Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56809
Title: ผลของ curcumin และ tetrahydrocurcumin ต่อการงอกใหม่ของเส้นประสาทหลังการบาดเจ็บ : รายงานการวิจัย
Other Titles: Effects of curcumin and tetrahydrocurcumin on peripheral nerve regeneration after injury
Authors: สิทธิพร แอกทอง
วิไล ชินธเนศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: ขมิ้นชัน
ระบบประสาทส่วนปลาย -- บาดแผลและบาดเจ็บ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายทำให้เกิดการเสื่อมสลายของ axon และการสูญเสียเซลล์ประสาทในปมประสาทไขสันหลัง curcumin เป็นสารที่พบในขมิ้นที่เตรียมจากรากของขมิ้นชันและมีคุณสมบัติที่ปกป้องเซลล์ประสาทในโรคต่าง ๆ ทางระบบประสาทรวมทั้งการบาดเจ็บของเส้นประสาท การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อหาขนาดที่เหมาะสมและผลของ curcumin ต่อการสูญเสียเซลล์ประสาทรวมทั้งระยะการงอกใหม่ของเส้นประสาท หนูที่ได้รับการผ่าตัดหนีบเส้นประสาทได้รับ curcumin (100ม 300 and 500 mg/kg/วัน) หรือ vehicle โดยการฉีดเข้าช่องท้องวันละครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ก่อนสิ้นสุดการทดลองประเมินการคืนหน้าที่ของประสาทสั่งการโดยการคำนวณ sciatic functional index เมื่อครบกำหนด ฆ่าหนูและนับจำนวนเซลล์ประสาทใน DRG และวัดระยะทางการงอกใหม่ของเส้นประสาท พบว่าทุกขนาดของ curcumin ทำให้การสูญเสียเซลล์ประสาทลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้ vehicle (9.4%, 2.5% และ 15.4% สำหรับ curcumin 100, 300 และ 500 mg/kg ตามลำดับ เทียบกับ 24.0% สำหรับกลุ่ม vehicle) แต่ curcumin ไม่มีผลต่อการคืนหน้าที่ของประสาทสั่งการและระยะการงอกใหม่ โดยสรุป curcumin สามารถลดการตายของเซลล์ประสาทหลังเส้นประสาทบาดเจ็บได้ จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมที่ระยะเวลาการคืนหน้าที่นานขึ้นและมีการปรับเปลี่ยนวิธีการให้ยาเพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพของ curcumin ต่อการบาดเจ็บของเส้นประสาทที่แท้จริง
Other Abstract: Peripheral axotomy causes anterograde degeneration of distal axons and neuronal loss in the dorsal root ganglia. Curcumin in spice turmeric prepared from curcuma longa has shown neuroprotectuve effects in various neurodegenerative diseases including peripheral nerve trauma. This study was aimed to determine the optimal dose of curcumin and its effects on sensory neuronal loss and axonal regeneration distance. Rats undergone unilateral sciatic nerve crush were treated with either curcumin (100, 300 and 500 mg/kg/day) or vehicle. Curcumin was injected intraperitoneally daily for 2 weeks. Motor recovery determined by sciatic functional index was tested at the end of study. The number of L4 DRG neurons and the distance of regenerated axons were evaluated. All doses of curcumin significantly reduced sensory neuronal loss (9.4%, 2.5% and 15.4% for 100, 300 and 500 mg/kg, respectively) compared with the control group (24.0%). However, curcumin had no significant effects on motor recovery and axonal regeneration distance. In conclusion, curcumin has shown the neuroprotective effects on DRG neuronal loss after sciatic nerve crush. Further studies on long-term recovery with modified drug delivery are needed to clarify whether curcumin has a therapeutic role in peripheral nerve injury.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56809
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sithiporn_ea_015845.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.