Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58471
Title: | กรรมวิธีการสร้างซอด้วงของช่างมาโนช ผุดผ่อง |
Other Titles: | METHODS OF MAKING SAW-DUANG BY MASTER MANOCH PUDPONG |
Authors: | ธีรพงค์ คำโปร่ง |
Advisors: | พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pornprapit.P@Chula.ac.th,rosita_rosalina@hotmail.com |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยเรื่อง กรรมวิธีการสร้างซอด้วงของช่างมาโนช ผุดผ่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการสร้างซอด้วงของช่างมาโนช ผุดผ่อง ศึกษากรรมวิธีการสร้างซอด้วงและปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงซอด้วง โดยใช้วิธีในการเก็บข้อมูลลงศึกษาภาคสนามในฐานะลูกมือช่างเป็นเวลา 6 เดือน ผลการศึกษาพบว่าช่างมาโนช ผุดผ่องได้เริ่มศึกษาการสร้างซอด้วงใจรักดนตรีไทยแต่ไม่มีโอกาสได้เรียน จึงเป็นแรงผลักดันให้ช่างมาโนชค้นคว้าศึกษาด้วยตนเองจนประสบความสำเร็จในการสร้างซอด้วงเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ สถาบันการศึกษาหลายแห่งให้ความสนใจที่จะมาศึกษาดูงานการสร้างซอ พันธุ์ไม้ที่ใช้ทำซอด้วงของช่างมาโนช ผุดผ่อง มีทั้งหมด 5 ชนิด คือ ไม้มะเกลือ ไม้ชิงชัน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้แก้ว และไม้ดำดง การสร้างซอด้วงมีวัสดุและอุปกรณ์ทั้งหมด 45 ชนิด มีกรรมวิธีการสร้างทั้งหมด 8 ขั้นตอนคือ การเตรียมกระบอกซอด้วง การขึ้นหนังซอด้วง การกลึงคันทวนซอด้วง การกลึงลูกบิด การขึ้นหางม้า การกลึงคันชักซอด้วง การประกอบซอด้วง การแต่งเสียงซอด้วง ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงซอด้วงของช่างมาโนช ผุดผ่อง มี 5 ขั้นคือ 1. การกลึงกระบอกซอด้วงจะต้องใช้บุ้งตะไบด้านในให้ผิวไม่เรียบ 2.การใช้หนังงูที่มีขนาดตัวยาว 4 เมตรขึ้นไปและจะใช้เฉพาะช่วงหลังเท่านั้น 3. การขึ้นหางม้าจะให้หางม้ามีลักษณะแบนไม่กลม 4.การคัดเลือกหางม้า ช่างมาโนช ผุดผ่อง ช่างใช้หางม้าที่นำเข้าจากประเทศมองโกเลีย คุณสมบัติของหางม้านั้นมีเส้นขนที่หนากว่าม้าประเทศไทย 5.หย่อง มีขนาด 1 เซนติเมตร ช่างใช้ไม้ไผ่ที่ทำตะเกียบที่ผ่านการอมน้ำมันแล้วเพราะคุณสมบัติของไม้ไผ่ที่อมน้ำมันนั้น ช่วยให้เสียงซอมีความดังกังวาน |
Other Abstract: | This research is entitled Methods of making Saw-Duang by Master Manoch Pudpong, The purposes of the research is to study the history of Mr. Manoch Pudpong, making process a Saw-Duang, and the factors that affect the quality of the sound of a Saw-Duang. By to be a craftsman assistant for 6 months to collect practical information. The research result findings that show Mr. Manoch Pudpong started making a Saw-Duang by himself because of his passion; but he did not have an opportunity to study. So it was a motivation to push him to be achieved in the Saw-Duang making. He is now a Saw-Duang maker well known around the country. Many educational institutions take an interest to study about the Saw-Duang making. There are 5 kinds of wood for making the Saw-Duang of Mr. Manoch Pudpong. They are Diospyros wood, Rosewood, Burma Blackwood, Orange Jessamine, and Diospyros pubicalyx wood. There are 40 kinds of equipment, and 7 procedures including a preparing of the tube-shaped, making the open portion from leather, a bow turning, a knob turning, hair making, assembling parts of the Saw-Duang, and a sound tuning. There are 5 steps of the factors which affect the sound quality Mr. Manoch Pudpong’s Saw-Duang. 1) to use a rasp to rub the inner surface of the sound box, a using snakeskin which is 4 meters, 2) use only the back skin 3) use of horsetail hair which is not round-shape. 4) A choosing horsetail hair, Mr. Manoch Pudpong uses imported horsetail hair from Mongolia which are thicker than horsetail hair in Thailand. 5) Each anchor is long 1 centimeter. A craftsman uses bamboo which is soaked in oil because it helps the sound of a Saw to be resonance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดุริยางค์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58471 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.844 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.844 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5886738935.pdf | 19.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.