Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56816
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทิศนา แขมมณี-
dc.contributor.authorสุนีย์รัตน์ ฤทธิ์ธงชัยเลิศ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2018-01-24T04:58:56Z-
dc.date.available2018-01-24T04:58:56Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745681385-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56816-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ในการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่ใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กับกลุ่มที่ไม่ใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ดังนี้ 1.1 ศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ระหว่างกลุ่มที่ใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์กับกลุ่มที่ไม่ใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ หลังการทดลอง 1.2 ศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลาง ระหว่างกลุ่มที่ใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กับกลุ่มที่ไม่ใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์หลังการทดลอง 1.3 ศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ระหว่างกลุ่มที่ใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กับกลุ่มที่ไม่ใช่กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ หลังการทดลอง 1.4 ศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำ ของกลุ่มที่ใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และกลุ่มที่ไม่ใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง 2. ศึกษาพัฒนาการความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ระหว่างนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำ วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งดำเนินการทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดแจงร้อน เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานครปีการศึกษา 2529 จำนวน 60 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยคัดเลือกนักเรียนที่มีคะแนนความเชื่อมั่นในตนเอง ในระดับที่ต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 25 จากแบบทดสอบวัดความเชื่อมั่นในตนเอง และได้ระดับคะแนน 1 จากการประเมินความเชื่อมั่นในตนเองโดยครูประจำชั้น และครูประจำวิชา จากนั้นจับคู่นักเรียนตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แยกออกเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ซึ่งแต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง 10 คน ปานกลาง 10 คน และต่ำ 10 คน แล้วทดลองใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กับกลุ่มทดลองด้วย กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 10 กิจกรรม กิจกรรมทั้งหมดมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้นักเรียนพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองใน 5 ด้าน คือ ด้านความมั่นคงทางจิตใจ ด้านการกล้าแสดงออก ด้านการกล้าตัดสินใจ ด้านการกล้าเผชิญความจริง และด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้เวลาฝึกสัปดาห์ละ 3 ครั้ง รวม 30 คาบ ส่วนกลุ่มควบคุมให้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมปกติ เมื่อสิ้นสุดการทดลองแล้วให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดความเชื่อมั่นในตนเอง พร้อมทั้งครูประจำชั้นและครูประจำวิชาประเมินความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนอีกครั้ง (Post – test) ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ 1.เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ภายหลังการทดลอง โดยการทอสอบค่าที (t – test) 2. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำ ระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง หลังการทดลองโดยการทดสอบค่าที (t – test) 3. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มเดียวกันโดยการทดสอบค่าที (t – test) 4. เปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการระหว่างนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำ ในกลุ่มทดลอง โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one way analysis of variance) สรุปผลการวิจัย 1. หลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลอง ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ มีคะแนนความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เรียนโดยใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ ของกลุ่มทดลองมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่านักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำของกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จากการวัดด้วยแบบประเมินความเชื่อมั่นในตนเองโดยครู แต่จากการวัดด้วยแบบทดสอบไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 และนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลาง ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความเชื่อมั่นในตนเองไม่แตกต่างกัน ทั้งจากการวัดด้วยแบบทดสอบและแบบประเมินความเชื่อมั่นในตนเอง 3. หลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กล่าวคือ 3.1 นักเรียนกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3.2 นักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลางมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3.3 นักเรียนกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. นักเรียนกลุ่มทดลองที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำมีพัฒนาการของความเชื่อมั่นในตนเองไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05en_US
dc.description.abstractalternativePurpose The purposes of this study were as follows: 1. To study self-confidence of Prathom Suksa Five students who have engaged in group process activities. 3. To compare the gained scores of self-confidence of students with high, middle and low levels of learning achievements. Procedures Sixty Prathom Suksa Five Students of Wat Chaengron School in Radburana District, Bangkok Metropolis, in the academic year 1986 whose scores were lower than Percentile 25 by self-confidence test and who also scored low by teacher evaluation. Thirty students were selected as an experimental group and another thirty students as a controlled group. In each group, were 10 students in high, middle and low levels of learning achievements. The researcher designed 10 group process activities which aimed at developing students self-confidence. The experimental group was engaged in the group process activities for thirty periods (20 minutes for each period) while the controlled group was left natural. After the treatment the two groups were asked to do the post-test and were evaluated by teachers again. The scores of self-confidence of the two groups were compared as follows: 1. Compared the post-test scores of self-confidence between the experimental group and the controlled group by using t-test. 2. Compared the means scores of self-confidence of students in high, middle and low levels of learning achievement between experimental and controlled groups by using t-test. 3. Compared the pre-test and post-test scores of self-confidence of the students in the experimental group and controlled group by using t-test. 4. Compared the increased scores of self-confidence among the experimental groups of students with high, middle, and low levels of learning achievement by using one-way analysis of variance. Results 1. The post-test mean score of the students in the experimental group was higher than of the controlled group at the .05 level of significance. 2. There were no significant differences between the post-test scores of self-confidence of students with high, middle, and low levels of achievement in the experimental group and the controlled group. But from teacher evaluation, the scores of self-confidence of students with high and low levels of achievement of the experimental group were higher than those of the controlled group at the .05 level of significance. There was no significant difference between the scores of students with middle level of achievement in the experimental group and in the controlled group. 3. The post-test scores of the experimental group and the controlled group were higher than the pre-test scores at the .05 level of significance. 4. There were no significant differences among the increased scores of self-confidence of students with high, middle and low levels of learning achievement in the experimental group at the .05 level of significance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกลุ่มสัมพันธ์en_US
dc.subjectการฝึกกลุ่มสัมพันธ์en_US
dc.subjectความเชื่อมั่นในตนเองในเด็กen_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen_US
dc.subjectนักเรียนประถมศึกษาen_US
dc.subjectSocial groupsen_US
dc.subjectGroup relations trainingen_US
dc.subjectSelf-confidence in childrenen_US
dc.subjectAcademic achievementen_US
dc.subjectSchool childrenen_US
dc.titleผลจากการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ในการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกันen_US
dc.title.alternativeResults from using group process activites in developing self-confidence of prathom suksa five students with different learning achievementsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineประถมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTisana.K@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suneerat_ri_front.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open
Suneerat_ri_ch1.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Suneerat_ri_ch2.pdf5.34 MBAdobe PDFView/Open
Suneerat_ri_ch3.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Suneerat_ri_ch4.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Suneerat_ri_ch5.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Suneerat_ri_back.pdf13.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.