Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58180
Title: ภูมิเศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยข้อริเริ่มเส้นทางสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21
Other Titles: The Geo-Political Economy on Silk Road Economic Belt and The 21st Century Maritime Silk Road
Authors: กรัญย์ สุขมาก
Advisors: ธานี ชัยวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Thanee.C@Chula.ac.th,Thanee.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้เศรษฐกิจจีนทำการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อรักษาระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน แต่อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจโลกไม่ได้ฟื้นตัวได้เท่าที่ควร ทำให้เศรษฐกิจจีนที่พึ่งพาเศรษฐกิจจากภายนอกอย่างมาก ประกอบกับข้อได้เปรียบของจีนไม่ได้เปรียบอีกต่อไปในสภาวะเช่นนี้ ก่อให้เกิดการชะลอตัว กระทั่งเผชิญกับปัญหาผลผลิตล้นเกินซึ่งนำไปสู่ด้านสภาพคล่องของกิจการ และปัญหาหนี้สินในภาพรวมของระบบเศรษฐกิจและโดยเฉพาะกิจการที่มีรัฐเป็นเจ้าของในที่สุด ปัญหาต่างๆเหล่านี้นำไปสู่การแสวงหาแนวทางและมาตรการของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว ข้อริเริ่มเส้นทางสายไหมถูกดำริขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจจีน และช่วยกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลกไปพร้อมๆกัน โดยสร้างการเชื่อมโยงระหว่างกันผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งนำไปสู่การสร้างความร่วมมือระหว่างกันในหลายๆด้านบนพื้นฐานของการแสวงหาประโยชน์ร่วมกัน นอกจากระบบเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงภายใต้ข้อริเริ่มเส้นทางสายไหม ยังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านภูมิรัฐศาสตร์และภูมิยุทธศาสตร์อย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึง การเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้านทางภูมิทัศน์ทาง “ภูมิเศรษฐศาสตร์การเมืองในระดับโลก” โดยจีนและนานาประเทศต่างมีบทบาทร่วมกันในการพัฒนาที่ยั่งยืน
Other Abstract: After Sub-prime economic crisis, Chinese economy had got a stimulus package to keep pacing its growth. However, global economy is not recovering as appropriate makes Chinese economy, heavily depends on global economy and its advantage is no longer effective, grow slower than expected. These problems are conducive to seek out solution to fix any problems in short and long term. “One Belt, One Road” is initiated for supporting restructuring reform and simultaneously stimulating Chinese Economy and global economy by interconnection and cooperation through Infrastructure on mutual interest basis. Furthermore, Chinese and global economy is tend to change dramatically and thoroughly under “One Belt, One Road”. It is meaningfully leading to Geo-political and Geo-strategic shift that wholly reflect a change of “Geo-Political Economy” landscape that every countries play a role together for further sustainable development.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์การเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58180
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.118
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.118
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5685251129.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.