Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58059
Title: กลยุทธ์การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถสำหรับอุตสาหกรรมช่างผมไทย
Other Titles: STRATEGIC KNOWLEDGE MANAGEMENT TO ENHANCE CAPABILITIES FOR THAI HAIRDRESSER INDUSTRY
Authors: จิณณา สืบสายไทย
Advisors: อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร
บุณฑริกา บูลภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Ubonwan.H@Chula.ac.th,ubonwan.h@chula.ac.th
Buntarika.B@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพขีดความสามารถของอุตสาหกรรมช่างผมในประเทศไทยและต่างประเทศ 2. วิเคราะห์การจัดการความรู้ในการเสริมสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมช่างผมไทย และ 3. นำเสนอกลยุทธ์การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถสำหรับอุตสาหกรรมช่างผมไทย โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี ประกอบด้วย การศึกษาเอกสารและการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นช่างผม จำนวน 312 คน และผู้ประกอบการร้านทำผมขนาดใหญ่ จำนวน 30 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน รวมทั้งการสนทนากลุ่ม 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ดำเนินการ 8 คน และกลุ่มผู้สนับสนุน 9 คน รวม 17 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพขีดความสามารถของอุตสาหกรรมช่างผมไทย คือ 1.1 ช่างผม ค่าเฉลี่ยสภาพ ขีดความสามารถในด้านความรู้เรื่องระบบสารสนเทศ ทักษะ และทัศนคติ มีค่าเท่ากับ 3.50, 3.06 และ 3.70 ตามลำดับ และควรพัฒนา ขีดความสามารถเพิ่มเติมเมื่อเทียบกับต่างประเทศในด้านความปลอดภัย การใช้สารเคมี การบริหารจัดการเวลา ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดการข้อมูล และการมีใบประกอบวิชาชีพ 1.2 ผู้ประกอบการ ค่าเฉลี่ยสภาพขีดความสามารถในด้านความรู้เรื่องระบบสารสนเทศ ทักษะ และทัศนคติ มีค่าเท่ากับ 3.60, 4.00 และ 4.11 ตามลำดับ และควรพัฒนาขีดความสามารถเพิ่มเติมเมื่อเทียบกับต่างประเทศในด้านศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการและหน่วยงานตรวจสอบกิจการ 2. การจัดการความรู้ในการเสริมสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมช่างผมไทย มี 2 ส่วน คือ 2.1 ด้านโครงสร้าง ในการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 1) จัดตั้งองค์กรหลักในการจัดการเรียนรู้ 2) สนับสนุนองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) กำหนดบทบาทของภาครัฐ และ 4) ส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชน 2.2 ด้านการจัดการเรียนรู้ ให้ความสำคัญกับ 1) แหล่งเรียนรู้สู่สากล 2) ความรู้และทักษะการเรียนรู้สู่สากล 3) แนวทางการพัฒนาสู่สากล 4) การพัฒนาคุณวุฒิการศึกษา 5) การสร้างแบรนด์ 6) กฎหมายที่จำเป็น 7) การให้ความรู้ด้านกฎหมาย 8) การสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ 9) ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา และ 10) ทัศนคติ 3. กลยุทธ์การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถสำหรับอุตสาหกรรมช่างผมไทย มี 3 กลยุทธ์หลัก และ 9 กลยุทธ์ย่อย คือ 3.1 กลยุทธ์สร้างความเข้มแข็งในการจัดการความรู้ของบุคคลและหน่วยงานเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมช่างผมไทย ประกอบด้วย 1) การสร้างเครือข่ายช่างผม และผู้ประกอบการ เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้ 2) การสร้างความร่วมมือกับบริษัทหรือแบรนด์ระดับสากล เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการจัดการความรู้ของบุคคลและหน่วยงาน 3) การสร้างเครือข่ายองค์กรและสมาคมวิชาชีพช่างผมไทย 3.2 กลยุทธ์ปฏิรูปกระบวนการจัดการเรียนการสอนด้านสารสนเทศเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถเชิงความรู้ของอุตสาหกรรมช่างผมไทย ประกอบด้วย 1) การปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ 2) การสอนโดยการเน้นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหา 3) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นวิชาการบนฐานการสร้างนวัตกรรม 3.3 กลยุทธ์พัฒนาหลักสูตรที่มีมาตรฐานเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมช่างผมไทย ประกอบด้วย 1) การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรแกนกลางสำหรับการพัฒนาช่างผม และผู้ประกอบการที่มีมาตรฐานสากล 2) จัดทำหลักสูตรความเป็นผู้ประกอบการที่มีมาตรฐานสากล เฉพาะวิชาชีพช่างผม 3) การจัดศูนย์ฝึกอบรมตามหลักสูตรโดยจัดในสถาบันการศึกษา การอบรมโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในทุกภูมิภาค
Other Abstract: This study aimed to 1. study capability condition of Thai and international hairdressing industry, 2. analyze a knowledge management to enhance the capability of Thai hairdressing industry and 3. propose the knowledge management strategies to enhance the capability of Thai hairdressing industry. A mixed-method research used in this study, including the following: the document and the survey research, the population and the sample were 312 hairdressers and 30 large size entrepreneurs; in-depth interviews, the key informants were 10 agents from both public and private sectors; focus group discussion of 8 hairdresser’s operators and 9 contributors in total amount of 17 people. The study found that 1. The capability of Thai hairdressing industry namely: 1.1 hairdressers, the mean score of the capability condition in regarding to knowledge about information systems, skills and attitudes were 3.50, 3.06 and 3.70 respectively, and the safety, chemical used, time management, sustainable development, data management and professional certificate were also needed for the further when compare with international standard ; 2. entrepreneurs, the mean score of the capability condition in regarding to knowledge about information systems, skills and attitudes were 3.60, 4.00 and 4.11 respectively, and he entrepreneur capacity and service inspector organization were also needed for further development. 2. There was 2 categories of the knowledge management to enhance the capability of Thai hairdressing industry namely: 2.1 Knowledge management structure, as follows: 1. establishing main organization for learning management; 2. supporting other relevant organizations; 3. defining the role of the government sector; 4. promoting the role of the private sector; 2.2 learning management, focusing the following: 1. learning resources to go abroad; 2. knowledge and skills needed to go abroad, 3. development guideline to go abroad; 4. educational qualification development; 5. branding development; 6. requirement laws; 7. teaching of the requirement laws; 8. communication and human relation; 9. Thinking and problem-solving skills; and 10. hairdressing service attitudes. 3. The knowledge management strategies to enhance the capability of Thai hairdressing industry. There are 3 main strategies and 9 sub-main strategies namely: 3.1 The strategy to strengthen the knowledge management of the people and organization to enhance the capability of Thai hairdressing industry, including the following: 1. establishing hairdressers and entrepreneurs networking for learning and knowledge sharing center; 2. founding the collaboration with international companies or brands to strengthen the knowledge management of the personal and organization; 3. establishing the networking of hairdressing organization and association; 3.2 The strategy of teaching and learning process transformation, including the following: 1. revising and developing professional standard; 2. teaching focuses in the creativity and problem-solving skills; 3. teaching and learning that emphasize on innovation development; 3.3 The strategy of the development of international standard curriculum to enhance the capability of Thai hairdressing industry, including the following: 1. revising and developing the core curriculum for developing hairdressers and entrepreneurs with the international standard; 2. developing entrepreneurship curriculum that meet international standard, specifically for hairdressers; 3. establishing training center in institutions and in the Department of Skill Development (IDS) for all regions.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58059
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.677
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.677
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384482327.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.