Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57191
Title: สถานการณ์การดำเนินงานและปัญหาการบริหารงานของศูนย์สุขภาพชุมชนในสาธารณสุขเขต 5 กระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: Situations and problems of primary care unit administration in Public health region 5, Ministry of Public Health
Authors: นิรันดร ศรีศักดิ์
Advisors: จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
อานนท์ วรยิ่งยง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Jiruth.S@Chula.ac.th
Arnond.V@Chula.ac.th
Subjects: การบริหารสาธารณสุข -- ไทย
บริการอนามัยชุมชน -- การบริหาร -- ไทย
ศูนย์การแพทย์ -- การบริหาร -- ไทย
สถานบริการสาธารณสุข -- การบริหาร -- ไทย
Public health administration -- Thailand
Community health services -- Administration -- Thailand
Medical centers -- Administration -- Thailand
Health facilities -- Administration -- Thailand
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานและปัญหาการบริหารงานของศูนย์สุขภาพชุมชนในสาธารณสุขเขต 5 กระทรวงสาธารณสุข ตามกรอบแนวคิด 7-S ของ McKinsey ใน 7 ด้าน ได้แก่ กลยุทธ์ โครงสร้าง ระบบ รูปแบบการบริหาร บุคลากร ทักษะ และค่านิยมร่วม การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นตามกรอบแนวคิด 7-S ของ McKinsey จากหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนทุกแห่งในสาธารณสุขเขต 5 จำนวน 370 คน โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 มีอัตราการตอบกลับร้อยละ 86.6 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Mann-Whitney U tests ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การดำเนินงานที่หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติน้อยที่สุดคือ ด้านค่านิยมร่วม โดยความคิดเห็นต่อสถานการณ์การดำเนินงานด้านรูปแบบการบริหารมีความแตกต่างกันตามประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งของหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน (p=.043) ส่วนความคิดเห็นต่อสถานการณ์การดำเนินงาน ด้านกลยุทธ์และด้านโครงสร้างมีความแตกต่างกันตามที่ตั้งของศูนย์สุขภาพชุมชน (p=.058 และ .021 ตามลำดับ) สำหรับปัญหาการบริหารงานพบว่า ด้านระบบหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนมีความคิดเห็นว่าพบปัญหามากที่สุด เมื่อพิจารณาความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานด้านรูปแบบการบริหารและด้านบุคลากรมีความแตกต่างกันตามประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งของหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน (p=.031 และ .010 ตามลำดับ) ส่วนความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานไม่แตกต่างกันตามที่ตั้งของศูนย์สุขภาพชุมชน ในขณะที่ความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานด้านบุคลากรมีความแตกต่างกันตามจำนวนประชากรต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของศูนย์สุขภาพชุมชน (p<.001) จากการวิจัยครั้งนี้ผู้บริหารและทีมสุขภาพในทุกระดับ ควรให้ความสนใจในการสร้างเสริมการดำเนินงานด้านค่านิยมร่วมในเรื่องวัฒนธรรมองค์กรในการให้รางวัลกับบุคลากร และร่วมวางแผนแก้ไขระบบการบริหารงาน โดยควรคำนึงถึงความแตกต่างของประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งของศูนย์สุขภาพชุมชน ที่ตั้งของศูนย์สุขภาพชุมชน และจำนวนประชากรต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของศูนย์สุขภาพชุมชน
Other Abstract: This cross-sectional descriptive study aimed to explore of the situations and problems in primary-care-unit (PCU) administration in the Public Health Region 5 of Ministry of Public Health. Using the McKinsey's 7S-model including strategy, structure, systems, style, staff, skill and shared values, the data was collected during January to February 2007 by the opinion-based questionnaire all of PCU leaders in the region (370 persons). The response rate was 86.6 percent. The data were analyzed by using descriptive statistics, consisted of frequency, percentage and average, and the Mann-Whitney U tests. The finding indicated that With respect to the 7S-models, the shared-values situation was implemented the least. The opinion in style was different according to their experience in PCU leaders (p=.043). The situation in the strategy and structure aspects differed by PCU location (p=.058 and .021 respectively). Regarding management problems, it was found that most of the problems were found in the systems aspect rather than the others. The opinions about problems in the style and staff aspects differed by working experience (p=.031 and .010 respectively). In addition, the opinions about problems in the staff was aspects differed by number of population per healthcare worker (p<.001). It is recommended that the executives and healthcare teams in every level encourage the shared values of reward in the organization and should participate in cooperate planning to improve the administrative systems, considering the differences in experience, location of PCUs and the number of population per healthcare worker among the PCUs.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57191
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.184
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.184
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nirandom_sr_front.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
nirandom_sr_ch1.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
nirandom_sr_ch2.pdf5.39 MBAdobe PDFView/Open
nirandom_sr_ch3.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
nirandom_sr_ch4.pdf8.93 MBAdobe PDFView/Open
nirandom_sr_ch5.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open
nirandom_sr_back.pdf6.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.