Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56806
Title: ผลของการใช้วัคซีนพีอาร์อาร์เอสเชื้อเป็นในฟาร์มสุกรต่อสมรรถภาพทางการสืบพันธุ์ของสุกรสาวทดแทนและแม่สุกรอุ้มท้อง (ปีที่ 2) : รายงานฉบับสมบูรณ์
Authors: เผด็จ ธรรมรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: สุกรเพศเมีย -- การขยายพันธุ์
สุกรเพศเมีย -- การให้วัคซีน
สุกรเพศเมีย -- ครรภ์
โรคพีอาร์อาร์เอส
โรคพีอาร์อาร์เอส -- การรักษา
Sows -- Reproduction
Sows -- Vaccination
Sows -- Pregnancy
Porcine reproductive and respiratory syndrome
Porcine reproductive and respiratory syndrome -- Treatment
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของการทำวัคซีนพีอาร์อาร์เอสชนิดเชื้อเป็นแบบปูพรมต่อสมรรถภาพทางการสืบพันธุ์ของฝูง การติดเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสในกระแสเลือด และระดับแอนติบอดีในกลุ่มสุกรแม่พันธุ์ของฟาร์มสุกรอุตสาหกรรมขนาด 1,200 แม่ในประเทศไทย วัคซีนพีอาร์อาร์เอสชนิดเชื้อเป็นถูกนำมาใช้ในฟาร์มแบบปูพรม 2 ครั้งภายหลังจากการระบาดของเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอส โดยทำวัคซีนห่างกัน 3 สัปดาห์และหลังจากนั้นทุกๆ 3 เดือน ข้อมูลสมรรถภาพทางการสืบพันธุ์ของฟาร์มในช่วง 3 ปีถูกนำมาวิเคราะห์ ตัวอย่างซีรั่มถูกเก็บทั้งก่อนและหลังการทำวัคซีนเพื่อนำมาทดสอบด้วยชุดทดสอบ ELISA และตรวจหาไวรัสด้วยวิธี reverse transcription polymerase chain reaction ผลการศึกษาพบว่าการทำวัคซีนมีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการลดลงของอัตราการแท้ง (1.4 เทียบกับ 1.6 %) อัตราการเข้าคลอด (83.8 เทียบกับ 90.0 %) จำนวนลูกสุกรแรกคลอด (10.6 เทียบกับ 11.4 ตัวต่อครอก) จำนวนลูกสุกรแรกคลอดมีชีวิต (10.0 เทียบกับ 10.3 ตัวต่อครอก) จำนวนลูกสุกรตายแรกคลอด (4.6 เทียบกับ 7.0 %) จำนวนลูกสุกรมัมมี่ (0.7 เทียบกับ 1.6 %) และการเพิ่มขึ้นของอัตราการกลับสัด (11.3 เทียบกับ 5.9 %) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาก่อนการระบาดของโรคพีอาร์อาร์เอส แม่สุกรอุ้มท้องที่ทำวัคซีนในช่วงต้นของการตั้งท้องมีจำนวนลูกสุกรแรกคลอดมีชีวิตน้อยกว่าและมีจำนวนลูกสุกรมัมมี่มากกว่าแม่สุกรอุ้มท้องที่ทำวัคซีนในช่วงอื่น ในขณะที่แม่สุกรอุ้มท้องที่ทำวัคซีนในช่วงท้ายของการตั้งท้องมีอัตราการเข้าคลอดน้อยกว่า การทำวัคซีนพีอาร์อาร์เอสชนิดเชื้อเป็นแบบปูพรมในฝูงสุกรฝูงนี้มีผลต่อสมรรถภาพทางการสืบพันธุ์ของฝูงโดยมีทั้งผลที่เป็นกลาง เป็นบวก และเป็นลบ ดังนั้นการตัดสินใจทำวัคซีนพีอาร์อาร์เอสชนิดเชื้อเป็นแบบปูพรมควรพิจารณาระหว่างผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับปรุงสมรรถภาพทางการสืบพันธุ์ ได้แก่ ช่วยลดอัตราการแท้ง จำนวนลูกสุกรตายแรกคลอด และจำนวนลูกสุกรมัมมี่ และผลกระทบจากการทำวัคซีนในแม่สุกรที่ตั้งท้อง
Other Abstract: This study assessed the effect of whole-herd PRRS modified-live virus (MLV) vaccination on herd-level reproductive performance, PRRSV viremia, and antibody in a subset of females in a 1,200-sow commercial herd in Thailand. Following a PRRSV outbreak, the entire herd was vaccinated with PRRS MLV twice at 3-week intervals and at 3 month intervals, thereafter. Reproductive performance data over a three year period were available for analysis. Serum samples were collected before and after vaccination and tested by PRRSV ELISA and RT-PCR. Vaccination was statistically associated with a lower abortion rate (1.4% vs. 1.6%), farrowing rate (83.8% vs. 90.0%), total born (10.6 vs. 11.4 piglets per litter), liveborn (10.0 vs. 10.3 piglets per litter), stillbirths (4.6% vs. 7.0%), mummies (0.7% vs. 1.6%) and a higher return rate (11.3% vs. 5.9%) when compared with the period before the PRRSV outbreak. Pregnant females vaccinated during early gestation farrowed fewer live born and more mummies than the comparison group, whereas females vaccinated during late gestation had a lower farrowing rate. In this herd, PRRS whole-herd vaccination had neutral, positive, and negative effects on reproductive performance. Thus, the decision to implement whole-herd vaccination should be balanced between the benefits derived from reproductive performance improvements, e.g., fewer abortions, stillborn piglets and mummified fetuses, and the effect of vaccination on pregnant females.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56806
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Padet_th_016179.pdf3.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.