Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58679
Title: วรรณกรรมเด็กของเยอรมันกับของไทยช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 : การศึกษาเปรียบเทียบ
Other Titles: German and Thai children's literature in the 1980's and the 1990's : a comparative study
Authors: ศิริพร ศรีวรกานต์
Advisors: อนงค์นาฏ เถกิงวิทย์
อำภา โอตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: วรรณกรรมสำหรับเด็ก -- ไทย
วรรณกรรมสำหรับเด็ก -- เยอรมัน
วรรณคดีเปรียบเทียบ -- เยอรมันกับไทย
วรรณคดีเปรียบเทียบ -- ไทยกับเยอรมัน
Children's literature -- Thailand
Children's literature -- German
Literature, Comparative -- German and Thai
Literature, Comparative -- Thai and German
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเด็กของเยอรมันกับของไทยช่วงทศวรรษ 1980 และ1990 โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ ศึกษาลักษณะของวรรณกรรมเด็กของทั้งสองวัฒนธรรม และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ในวรรณกรรมเด็กของทั้งสองวัฒนธรรม จากการศึกษาวรรณกรรมเด็กของเยอรมันกับของไทยพบว่าวรรณกรรมเด็กของทั้งสองสังคมมีลักษณะของวรรณกรรมเด็กแตกต่างกัน วรรณกรรมเด็กของเยอรมันเน้นการนำเสนอชีวิตเด็กตามที่เป็นจริงและเจาะลึกสู่โลกในจิตใจของเด็กทำให้สามารถเปิดกว้างให้กับหัวข้อที่หลากหลายและใช้วิธีการเล่าเรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้นเป็นผลให้วรรณกรรมเด็กของเยอรมันใกล้เคียงกับวรรณกรรมผู้ใหญ่ ส่วนวรรณกรรมเด็กของไทยเน้นการสั่งสอนส่งผลให้การนำเสนอภาพของเด็กเป็นภาพเด็กที่เป็นแบบอย่างให้กับผู้อ่านที่เป็นเด็ก ขณะเดียวกันใช้การผูกเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายและไม่มีการใช้หัวข้อหรือวิธีการเล่าเรื่องที่หลากหลายและซับซ้อน นอกจากลักษณะของวรรณกรรมเด็กที่แตกต่างกันแล้ว ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ที่ปรากฏในวรรณกรรมเด็กแตกต่างกันด้วย ภาพของเด็กที่ปรากฏในวรรณกรรมเด็กของเยอรมันเป็น”ผู้ที่มีสิทธิ์มีเสียง”เช่นผู้ใหญ่ เห็นได้จากการที่ผู้ใหญ่ส่งเสริมให้เด็กมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นหรือรู้จักวิพากษ์วิจารณ์และมีความเป็นตัวของตัวเอง ส่วนภาพของเด็กที่ปรากฏในวรรณกรรมเด็กของไทยเป็น”ผู้น้อย เห็นได้จากการผูกเรื่องให้เด็กมีบทบาทในฐานะที่มีหน้าที่เชื่อฟังและทำตามผู้ใหญ่ แม้ว่าลักษณะของวรรณกรรมเด็กและภาพของเด็กในวรรณกรรมเด็กของทั้งสองชาติแตกต่างกันอันเป็นผลมาจากความแตกต่างด้านบริบททางสังคมและวัฒนธรรม แต่วรรณกรรมเด็กของทั้งสองประเทศมีจุดร่วมกันประการหนึ่ง คือ วรรณกรรมเด็กคือผลิตผลทางความคิดของผู้ใหญ่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง สิ่งที่ปรากฏในวรรณกรรมเด็กคือสิ่งที่ผู้ใหญ่ปรารถนา
Other Abstract: This research is a comparative analysis of German and Thai children’s literature in the 1980’s and 1990’s. It has two objectives: one is to study the characteristics of the children’s literature and the other is to study the relationship between children and adults in the children’s literature in the two cultures. According to the study, the characteristics of German and Thai children’s literature is different. German children’s literature focuses on the portrayal of child characters as they truly are and as such, it may be seen as portrayal of their internal lives. As a result, German children’s literature presents a variety of themes and employs complex narrative techniques. Thus, German children’s literature becomes more similar to adult literature. On the contrary, Thai children’s literature focuses on didactic purposes. Portraying child characters as models for young readers and stories of Thai children’s literature are simple and easy to understand. As a result, the emphasis is on the simplicity of themes and narrative techniques presentation. In addition, the relationship between children and adults in German and Thai children’s literature is different. Child characters in German children’s literature are “people with the same rights as adults”. Children are portrayed as individuals who can express their opinions freely or make their own decisions. They can stand up for their rights and can be independent. By contrast, child-characters in Thai children‘s literature are portrayed as “subordinate.” This can be seen from the way child characters are presented as paying respect to adults and obeying adults’orders. Nevertheless, while, the characteristics of children’s literature and the portrayal of child characters in children’s literature of the two cultures are distinct, they share a common aim: to represent adults’ perception and desire as appropriate cultural values to be inculcated into children.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58679
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1261
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1261
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siriporn_sr_front.pdf303.77 kBAdobe PDFView/Open
siriporn_sr_ch1.pdf556.43 kBAdobe PDFView/Open
siriporn_sr_ch2.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
siriporn_sr_ch3.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
siriporn_sr_ch4.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
siriporn_sr_ch5.pdf204.5 kBAdobe PDFView/Open
siriporn_sr_back.pdf498.88 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.