 hours in wet season and for 48 hours in dry season. The results revealed most of the physicochemical parameters and nutrients in seawater of inside the reef showed higher variation through depth and time than those areas of outside the reef. The dissolved organic phosphorus (DOP) exhibited a highly diurnal variation and also with depth. The DOP increased at night and decreases in the early morning. This increasing DOP probably was released from the corals. Diurnal variation of pH and dissolved oxygen may be interpreted that photosynthesis of Zooxanthalle in the coral polyps gave energy for corals to uptake carbonate ions from seawater to build up calcium carbonate reef. The loss of carbonate ions induced a decreasing buffering capacity of seawater. Therefore, seawater inside the coral reefs had a highly variation of pH in comparison to outside the coral reef. However, alkalinity is recommended to study to confirm this phenomenon.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56496
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Penjai_So_2555.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.