Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57319
Title: Development of gas sensor from conducting polymer composite containing poly (3,4-ethylenedioxythiophene)
Other Titles: การพัฒนาแก๊สเซ็นเซอร์จากพอลิเมอร์คอมพอสิตนำไฟฟ้าของพอลิ(3,4-เอทิลีนไดออกซีไทโอฟีน)
Authors: Laongdao Menbangpung
Advisors: Voravee P. Hoven
Yongsak Sritana-anant
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: Vipavee.P@Chula.ac.th
Yongsak.S@Chula.ac.th
Subjects: Polymerization
Conducting polymers
Gas detectors
โพลิเมอไรเซชัน
โพลิเมอร์นำไฟฟ้า
อุปกรณ์ตรวจจับก๊าซ
Issue Date: 2009
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This research aims to study film processing of the conducting polymer composites containing poly(3,4-ethylenedioxythiophene) (PEDOT) using solid state polymerization of 2,5-dibromo-3,4-ethylenedioxythiophene (DBEDOT) in the polymer matrix on the interdigitated electrode (IDE) for gas sensing applications. The most appropriate condition for preparing DBEDOT-containing composite film was to spin casting the mixed solution of polybutadiene (PB) and DBEDOT dissolved in toluene at 1:10 (w/w) of PB:DBEDOT on IDE with a spin speed of 1500 rpm for 60 sec, and induced SSP of DBEDOT to conductive PEDOT by heating the PB/DBEDOT composite film at 60 oC for 8 h. The PB/PEDOT composite film having a resistance of 103 ohm was chosen for testing against a number of volatile chemicals. The resistivity of the PB/PEDOT composite film was systematically changed with the polarity of the chemical. The PEDOT-based sensor gave good responses to polar solvents such as methanol, ethanol, and water. The repeatability and sensitivity of the developed sensor were also determined.
Other Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการขึ้นรูปฟิล์มพอลิเมอร์คอมพอสิตนำไฟฟ้าที่มี พอลิ(3,4-เอทิลีนไดออกซีไทโอฟีน) เป็นองค์ประกอบ โดยอาศัยปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันในวัฏภาคของแข็งของ 2,5-ไดโบรโม-3,4-เอทีลีนไดออกซีไทโอฟีนในพอลิเมอร์เมทริกซ์บนขั้วไฟฟ้าเพื่อประยุกต์ใช้งานเป็นแก๊สเซ็นเซอร์ จากการศึกษาพบว่าสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการเตรียมฟิล์มคอมพอสิตที่มี 2,5-ไดโบรโม-3,4-เอทีลีนไดออกซีไทโอฟีน เป็นองค์ประกอบคือ การเคลือบแบบหมุนเหวี่ยงของสารละลายผสมในโทลูอีนที่มีอัตราส่วนโดยน้ำหนักระหว่างพอลิบิวทาไดอีนและ 2,5-ไดโบรโม-3,4-เอทีลีนไดออกซีไทโอฟีนเป็น 1 ต่อ 10 บนขั้วไฟฟ้าโดยใช้ความเร็วรอบในการหมุนเหวี่ยงเท่ากับ 1,500 รอบต่อนาที เป็นเวลา 60 วินาที จากนั้นจึงเหนี่ยวนำให้เกิดพอลิเมอไรเซชันในวัฏภาคของแข็งเพื่อเปลี่ยน 2,5-ไดโบรโม-3,4-เอทีลีนไดออกซีไทโอฟีนเป็นพอลิ(3,4-เอทิลีนไดออกซีไทโอฟีน) ที่นำไฟฟ้าได้โดยการให้ความร้อนฟิล์มคอมพอสิตของพอลิบิวทาไดอีน/2,5-ไดโบรโม-3,4-เอทีลีนไดออกซีไทโอฟีนที่ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ชั่วโมง ฟิล์มคอมพอสิตของพอลิบิวทาไดอีน/พอลิ(3,4-เอทิลีนไดออกซีไทโอฟีน) ที่มีความต้านทานประมาณ 103 โอห์ม ถูกนำไปทดสอบการตอบสนองกับสารเคมีระเหยชนิดต่างๆ ผลการทดลองพบว่าค่าความต้านทานของฟิล์มคอมพอสิตพอลิบิวทาไดอีน/พอลิ(3,4-เอทิลีนไดออกซีไทโอฟีน) มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบขึ้นกับสภาพขั้วของสารเคมี เซ็นเซอร์ที่มีพอลิ(3,4-เอทิลีนไดออกซีไทโอฟีน) เป็นองค์ประกอบนี้ให้การตอบสนองที่ดีกับตัวทำละลายมีขั้ว เช่น เมทานอล เอทานอล และน้ำ นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาการใช้ซ้ำและความไวในการตอบสนองของเซ็นเซอร์ที่พัฒนาขึ้นอีกด้วย
Description: Thesis (M.Sc)--Chulalongkorn University, 2009
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Petrochemistry and Polymer Science
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57319
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1603
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1603
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Laongdao Menbangpung.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.