Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58561
Title: ฤทธิ์ของสารไฟโตเอสโตรเจนจากถั่วเหลืองในการเพิ่มระบบตัวบ่งชี้เชื้อโรคและการป้องกันการหลวมตัวของเซลล์เพาะเลี้ยงเยื่อบุมดลูกของสุกรในภาวะปกติหรือที่ได้รับสารพิษจากแบคทีเรีย : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Authors: สุทธาสินี ปุญญโชติ
ฉัตรศรี เดชะปัญญา
Email: Sutthasinee.P@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: ไฟโตเอสโตรเจน
แบคทีเรียก่อโรค
โรคเกิดจากแบคทีเรีย
สุกร -- การติดเชื้อ
Phytoestrogens
Pathogenic bacteria
Bacterial diseases
Swine -- Infections
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เซลล์เยื่อบุมดลูกเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิดที่ทำหน้าที่ต่อต้านการบุกรุกของเชื้อโรคผ่านทางการแสดงออกของตัวรับรู้เชื้อโรคที่เรียกว่าตัวรับโทไลค์ ตัวรับนี้มีความจำเพาะต่อการจับกับโมเลกุลของสิ่งแปลกปลอมที่สร้างมาจากเชื้อโรคซึ่งส่งผลกระตุ้นกระบวนการอักเสบและการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เซลล์ของระบบทางเดินสืบพันธุ์มีการแสดงออกของตัวรับชนิดนี้ซึ่งถูกควบคุมโดยฮอร์โมนเพศ การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแสดงออกตัวรับโทไลค์ชนิดต่างๆ ในเซลล์เยื่อบุมดลูกเพาะเลี้ยงชนิดไม่ตายของหมู ตลอดจนผลของสารไฟโตเอสโตรเจนจากพืชที่ใช้เป็นทดแทนฮอร์โมนเพศเมียต่อการแสดงออกของยีนและโปรตีนของตัวรับโทไลค์ ของเซลล์เยื่อบุมดลูกด้วยวิธี Real-time PCR และ Western blot analysis ทำการทดลองโดยใช้เซลล์เพาะเลี้ยงเยื่อบุผิวของเยื่อบุโพรงมดลูกสุกรชนิดไม่ตายที่เจริญเติบโตในน้ำยาเพาะเลี้ยงที่ปราศจากฮอร์โมนเอสโตรเจน พบว่าในเซลล์เพาะเลี้ยงชนิดนี้มีการแสดงออกของยีนที่ควบคุมตัวรับโทไลค์ชนิดที่1 2 4 5 และ 10 ที่ปริมาณน้อย ในขณะที่พบการแสดงออกของตัวรับโทไลค์ชนิดที่ 3 6 7 8 และ 9 มีปริมาณสูงเมื่อเปรียบเทียบกับยีน GAPDH ที่ใช้เป็นตัวควบคุมซึ่งไม่มีผลตอบสนองต่อสารไฟโตเอสโตรเจน โดยพบว่าเซลล์ที่ได้รับสารเจนิสทีอีน 10-10 หรือ 10-6 โมลลาร์มีการแสดงออกของยีนตัวรับโทไลค์ชนิดที่5 หรือ 7 เพิ่มขึ้น 2-10 เท่า ในขณะที่ไดอะดิซีน 10-6 โมลลาร์จะเพิ่มการแสดงออกของยีนตัวรับโทไลค์ชนิดที่3 และ 5 และไดอะดิซีนที่ความเข้มข้น10-8 โมลลาร์มีผลเพิ่มการแสดงออกของยีนตัวรับโทไลค์ชนิดที่5 เท่านั้น อย่างไรก็ตามผลของไฟโตเอสโตรเจนต่อการแสดงออกของตัวรับโทไลค์โปรตีนไม่ได้มีความสอดคล้องกับการแสดงออกของยีน โดยกลับพบว่าการแสดงออกของโปรตีนตัวรับโทไลค์ชนิดที่3, 6, 7, 8 และ 9 ลดลง แต่การได้รับเจนิสทิอีนมีผลในการเพิ่มการแสดงออกของโปรตีนของตัวรับโทไลค์ชนิดที่2 และไดอะดิซีนมีเพิ่มการแสดงออกของโปรตีนของตัวรับโทไลค์ชนิดที่1 , 4 และ 5 (p<0.05 ) สำหรับในการศึกษาผลของเจนิสทิอีน และไดอะดิซีนต่อการเปลี่ยนแปลงระบบภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิดในความสามารถป้องกันการสูญเสียของค่าความต้านทานของเนื้อเยื่อภายหลังได้รับสารไลโพโพลีแซคคาไรด์ที่ทำการตรวจสอบโดยเครื่องมือวัดความต่างศักย์ในเซลล์เพาะเลี้ยงในถาดเพาะเลี้ยงที่มีตัวกรองให้สารผ่านได้ พบว่าการได้รับเจนิสทิอีน และไดอะดิซีนที่ความเข้มข้นต่ำ (10-10 โมลลาร์) ทำให้ค่าความต้านทานของเนื้อเยื่อลดลง ในขณะที่การได้รับสารทั้งสองในความเข้มข้นที่สูงขึ้นทำให้ค่าความต้านทานของเนื้อเยื่อมีค่าสูงขึ้นมากกว่าเซลล์ที่เลี้ยงตามปกติ นอกจากนี้พบว่าสารพิษไลโพโพลีแซคคาไรด์จากแบคทีเรียชนิด O111 : B4 Escherichia coli ขนาด 1 ไมโครกรัมต่อมิลลิตร มีผลลดค่าความต้านทานของเนื้อเยื่อลดลงอย่างมากภายหลังจากให้มาเป็นเวลา 48 ชั่วโมง และการได้รับเจนิสทิอีน และไดอะดิซีน ที่ทุกระดับความเข้มข้นก่อนที่จะได้รับสารไลโพโพลีแซคคาไรด์สามารถป้องกันการลดลงค่าความต้านทานของเนื้อเยื่อที่เกิดสารไลโพโพลีแซคคาไรด์ได้ นอกจากนี้การแสดงออกของยีนที่ควบคุมตัวรับโทไลค์ได้ถูกตรวจสอบ เพื่อให้ศึกษาผลกระทบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองภูมิคุ้มกันที่จะตามมาหลังจากได้รับสารไลโพโพลีแซคคาไรด์ พบว่าการได้รับสารไลโพโพลีแซคคาไรด์เป็นเวลา 48 ชั่วโมงทำให้ที่การแสดงออกของยีนของตัวรับโทไลค์ชนิดที่1 และ 2 เพิ่มขึ้น ในขณะที่มีการแสดงออกยีนตัวรับโทไลค์ชนิดที่3 , 6, 7, 8 และ 9 ลดลง โดยไม่พบว่าผลดังกล่าวนี้ถูกส่งเสริมได้ด้วยฤทธิ์ของไฟโตเอสโตรเจน แต่กลับพบว่าผลต่อตัวรับโทไลค์ชนิดที่1 และ 2 จากสารไลโพโพลีแซคคาไรด์ไม่เกิดขึ้นหลังจากได้รับเจนิสทิอีน หรือไดอะดิซีน อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงระดับของตัวรับโทไลค์ดังกล่าว และผลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไซโตไคน์นั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดจึงจำเป็นที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป แต่อย่างไรก็ตามผลจากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบถึงประโยชน์ของสารไฟโตเอสโตรเจนที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของเยื่อเมือก และยังสามารถปกป้องผลเสียหายที่เกิดจากการทำงานของสารพิษจากแบคทีเรีย ซึงผลดังกล่าวจะมีประโยชน์สำหรับการที่จะนำสารไฟโตเอสโตรเจนมาใช้เพื่อการรักษาความผิดปกติที่เกิดจากการติดเชื้อในเยื่อบุของระบบสืบพันธุ์ได้เป็นอย่างดี
