Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58066
Title: การวัดดัชนีความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลของบริการป้องกันและควบคุมความดันโลหิตสูงระดับจังหวัด
Other Titles: MEASURING PROVINCE - LEVEL EFFECTIVE COVERAGE INDEX OF HYPERTENSION PREVENTION AND CONTROL SERVICES
Authors: กุลพิมน เจริญดี
Advisors: ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย
จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Piya.H@Chula.ac.th,piya@post.harvard.edu,piya.h@chula.ac.th
Jiruth.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางในครั้งนี้ เพื่อศึกษาการวัดดัชนีความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลของบริการป้องกันและควบคุมความดันโลหิตสูงและทำการวัดดัชนีดังกล่าวในระดับจังหวัดทั่วประเทศ (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอกและบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ปีงบประมาณ 2556 เกณฑ์การวัดดัชนีความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลของบริการป้องกันและควบคุมความดันโลหิตสูงในการศึกษานี้พัฒนาขึ้นด้วยวิธีเชิงระบบโดยใช้หลักฐานวิชาการร่วมกับความเห็นพ้องต้องกันของผู้เชี่ยวชาญ มีเกณฑ์และตัวชี้วัดประสิทธิผลที่ควรรวมอยู่ในองค์ประกอบประสิทธิผลทั้งหมด 7 ตัวชี้วัด และมี 5 ตัวชี้วัดที่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสามารถนำมาวัดได้ ข้อมูลบางส่วนได้สุ่มมาทดสอบคุณภาพในกลุ่มตัวอย่าง 1,560 ราย พบว่าข้อมูลส่วนใหญ่มีความครบถ้วนและบันทึกตรงกันกับข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากสถานบริการสุขภาพโดยตรงมากกว่าร้อยละ 80 รวมทั้งมีความสอดคล้องกันระดับปานกลางถึงดีมาก ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เคยได้รับการวินิจฉัยเป็นความดันโลหิตสูงมาก่อน (54.6%) ได้รับบริการคัดกรองความดันโลหิตสูงในปีดังกล่าว โดยในกลุ่มผู้ที่ได้รับการคัดกรองพบว่า ร้อยละ 65.1 มีระดับความดันโลหิตปกติ ร้อยละ 28.9 มีภาวะก่อนความดันโลหิตสูง และอีกร้อยละ 6.0 อยู่ในเกณฑ์สงสัยเป็นความดันโลหิตสูงในกลุ่มที่มีภาวะก่อนความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (82.6%) ส่วนในกลุ่มที่สงสัยเป็นความดันโลหิตสูงร้อยละ 38.0 ได้รับการติดตามเพื่อวินิจฉัยภายใน 2 เดือน และในกลุ่มที่ได้รับวินิจฉัยเป็นความดันโลหิตสูงรายใหม่และมารับการรักษาต่อเนื่องในระยะ 6 เดือนแรกมีประมาณครึ่งหนึ่งที่ควบคุมความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ อีกหนึ่งในห้าได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีน้อยกว่าร้อยละหนึ่งที่มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวลดลง ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลของบริการป้องกันและควบคุมความดันโลหิตสูงพบว่ามีความแตกต่างอย่างมากระดับจังหวัด ตั้งแต่ร้อยละ 6.9 ถึง ร้อยละ 80.5 โดยมีค่าเฉลี่ยดัชนีความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลระดับจังหวัดทั่วประเทศที่ร้อยละ 49.9 ทั้งนี้ หากแยกเป็นประชากรกลุ่มย่อยพบว่า ความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลของบริการในกลุ่มที่มีภาวะก่อนความดันโลหิตสูงเท่ากับร้อยละ 82.6 กลุ่มที่สงสัยเป็นความดันโลหิตสูงที่รวมถึงบริการวินิจฉัยและรักษาเท่ากับร้อยละ 34.5 นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อดัชนีความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลของบริการ พบว่ามีปัจจัยที่สำคัญทั้งจากฝั่งประชากรและฝั่งระบบบริการ โดยจังหวัดที่มีอัตราผู้รู้หนังสือสูง มีสัดส่วนประชากรที่อยู่ในเขตเทศบาลสูงจะมีค่าดัชนีความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลของบริการสูง ในขณะที่จังหวัดที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมาก และมีสัดส่วนประชากรต่อสถานบริการปฐมภูมิสูงจะมีค่าดัชนีความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลของบริการต่ำ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การวัดดัชนีความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลของบริการป้องกันและควบคุมความดันโลหิตสูงถือเป็นตัวอย่างของการวัดสมรรถนะของระบบบริการสุขภาพที่สามารถนำไปต่อยอดสำหรับบริการอื่น ๆ ได้โดยอาศัยข้อมูลรายงานของหน่วยบริการสุขภาพที่เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่ใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ สำหรับในกรณีของการวัดบริการคัดกรองความดันโลหิตสูงในการศึกษานี้ แม้ว่าจะยังมีข้อจำกัดเนื่องจากความเพียงพอและความถูกต้องของข้อมูล รวมถึงข้อจำกัดของเกณฑ์การวัดประสิทธิผล และการกำหนดประชากรเป้าหมายที่รวมกลุ่มที่มีอายุน้อยซึ่งมีระดับความชุกความความดันโลหิตสูงค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตามผลการศึกษาช่วยสะท้อนช่องว่างของบริการทางสาธารณสุขทั้งในด้านความครอบคลุมของการให้บริการคัดกรองความดันโลหิตสูงและการดูแลต่อเนื่องรวมถึงคุณภาพของบริการที่ต้องพัฒนาต่อไป
