Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5876
Title: Impact of antioxidants on the stability of diesel fuel
Other Titles: ผลกระทบของสารแอนติออกซิแดนต์ต่อเสถียรภาพของน้ำมันดีเซล
Authors: Porntawee Theppichai
Email: Amorn.P@chula.ac.th
Advisors: Amorn Petsom
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Subjects: Diesel fuels -- Stability
Antioxidants
Issue Date: 2000
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The effect of antioxidants on the stability of diesel fuel in this research was performed by using modified method to determine stability of diesel fuel blended with antioxidants. The fuel samples were oxidized in an oxidation bomb with fixed amount of oxygen pressure at 690 kPa. The stability of diesel fuel was characterized by induction period, peroxide value, total insoluble and color development. Investigations were operated by varying in temperature at 25-100 ํC, type and concentration of antioxidants, heteroatom, aromatic content, and component distribution. Additionallly, the effects on storage condition were also studied. Antioxidants were found to improve fuel stability from degradation by increasing of induction period, decreasing peroxide value, prevention of insoluble formation and color development after oxidation. There were four significant factors that led to instability of diesel fuel that were the percentage of hydrocracked fraction, amount of heteroatom, temperature and storage conditions. Although antioxidants could retard oxidation, however they acted as antioxidant by different mechanism. Amine type was more effective in delay oxidation better than phenol type and others. However the reqirement of synergistic benefit to improve stability would be possible with the combination of additives. The optimum dosage of antioxidants to be used for 1 year storage at normal storage condition was about 40-60 mg/l.
Other Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงผลกระทบของสารแอนติออกซิแดนต์ต่อเสถียรภาพของน้ำมันดีเซล โดยดัดแปลงวิธีมาตรฐานเพื่อทดสอบหาเสถียรภาพของน้ำมันดีเซลที่มีสารแอนติออกซิแดนต์ผสมอยู่ เร่งให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันภายในเครื่องมือระบบปิดซึ่งอิ่มตัวด้วยออกซิเจนที่มีความดันประมาณ 690 kPa (100 psi) ประเมินเสถียรภาพของน้ำมันตัวอย่างจากระยะเวลาในการเกิดปฏิกิริยา ปริมาณสารเปอร์ออกไซด์ ปริมาณสารไม่ละลายที่เกิดขึ้น และความเข้มของสีน้ำมันที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการแปรค่าอุณหภูมิทดสอบในช่วง 25-100 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการเกิดปฏิกิริยา ชนิดและความเข้มข้นของสารแอนติออกซิแดนต์ ปริมาณกำมะถันและไนโตรเจนเฮทเทอโรอะตอม ปริมาณสารอะโรมาติก และองค์ประกอบของน้ำมันดีเซล รวมทั้งศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดจากภาวะแวดล้อมในการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่าสารแอนติออกซิแดนต์สามารถป้องกันการเสื่อมสภาพของน้ำมันดีเซลได้ โดยการเพิ่มระยะเวลาในการเกิดปฏิกิริยา ลดการเกิดสารเปอร์ออกไซด์ ยับยั้งการเกิดสารที่ไม่ละลายและการเปลี่ยนแปลงสีของน้ำมันดีเซลหลังเกิดปฏิกิริยา และพบว่ามี 4 ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้น้ำมันดีเซลไม่เสถียรคือ องค์ประกอบที่ได้จากกระบวนการทำให้โมเลกุลแตกตัว ซึ่งประกอบด้วยสารประกอบอะโรมะติกและสารประกอบประเภทไม่อิ่มตัวเป็นหลัก ปริมาณเฮทเทอโรอะตอม อุณหภูมิและภาวะในการเก็บรักษา ถึงแม้ว่าสารแอนติออกซิแดนต์มีผลในการยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันให้เกิดช้าลงได้ แต่อย่างไรก็ตามมันจะทำหน้าที่ในการยับยั้งปฏิกิริยาโดยมีกลไกในการเกิดปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน สารแอนติออกซิแดนต์ประเภทเอมีนมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันดีกว่าสารแอนติออกซิแดนต์ประเภทพีนอลและชนิดอื่นๆ หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของสารแอนติออกซิแดนต์ในการยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชัน เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของน้ำมันดีเซลควรใช้สารเติมแต่งประเภทผสม และพบว่าปริมาณสารแอนติออกซิแดนต์ที่เหมาะสมสำหรับเก็บรักษาน้ำมันดีเซลเป็นเวลานาน 1 ปี ที่ภาวะปกติคือ 40-60 มิลลิกรัมต่อลิตร
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2000
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Petrochemistry and Polymer Science
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5876
ISBN: 9741305478
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Porntawee.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.