Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57828
Title: | การติดตามและประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสนิปาห์ในค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง (รายงานการวิจัย โครงการวิจัยนำร่อง) |
Other Titles: | Monitoring and risk assessment of Nipah virus infection in Pteropus lylei |
Authors: | ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี พรพรรณ สุภวรรณวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Subjects: | ไวรัสนิปาห์ ค้างคาวแม่ไก่ -- การติดเชื้อ การติดเชื้อ Nipah virus Pteropus lylei -- Infections Infection |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ไวรัสนิปาห์มีค้างคาวแม่ไก่เป็นแหล่งรังโรคสำคัญ การพบเชื้อไวรัสในค้างคาวแม่ไก่ภาคกลางในประเทศไทย เป็นเครื่องชี้วัดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดจากไวรัสนิปาห์ ทั้งในคนและสัตว์โดยเฉพาะสุกร การตรวจหาเชื้อไวรัสนิปาห์จากเยี่ยวค้างคาวด้วยวิธี PCR เป็นการช่วยติดตามและประเมินความเสี่ยงของการแพร่เชื้อไวรัสจากค้างคาวสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอื่น ๆ พื้นที่ ๆ เลือกในการศึกษาครั้งนี้เป็นพื้นที่ ๆ มีรายงานการพบเชื้อนิปาห์จากเยี่ยวค้างคาวแม่ไก่ภาคกลางมาก่อน ในการศึกษานี้ใช้วิธีการเก็บเยี่ยวค้างคาวใต้ต้นไม้ในช่วงเวลาที่มีการรายงานการพบเชื้อ (เมษายน-พฤษภาคม) ผลการตรวจพบว่าทั้งสองพื้นที่มีการพบเชื้อไวรัสในเยี่ยวค้างคาวในจำนวนที่แตกต่างกันคือ ที่วัดหลวงพรหมาวาส จังหวัดชลบุรี พบเชื้อ 18 ใน 50 ตัวอย่าง (pooled Urine) ในขณะที่พบเชื้อ 4 ใน 50 ตัวอย่างที่วัดท่าซุง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเมื่อศึกษารหัสพันธุกรรมของไวรัสนิปาห์ที่พบ พบว่าไวรัสที่พบจากวัดหลวงพรหมาวาสมีความหลากหลายสูงกว่าวัดท่าซุงที่พบเพียง 1 แบบ ที่มีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก ในขณะที่วัดหลวงพบความหลากหลาย 4 แบบ จาก 18 ตัวอย่าง ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากจำนวนประชากรค้างคาวรวมของวัดหลวงที่มีมากกว่าวัดท่าซุงประมาณ 3 เท่า จากการเฝ้าติดตามการแพร่เชื้อไวรัสจากเยี่ยวค้างคาวแม่ไก่ภาคกลางที่พบการติดเชื้ออย่างต่อเนื่องนานกว่า 6 ปี เป็นเครื่องยืนยันว่าค้างคาวแม่ไก่ภาคกลางเป็นตัวอมโรคของไวรัสนิปาห์ และควรเฝ้าติดตามอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดสู่คน สัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์ |
Other Abstract: | Pteropus bat is a main reservoir for Nipah Virus. Nipah viral RNA was identified in urine of lylei bat roosting in central part of Thailand. This indicates risk of infection in both human and animal especially pig. Detection of viral RNA by PCR method (product size of 357 base pairs) from baturine specimen can be used as a tool for monitoring and assessment the risk of Nipah virus transmission from bat to human and other mammals. Two studied sites (Wat Luang, Chonburi province and Wat Thasung, Ayutaya province), where Nipah virus positive from bat’s urine had been reported, were selected in the study. Pooled bat urine specimens were collected under the bat roosting trees using plastic sheet. Eighteen of 50 specimens from Wat Luang were positive by nested PCR while only 4 of 50 specimens specimens from Wat Thasung were. Analysis of 357 base pair nucleotide sequences of Nipah virus revealed genetic diversity from specimens at Wat Luang (4 of 18 versus only one unique pattern of 4 at Wat Thasung). The finding of Nipah viral RNA in lylei bats for 6 onsecutive years since 2005 confirms that lylei bat is an important reservoir for Nipah virus transmission in Thailand. The surveillance for Nipah virus infection in bats is mandatory for prevention and control of the outbreak of this virus in both human and livestock health. |
Description: | โครงการส่งเสริมการทำงานวิจัยเชิงลึกในสาขาวิชาที่มีศักยภาพสูง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57828 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Med - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thiravat he_b1934627x.pdf | 2.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.