Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56857
Title: อิทธิพลของตัวแบบที่มีต่อการต้านทานการเบี่ยงเบน ของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: The effects of models on resistance to deviation of prathom suksa three male students
Authors: วิไล เสรีสิทธิพิทักษ์
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Theeraporn.U@chula.ac.th
Subjects: เด็กผู้ชาย -- พฤติกรรม
พฤติกรรมเบี่ยงเบน
นักเรียนประถมศึกษา
จิตวิทยาเด็ก
Boys -- Behavior
Deviant behavior
School children
Child psychology
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแบบที่มีต่อการต้านทานการเบี่ยงเบนในเด็กนักเรียนชายระดับประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเงื่อนไขการทดลอง 4 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขตัวแบบเบี่ยงเบนเงื่อนไขตัวแบบต้านทานการเบี่ยงเบน เงื่อนไขตัวแบบนั่งอยู่กับที่เฉยๆ และเงื่อนไขควบคุมโดยวัดการต้านต้านทานการเบี่ยงเบนดัวยตัวแปรตาม 3 ตัวแปรตาม 3 ตัวแปร พบว่า สองตัวแปรแรกไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญในทุกเงื่อนไขการทดลอง ส่วนตัวแปรที่สามพบผลดังนี้ 1. เด็กในเงื่อนไขตัวแบบเบี่ยงเบน มีการต้านทานการเบี่ยงเบนน้อยกว่าเด็กในเงื่อนไขตัวแบบนั่งอยู่กับที่เฉยๆ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 05 2. เด็กในเงื่อนไขตัวแบบต้านทานการเบี่ยงเบน มีการต้านทานการเบี่ยงเบน ไม่แตกต่างจากเด็กในเงื่อนไขตัวแบบนั่งอยู่กับที่เฉยๆ อย่างมีนัยสำคัญ 3. เด็กในเงื่อนไขตัวแบบเบี่ยงเบน มีการต้านทานการเบี่ยงเบนน้อยกว่าเด็กในเงื่อนไขควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .10 4. เด็กในเงื่อนไขตัวแบบต้านทานการเบี่ยงเบน มีการต้านทานการเบี่ยงเบน ไม่แตกต่างจากเด็กในเงื่อนไขความคุมอย่างมีนัยสำคัญ 5. เด็กในเงื่อนไขตัวแบบเบี่ยงเบน มีการต้านทานการเบี่ยงเบนน้อยกว่าเด็กในเงื่อนไขตัวแบบต้านทานการเบี่ยงเบน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 6. เด็กในเงื่อนไขตัวแบบนั่งอยู่กับที่เฉย ๆ มีการต้านทานการเบี่ยงเบนไม่แตกต่างจากเด็กในเงื่อนไขควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of models on the resistance to deviation of prathom suksa three male students under four conditions : 1. The deviate model group 2. The resisting model group 3. The remain seated model group 4. The control group and measured the resistance to deviation with three dependent variables. The results indicate that the former variables showed no significant differences in all conditions but the third variable showed that 1. Students in the deviate model group showed significantly lesser resistance to deviation than students in the remain seated model group (P<.05). 2. Students in the resisting model group showed no significantly greater resistance to deviation than students in the remain seated model group. 3. Students in the deviate model group showed significantly lesser resistance to deviation than students in the control group (P<.10). 4. Students in the resisting model group showed no significantly greater resistance to deviation than students in the control group. 5. Students in the deviate model group showed significantly lesser resistance to deviation than students in the resisting model group (P<.05). 6. Students in the remain seated model group showed no significantly greater resistance to deviation than students in the control group.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56857
ISBN: 9745691844
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vilai_se_front.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Vilai_se_ch1.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open
Vilai_se_ch2.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Vilai_se_ch3.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Vilai_se_ch4.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Vilai_se_ch5.pdf477.26 kBAdobe PDFView/Open
Vilai_se_back.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.