Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58524
Title: การศึกษาปัญหาความล้าเนื่องจากการบิดในสะพานเหล็ก : รายงานการวิจัย
Other Titles: Study on distortion-induced fatigue problem in steel bridges
Authors: อัครวัชร เล่นวารี
Email: Akhrawat.L@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: สะพานเหล็ก -- ความล้า
โครงสร้างเหล็ก -- ความล้า
โครงสร้างเหล็กกล้า -- ความล้า
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการวิจัยนี้ศึกษาอายุความล้าและพฤติกรรมการบิดของสะพานเหล็ก โดยการศึกษาประกอบด้วยการสำรวจข้อมูลรถบรรทุกหนักประเภทต่าง ๆ และข้อมูลทางโครงสร้างของสะพานเหล็กในประเทศไทย และการวิเคราะห์สะพานตัวแทนเพื่อทราบผลกระทบของตัวแปรสะพานและประเภทรถบรรทุกต่ออายุความล้า จากการสำรวจพบว่า สะพานที่ไม่ใช่สะพานรถไฟส่วนมาก (ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์) อยู่ในการดูแลของสำนักการโยธากรุงเทพมหานคร โดยมีอายุเฉลี่ยระหว่าง 16-20 ปี และมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นประเภทคานแผ่นเหล็กประกอบ (Plate girder) ในการวิเคราะห์ได้เลือกสะพานคานเหล็กรูปตัวไอเชิงประกอบ (Composite I-girder bridge) โดยสะพานมี 2 ช่องจราจร และปริมาณรถบรรทุกหนักเฉลี่ย 880 คันต่อวันต่อทิศทาง ในการวิเคราะห์ได้พิจารณารถบรรทุกประเภทต่าง ๆ ประกอบด้วย รถบรรทุกมาตรฐานของ AASHTO, รถบัส, รถบรรทุก 6 ล้อ, รถบรรทุก 10 ล้อ, รถบรรทุกกึ่งพ่วง และรถบรรทุกพ่วง ซึ่งมีน้ำหนักรวมเท่ากับ 24.5, 14, 12, 21, 37.4 และ 37.4 ตัน ตามลำดับ จากการวิเคราะห์พบว่า รถบรรทุกพ่วงมีผลต่ออายุความล้าของสะพานมากที่สุด รองมาคือ รถบรรทุกกึ่งพ่วง, รถบรรทุก 10 ล้อ, รถบัส, รถบรรทุก 6 ล้อ และรถบรรทุก AASHTO ตามลำดับ ในกรณีที่น้ำหนักรถบรรทุกเท่ากันที่ 24.8 ตัน พบว่า รถบรรทุก 6 ล้อมีผลต่ออายุสะพานมากที่สุด รองมาคือ รถบรรทุก 10 ล้อ, รถบัสโดยสาร, รถบรรทุกกึ่งพ่วง รถพ่วงและรถบรรทุก AASHTO ตามลำดับ โดยคานที่วิกฤติที่สุดคือคานตัวนอกทั้งในกรณีรถบน 1 และ 2 ช่องจราจร นอกจากนั้นพบว่า ไดอะแฟรมและโครงเฟรมขวางเพิ่มอายุความล้าได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องไดอะแฟรมและโครงเฟรมขวางช่วยให้การกระจายน้ำหนักทางขวางจากแผ่นพื้นลงบนคานดีขึ้นและลดหน่วยแรงเนื่องจากการบิด
Other Abstract: This research project investigates the fatigue life and distortional behavior of steel bridges. The study includes the survey on configurations of heavy trucks and structural data of steel bridges in Thailand and the analysis of the effects of bridge parameters and truck types on fatigue life. They survey results indicate that most non-railway bridges (about 80 percent) belong to the Bangkok Metropolitan Administration (BMA). Most bridges are 16-20 years old and their structure is plate girder type. In the analysis, the composite I-girder bridge is chosen. The bridge has two lanes and the average daily truck traffic volume is 880 trucks per day per direction. The truck types in the analysis include the standard AASHTO truck, bus, six-wheel truck, ten-wheel truck, semitrailer, and trailer. Their total weights are 24.5, 14, 12, 21, 31.4, and 37.4 tons, respectively. The analysis results indicate that the trailer has the most effect on the fatigue life followed by semi-trailer, 10-wheel truck, AASHTO truck, bus and 6-wheel truck, respectively. In case of the same weight, the 6-wheel truck has the most effect followed by 10-wheel truck, bus, semi-trailer, trailer and AASHTO truck, respectively. The critical girder is the exterior girder for both one truck and two truck loading cases. In addition, the diaphragms and cross frames increase the fatigue life by approximately 20 percent because they improve the lateral load distribution from the slab to girders and reduce the distortion-induced stresses.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58524
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Akhrawat Le_b19458885.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.