Other Abstract: This cross-sectional study aimed to measure the effective coverage of hypertension prevention and control services at the provincial level in Thailand. It employed secondary data derived from the outpatient service database for health promotion and disease prevention of the National Health Security Office (NHSO) in 2013. The criteria for effectiveness measurement were developed using systematic approach based on literature review and expert consultations. Seven indicators were chosen, five out of which were measurable based on existing data. The quality of the dataset was determined using a validity test of the data by comparing consistency between the data from the database and the data of 1,560 samples directly collected from primary health care providers in 4 provinces. There were few missing data and moderate to very high level of consistency between the two sources. The results revealed that among Thai population aged 15 and over in 76 provinces other than Bangkok, who were without previous diagnosis with HT, approximately half (54.6%) received HT screening in 2013. Among those screened, 28.9 percent are considered pre-hypertension and another 6.0 percent are suspected hypertension cases. Most of those with pre HT received cardiovascular disease (CVD) risk assessment (82.6%) Around 38 percent of the suspected HT cases received a follow-up for diagnosis within 2 months Around half of newly diagnosed HT cases who received treatment in the first 6 months got their blood pressure under control and another one - fifth received CVD risk assessment with less than one percent successfully reduced their CVD risk. There was a high variation in the effective coverage level of HT prevention and control services across province. The average provincial effective coverage was at 49.9 percent. For subpopulations, the effective coverage of services among pre-HT subgroup was at 82.6 percent while the effective coverage of services among suspected hypertension subgroup was at 34.5 percent. The analysis found that the level of effective coverage varies in relation to both the supply side and demand side factors. In general, provinces with higher urbanization and higher literacy rate have higher effective coverage index. On the contrary, provinces with higher elderly population and higher population density per primary care center have lower effective coverage index. From our findings, the measurement of effective coverage could serve as a tool for performance assessment for other healthcare services and interventions. Existing datasets from routine administrative information systems that cover majority of the population can be used for the analysis. For HT screening service, additional benefit of effective coverage measurement is relatively limited due to the nature of data availability and quality, the limitation of current effectiveness measurement criteria, as well as the nature of the study population that includes younger age group with low prevalence of HT. Nevertheless, our finding revealed that there are still gaps in the coverage and quality of hypertension screening and control services with need further improvement.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58066
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.231
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.231
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5474904330.pdf5.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.