Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57360
Title: โครงการวิจัยนำร่องมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในผู้สูงอายุ : ผลของการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตร่วมกับการให้มะนาวผงกับขมิ้นชัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของการแสดงออกของยีน ภาวะเหนือพันธุกรรมของจีโนม ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ และอัตราการกลับเป็นซ้ำ : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Preliminary study of bladder cancer in the elderly : Effects of lifestyle modification combined with curcumin-lime powder treatment of changes of gene expression, epigenome, biomarkers and recurrence rate
Authors: ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์
จุลินทร์ โอภานุรักษ์
สุพจน์ รัชชานนท์
ชาญชัย บุญหล้า
อภิวัฒน์ มุทิรางกูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: กระเพาะปัสสาวะ -- ความผิดปกติ
กระเพาะปัสสาวะ -- โรค
กระเพาะปัสสาวะ -- มะเร็ง
กระเพาะปัสสาวะ -- มะเร็ง -- การเกิดโรคกลับ
ผู้สูงอายุ -- โรค
Bladder -- Abnormalities
Bladder -- Diseases
Bladder -- Cancer
Bladder -- Cancer -- Relapse
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: ภาวะเครียดจากออกซิเดชั่นและการเปลี่ยนแปลงแบบเหนือพันธุกรรมเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โดยผู้วิจัยตั้งสมมติฐานว่าระดับภาวะเครียดจากออกซิเดชั่นน่าจะสัมพันธ์กับการลดลงของระดับเมทิลเลชั่น ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสัมพันธ์กระหว่างระดับการเกิด LINE1 methylation กับระดับตัวบ่งชี้ภาวะเครียดจากออกซิเดชั่นในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะของเซลล์ในปัสสาวะ และศึกษาคุณค่าทางคลินิกในการวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะจำนวน 61 ราย และคนปกติจำนวน 45 ราย แล้ววัดระดับการเกิด methylation ทั้งหมด รวมทั้ง mCuC(partially methylated loci) และ mCuC(hypomethylated) ในเซลล์เม็ดเลือดขาว เซลล์ในปัสสาวะและเนื้อเยื่อมะเร็ง ด้วยวิธี combined bisulfate restriction analysis of LINE1 (COBRA LINE1) วัดระดับ TAS ในปัสสาวะ และระดับ protein carbonyl ในพลาสมา ด้วยวิธี DPPH และ DNPH assay ตามลำดับ ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีระดับ LINE1 methylation ของเซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์ในปัสสาวะต่ำกว่าคนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาการวัดระดับรูปแบบของการเกิด LINE1 methylation คือ uCuC พบว่าผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีระดับ uCuC ของเซลล์ในปัสสาวะสูงกว่ากลุ่มคนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาระดับตัวบ่งชี้ภาวะเครียดจากออกวิเดชั่นพบว่าผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีระดับ TAS ต่ำแต่มีระดับ protein carbonyl สูงกว่ากลุ่มคนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยระดับ LINE1 methylation ในเซลล์เม็ดเลือดขาวมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับ TAS ทั้งในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะและคนปกติและ ผลการวิเคราะห์ ROC analysis พบค่า uCuC ของเซลล์ในปัสสาวะให้ค่า AUC ที่สูงที่สุด เท่ากับ 0.848 (sensitivity = 80% และ specificity = 85%) นอกจากนี้เมื่อใช้การตรวจ uCuC ของเซลล์ในปัสสาวะและ protein carbonyl ในพลาสมาร่วมกันทำให้เพิ่มความไวและความจำเพาะของการตรวจขึ้นเพิ่มขึ้น (sensitivity = 96% and specificity = 96%) สรุป: ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีภาวะ hypomethylation ของเซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์ในปัสสาวะและมีภาวะเครียดจากออกซิเดชั่นสูงกว่าคนปกติ และยังพบว่าระดับ LINE1 methylation ที่ต่ำลงสัมพันธ์กับภาวะเครียดจากออกซิเดชั่นที่สูงขึ้นและการตรวจวัด uCuC ของเซลล์ในปัสสาวะ อาจใช้เป็นตัวบ่งชี้สำหรับโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้
Other Abstract: Purpose: Oxidative stress and genome wide hypomethylation are crucial events in carcinogenesis and may have cause and effect relationship. Here, we evaluated oxidative stress and hypomethylation of long interspersed nuclear element-1 (LINE-1 or L1) in bladder cancer (BCa) patients and normal individuals. Patients and Methods: Sixty-one BCa patients and 45 healthy individuals were recruited for the study. To measure methylation level and differentiate LINE-1 lociinto 3 classes, hypermethylated, partially methylated and hypomethylated, peripheral blood cells, urinary exfoliated cells and cancerous tissues were evaluated by combined bisulfate restriction analysis PCR. Urinary total antioxidant status (TAS) and plasma protein carbonyl, as oxidative stress markers, were determined by DPPH and DNPH methods, respectively. Results: LINE-1 methylation levels and patterns in blood and urine cells of BCa patients were different from healthy controls, and the percentage number of hypomethylated loci in urinary exfoliated cells showed the highest degree of differences (P<0.001). Urinary TAS was decreased, while plasma protein carbonyl was increased, in BCa patients compared to the controls. Interestingly, methylation of LINE-1 in blood-derived DNA was positively correlated with urinary TAS in both BCa (r=0.618, P<0.001) and control (r=0.469, P=0.001) groups. Based on ROC analysis, urinary hypomethylated LINE-1 loci and plasma protein carbonyl provided the best diagnostic potential with an area under curve of 0.848 and 0.819, respectively. Combination test improved the diagnostic power to sensitivity 96% and specificity 96%. Conclusion: LINE-1 methylation is inversely associated with enhanced oxidative stress both in normal and cancer subjects, implying the cause and effect relationship. The patients had higher LINE-1 hypomethylation levels and number of hypomethylated loci in both blood-and urine-derived cells, and oxidative stress than normal. LINE-1 methylation pattern in urinary exfoliated cells and systemic oxidative stress marker are promising biomarkers for future BCa screening and treatment monitoring.
Description: โครงการส่งเสริมการทำงานวิจัยเชิงลึกในสาขาวิชาที่มีศักยภาพสูง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57360
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyarat To_b19345690_st772.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.