Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58310
Title: ผลกระทบของคุณลักษณะของจุดจอดแล้วจรต่อพื้นที่อิทธิพลของจุดจอดแล้วจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: Effects of Characteristics of Park and Ride Facilities on Park and Ride Catchment Area In Bangkok Metropolitan Area
Authors: จักรพงค์ หาญสงคราม
Advisors: ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Saksith.C@chula.ac.th,saksith.c@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดจอดแล้วจร (Park and Ride) เป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบขนส่งมวลชนที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงสถานีขนส่งมวลชนและช่วยให้ผู้ใช้รถยนต์เปลี่ยนรูปแบบการเดินทางได้ ทำให้สามารถลดระยะทางการใช้รถยนต์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงปัจจัยทางด้านคุณลักษณะของจุดจอดแล้วจรที่จะส่งผลต่อพื้นที่อิทธิพล (Catchment Area) ของจุดจอดแล้วจร โดยได้ทำการศึกษาการเดินทางของผู้ใช้จุดจอดแล้วจรทั้งหมด 19 แห่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใช้ค่าเปอร์เซนไทล์ที่ 85 ของระยะทางจากบ้านถึงจุดจอดแล้วจรของกลุ่มตัวอย่างของแต่ละสถานีแทนระยะรัศมีของพื้นที่อิทธิพลจุดจอดแล้วจร โดยจากการวิเคราะห์ความถดถอยพหุ ซึ่งพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อพื้นที่อิทธิพล ได้แก่ ความจุของจุดจอดแล้วจร ราคาที่จอดรถ สิ่งอำนวยความสะดวกของจุดจอดแล้วจร ระยะห่างระหว่างสถานีของระบบขนส่งมวลชน และระยะเวลาในการเดินทางจากจุดจอดแล้วจรถึงเขตศูนย์กลางธุรกิจ ลักษณะของพื้นที่อิทธิพลจะวางตัวเป็นแนวไปตามเส้นทางของระบบขนส่งมวลชน เมื่อทำการตรวจสอบความแม่นยำของแบบจำลองโดยนำไปทดสอบกับพื้นที่อิทธิพลจริงของจุดจอดแล้วจรสถานีกรุงธนบุรีพบว่าค่าที่ได้น้อยกว่าความเป็นจริง 5.26 กิโลเมตร มีความคลาดเคลื่อนร้อยละ 29.65 และนำไปทำนายพื้นที่อิทธิพลของจุดจอดแล้วจรอีก 3 แห่งที่จะให้บริการในอนาคต ได้แก่ อาคารจอดแล้วจรสถานีหลักสอง อาคารจอดรถสถานีกลางบางซื่อ และจุดจอดแล้วจรสถานีสำโรง ซึ่งได้ค่ารัศมีของพื้นที่อิทธิพล 38.46 กิโลเมตร 22.43 กิโลเมตร และ 26.31 กิโลเมตร ตามลำดับ จากการศึกษางานวิจัยนี้สามารถนำไปพิจารณาในการเลือกที่ตั้งและองค์ประกอบของจุดจอดแล้วจร และประยุกต์ใช้ในการคาดการณ์ปริมาณผู้ใช้จุดจอดแล้วจรต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนจุดจอดแล้วจรที่นำมาวิเคราะห์ยังมีจำนวนน้อยและมีช่วงข้อมูลตัวอย่างของตัวแปรที่แคบ ทำให้ไม่สามารถใช้แบบจำลองดังกล่าวกับส่วนต่อขยายได้ในบางเส้นทาง งานวิจัยต่อไปในอนาคตสามารถเพิ่มจำนวนตัวอย่างเพื่อเพิ่มความถูกต้องและเพิ่มขอบเขตการใช้แบบจำลองให้มากขึ้นได้
Other Abstract: Park and Ride is an important component of transit systems that can improve access to transit stations and support mode shift, thus reducing car travel. The objective of this study is to understand how characteristics of park and ride facilities affect park and ride catchment area. Users of nineteen park and ride facilities of rail transit lines in Bangkok Metropolitan area were surveyed. The catchment area of each park and ride facility is defined as the sample’s 85th percentile of access distance from the user’s home origin to the facility. The multiple regression method was used to analyze the effects of characteristics of park and ride on the radius of the facility’s catchment area. Results show that characteristics with significant effects include capacity, parking fee, building type, distance adjacent stations and driving time to CBD. To test the model’s performance, we used the model to predict the catchment area of Krungthonburi park and ride facility, which was not included in our sample. The catchment radius was underestimated by 5.26 kilometer or 29.65%, compared to the survey results from a previous study. The model was also used to predict the catchment radii of three park and ride facilities in Bangkok, including Laksong, Bangsue and Samrong, and the results are 38.46, 22.43 and 26.31 kilometers, respectively. The results from this study can be used to support decisions to locate the site of future park and ride facilities, and predict the required capacity. However, the main limitation of the proposed model is due to the small sample size and the limited range of explanatory variables, which means that it cannot be applied with certain future park and ride with characteristics that are not within the relevant range.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58310
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.917
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.917
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5870123121.pdf10.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.