Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57292
Title: ผลของการใช้วัคซีนพีอาร์อาร์เอสเชื้อเป็นในฟาร์มสุกรต่อสมรรถภาพทางการสืบพันธุ์ของสุกรสาวทดแทนและแม่สุกรอุ้มท้อง (ปีที่ 1) : รายงานฉบับสมบูรณ์
Other Titles: โครงการวิจัยเรื่องผลของการใช้วัคซีนพีอาร์อาร์เอสเชื้อเป็นในฟาร์มสุกรต่อสมรรถภาพทางการสืบพันธุ์ของสุกรสาวทดแทนและแม่สุกรอุ้มท้อง (ปีที่ 1)
Authors: เผด็จ ธรรมรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: สุกรเพศเมีย -- การขยายพันธุ์
สุกรเพศเมีย -- การให้วัคซีน
สุกรเพศเมีย -- ครรภ์
โรคพีอาร์อาร์เอส
โรคพีอาร์อาร์เอส -- การรักษา
Sows -- Reproduction
Sows -- Vaccination
Sows -- Pregnancy
Porcine reproductive and respiratory syndrome
Porcine reproductive and respiratory syndrome -- Treatment
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความชุกทางซีรั่มของเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอส (PRRSV) ในสุกรสาวทดแทนจากฟาร์มสุกรในประเทศไทยที่ถูกคัดเลือกจำนวน 5 ฟาร์ม การศึกษาประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาย้อนหลังเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้านความชุกทางซีรั่มของเชื้อ PRRSV ในสุกรสาว แม่สุกร พ่อสุกร สุกรอนุบาล และสุกรขุนจำนวน 7,030 ตัวอย่าง ส่วนที่สองเป็นการศึกษาความชุกทางซีรั่มของเชื้อ PRRSV ณ ช่วงเวลาหนึ่งในสุกรสาว จำนวน 200 ตัว ส่วนสุดท้ายเป็นการศึกษาความชุกทางซีรั่มของเชื้อ PRRSV ในสุกรสาวที่ถูกคัดทิ้งจากปัญหาความล้มเหลวทางการสืบพันธุ์ จำนวน 166 ตัว จากฟาร์มทั้งหมดพบว่ามีความชุกทางซีรั่มของเชื้อ PRRSV เป็น 79.3% จากการศึกษา ณ ช่วงเวลาหนึ่งพบว่า 87.5% ของสุกรสาวทดแทนมีการติดเชื้อ PRRSV ในสุกรสาวที่ถูกคัดทิ้งเนื่องจากปัญหาความล้มเหลวทางการสืบพันธุ์มีความชุกทางซีรั่มของเชื้อ PRRSV เป็น 73.5% การศึกษานี้สรุปได้ว่าสุกรสาวทดแทนส่วนใหญ่จะมีการสัมผัสเชื้อ PRRSV ก่อนจะถูกผสมพันธุ์ นอกจากนี้งานวิจัยยังได้ศึกษาความชุกของการตรวจพบแอนติเจนของเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสในเนื้อเยื่อมดลูกของสุกรสาวที่ถูกคัดทิ้งเนื่องจากมีปัญหาทางระบบสืบพันธุ์ และศึกษาความสัมพันธ์กับอายุของสุกรเมื่อถูกคัดทิ้ง สาเหตุการคัดทิ้ง ฟาร์ม และการทำวัคซีนพีอาร์เอส โดยรวบรวมชิ้นเนื้อมดลูกจากสุกรสาวจำนวน 100 ตัว จากฟาร์มสุกรในประเทศไทย จำนวน 6 ฟาร์ม ทำการตรวจหาแอนติเจนของเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสในชิ้นเนื้อโดยวิธีอิมมูโนฮิสโตเคมีโดยใช้เทคนิค Polymer-based non-avidin-biotin ผลการศึกษาพบว่า แอนติเจนของเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสถูกตรวจพบในไซโตพลาสซึมของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจที่อยู่ในชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ใต้ชั้นผิวเยื่อบุของมดลูก โดยพบได้ 33% ของสุกรสาวที่ถูกคัดทิ้ง การตรวจพบแอนติเจนของเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสแตกต่างกันในแต่ละฟาร์ม โดยพบตั้งแต่ 14.3% ถึง 80.0% (P=0.018) การตรวจพบแอนติเจนของเชื้อไวรัสพีอาร์เอสในเนื้อเยื่อมดลูกที่อายุต่างๆ กันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (ตรวจพบ 29.6% 39.4% และ 40.9% ในสุกรสาวที่ถูกคัดทิ้งที่อายุ 6-8 9-10 และ 11-16 เดือน ตามลำดับ P=0.698) เช่นเดียวกันกับสาเหตุการคัดทิ้ง (P=0.929) แอนติเจนของเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์-เอสถูกพบใน 24.5% ของสุกรสาวที่ได้รับวัคซีนเชื้อเป็นพีอาร์อาร์เอสสเตรนยุโรป และ 23.1% ของสุกรสาวที่ได้รับวัคซีนเชื้อเป็นพีอาร์อาร์เอสสเตรนอเมริกา (P=0.941) ปริมาณแอนติบอดี้ต่อเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสไม่มีผลต่อการตรวจพบเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสในเนื้อเยื่อมดลูก และการตรวจพบแอนติเจนของเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสไม่มีความแตกต่างกันในสุกรสาวที่ไม่เคยถูกผสมพันธุ์ (35.4%) และสุกรสาวที่ได้รับการผสมพันธุ์ก่อนถูกคัดทิ้ง (30.8%) (P=0.622) โดยสรุป เชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสสามารถคงอยู่ในเนื้อเยื่อมดลูกของสุกรสาวที่ได้รับเชื้อเป็นเวลาหลายเดือนแม้ว่าสุกรสาวนั้นจะได้รับการวัคซีนหรือการคลุกโรคแล้วก็ตาม
Other Abstract: The present study investigated the seroprevalence of porcine reproductive and respiratory syndrome virus (PRRSV) in replacement gilts from selected five swine herds in Thailand. The study consisted of three parts. First, a retrospective data analysis on the seroprevalence of PRRSV in gilts, sows, boars, nursery and fattening pigs in five herds (n=7,030). Second, a cross-sectional study on seroprevalence of PRRSV (n=200) in replacement gilts. Last, the seroprevalence of PRRSV in gilts culled due to reproductive failure (n=166). Across the herds, the seroprevalence of PRRSV was 79.3%. The cross-sectional study revealed that 87.5% of the replacement gilts were infected with PRRSV. In the gilts culled due to reproductive failure, the seroprevalence of PRRSV was 73.5%. It could be concluded that most of the replacement gilts were exposed to PRRSV before entering the breeding house. In addition, the study was also determine the prevalence of PRRSV antigen positive uterine tissue in gilts culled due to reproductive disturbance in relation to age at culling, reasons for culling, herds and PRRSV vaccination. Uterine tissues of 100 gilts from 6 swine herds in Thailand were collected. The immunohistochemistry was performed to detect the PRRSV antigen using a polymer-based non-avidin-biotin technique. PRRSV was detected in the cytoplasm of the macrophages in the sub-epithelial connective tissue layers of the endometrium in 33.0% of the culled gilts. The detection of PRRSV antigen varied among the herds from 14.3% to 80.0% (P=0.018). The detection of PRRSV in the uterine tissues at different ages was not statistically different (29.6%, 39.4% and 40.9% in gilts culled at 6-8, 9-10 and 11-16 months of age, respectively, P=0.698), similar to the reasons for culling (P=0.929). PRRSV antigen was found in 24.5% of the gilts vaccinated against the EU-strain-modified-live PRRSV vaccine and in 23.1% of the gilts vaccinated against the US-strain-modified-live PRRSV (P=0.941). The level of antibodies titers against PRRSV had no impact on PRRSV antigen detection in the uterine tissues. Similarly, the detection of PRRSV antigen did not differ between the virgin gilts (35.4%) and the gilts mated before culling (30.8%) (P=0.622). It can be concluded that PRRSV remain in the uterine tissue of the infected gilts for several months even though vaccinations and acclimatization have been carried out.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57292
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Research_Report_PRRSV_2554.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.