Other Abstract: Mucosal epithelial cells lining female reproductive tract (FRT) periodically expose to potential pathogenic organisms. It serves as a component of innate immunity response to invading pathogen through toll-like receptors (TLRs). Sex steroid hormones or phytoestrogens play role in the regulation of many functions including of FRT innate immunity. To date, the expression of TLRs family in endometrium has not yet been well characterized. Therefore, the aim of the present study was to identify the TLRs mRNA expression in the porcine endometrial epithelial cells and to examine the effect of phytoestrogens on the regulation of TLRs gene and protein expression by reverse transcriptase-polymerase chain reaction (RT-PCR) and Western blot analysis. The experiments were performed using immortalized porcine endometrial epithelial cells grown in estrogen-free media in the absence or presence of phytoestrogens genistein or daidzein for 2 days. RT-PCR experiments demonstrated that TLR1, 2, 4, 5 and 10 are less express than the GAPDH gene, while the expression of TLR 3, 6, 7, 8 and 9 is higher. Pretreatment with genistein 10-10 M or 10-6 M significantly increased TLR 5 or 7 mRNA expression by 2-10 folds. In addition, daidzein 10-6 M increased TLR 3 and 5 while lower concentration daidzein 10-8 M increased only TLR 5 mRNA expression. The TLR protein expression affected by phytoestrogens however, was not correlated to the gene expression. Expression of TLR3, 6, 7, 8 and 9 proteins was decreased in phytoestrogen treatment. All genistein treatment increased only TLR2 while daidzein treatment had an increase effect on expression of TLR1, 4 and 5 (P<0.05). Whether the modulatory effects of genistein and daidzein could prevent the loss of transepithelial resistance (TER) on was examined using the Volt-Ohm meter measurement in IMM cells grown on insert filters. Low concentration of genistein and daidzein (0.1) treatment revealed the decrease of TER while the higher concentration increased TER. O111:B4 Escherichia coli Lipopolysaccharides (LPS; 1 μg/ml) inoculation dramatically decreased TER of IMM cells after 48h incubation. All pre-treatment with genistein or daizein 48h prior to LPS inoculation restored the loss of TER by this endotoxin. In addition, the mRNA expression of TLRs was also examined in order to provide the other relevant effect of phytoestrogen on innate immunity response to LPS. It revealed the up-regulation of TLR1 and 2 or the down-regulation of TLR3, 6, 7, 8 and 9 mRNA expression after 48h inoculation with LPS. The synergistic effect of phytoestrogen on the modulatory effect of LPS on TLR mRNA expression was not found. Conversely, all genistein or daidzein reversed LPS effect on TLR1 and 2mRNA expressions. However, the functional relevance between TLRs mRNA expression and their functions associated with cytokine production are required for further study. The present results indicate that phytoestrogen compounds in soy can alter the innate immunity system against pathogens in harmful of the mucosal epithelial cells. These effects may benefit for therapeutic application of genistein or daidzein in the mucosal immunity.
Description: เนื้อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ ; บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58561
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutthasinee Po_b19739278.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.