Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57006
Title: การทำงานเป็นกะกับสุขภาพของคนงานที่ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: Shift work and type 2 diabetes patient's health among workers in Bangkok and its vicinity
Authors: ธนะวัฒน์ เจริญวนิชชากร
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pornchai.Si@Chula.ac.th
Narin.H@Chula.ac.th
Subjects: การทำงานเป็นกะ -- แง่สุขภาพ
เบาหวาน -- ผู้ป่วย
ลูกจ้าง -- สุขภาพและอนามัย
อาชีวอนามัย
Shift systems -- Health aspects
Diabetics
Employees -- Health and hygiene
Industrial hygiene
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ทำงานเฉพาะตอนเช้า, สุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ทำงานเป็นกะ, เปรียบเทียบสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ทำงานเป็นกะ กับทำงานเฉพาะตอนเช้า และ ศึกษาถึงปัจจัยส่วนบุคคลและ ปัจจัยจากการทำงานที่สัมพันธ์กับสุขภาพผู้ป่วยเหบาหวานชนิดที่ 2 การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยเบาหวานที่ทำงานเฉพาะตอนเช้า และทำงานเป็นกะ กลุ่มละ 120 คน จากผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่คลินิกประกันสังคมของโรงพยาบาล 5 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลสุขภาพระหว่างเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ทำงานเฉพาะตอนเช้า กับที่ทำงานเป็นกะ พบว่าผู้ป่วยที่ทำงานเฉพาะตอนเช้าที่มีระดับกลูโคสในพลาสมาก่อนอาหารเฉลี่ยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 130 mg/dl เท่ากับ ร้อยละ 28.3 แต่ในผู้ป่วยเบาหวานที่ทำงานเป็นกะ เท่ากับร้อยละ 15.8 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.02), ผู้ป่วยที่เกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยที่ทำงานเฉพาะตอนเช้าและทำงานเป็นกะเท่ากับ ร้อยละ 26.7 และ ร้อยละ 42.5 ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.01) การคัดกรองปัญหาทางสุขภาพ โดยใช้แบบสอบถาม Thai GHQ-12 พบว่าผู้ป่วยที่ทำงานเฉพาะตอนเช้ามีความผิดปกติทางสุขภาพจิต ร้อยละ 14.2 ส่วนผู้ป่วยที่ทำงานเป็นกะมีความผิดปกติ ร้อยละ 37.5 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับกลูโคสในพลาสมาก่อนอาหรในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของผู้ป่วยคือ อายุ และการทำงานเป็นกะ โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติด พบว่าอายุที่เพิ่มขึ้น 1 ปี มี Odds Ratio ของการคุมระดับกลูโคสในพลาสมาก่อนอาหารในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาได้ไม่ดีเป็น 0.955 เท่า และคนทีทำงานเป็นกะมี Odds Ratio ต่อการคุมระดับกลูโคสในพลาสมาก่อนอาหารในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาได้ไม่ดีเป็น 2.026 เท่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำตั้งแต่พบแพทย์ครั้งที่แล้วจนถึงวันเก็บข้อมูลของผู้ป่วยคือ การทำงานเป็นกะ และการสอบบุหรี่ โดยที่คนที่ทำงานเป็นกะมี Odds Ratio ที่จะเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำเป็น 2.092 เท่า ของคนที่ไม่ได้ทำงานเป็นกะ และคนที่สูบบุหรี่มี Odds Ratio ของการเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำเป็น 2.797 เท่าของคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ โดยสรุปการศึกษาครั้งนี้ พบว่าการทำงานเป็นกะ น่าจะมีผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเฉพาะการควบคุมน้ำตาล การเกิดอาการน้ำตาลต่ำและปัญหาทางสุขภาพจิต ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ทำงานเป็นกะ ควรได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากแพทย์ผู้ทำการรักษา และนายจ้างที่ที่ทำงาน
Other Abstract: The objectives of this cross-sectional analytic research were to study the health of type 2 diabetes patients who did day work, the health of type 2 diabetes patients who did shift work, compare type 2 diabetes patient’s health who did day work and type 2 diabetes patients who did shift work and study personal factors and job related factors associated with type 2 diabetes patient’s health. Total of 240 workers were participated in this study (120 day workers, 120 shift workers). The study subjects were randomly selected from the Social Security Clinics in 5 hospitals in Bangkok and its vicinity. The results showed that the proportion of day workers and shift workers who had an average fasting plasma glucose during last six month is less than or equal to 130 mg/ld were 28.3% and 15.8%, respectively, and the difference was statistically significant (p-value=0.02). Workers who had hypoglycemic symptoms in day workers and shift workers were 26.7% and 42.5%, respectively, and the difference was statistically significant (p-value=0.01). Workers who were abnormal upon mental health testing (Thai GHQ-12) in day workers and shift workers were 14.2% and 37.5%, respectively, and the difference was statistically significant (p-value is less than 0.001). Age [OR; 0.955; 95%CI (0.919-0.993)] and shift work [OR; 2.026; 95%ci (1.070-3.836)] were significantly associated with average fasting plasma glucose in last six months. Shift work [OR; 2.092; 95%CI (1.205-3.633)] and smoking [OR; 2.797; 95%Cl (1.223-6.399)] were significantly associated with hypoglycemic symptoms. In conclusion, this study shows that shift work may affect type 2 diabetes patient’s health such as blood sugar control, hypoglycemic symptoms and mental health problems. Consequently, type 2 diabetes patients’ need more attention from physicians and employers at the work place.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาชีวเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57006
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1428
ISBN: 9741438974
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1428
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tanwat_ch_front.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
tanwat_ch_ch1.pdf814.29 kBAdobe PDFView/Open
tanwat_ch_ch2.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
tanwat_ch_ch3.pdf993.31 kBAdobe PDFView/Open
tanwat_ch_ch4.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open
tanwat_ch_ch5.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
tanwat_ch_back.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.