Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58776
Title: แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์เพื่อหาเวลาที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์และการทดแทนโคนมในฟาร์มโคนมไทยขนาดใหญ่ : รายงานวิจัย
Other Titles: Economic modeling for the optimal breeding and replacement in large Thai dairy farms
Authors: ชัยเดช อินทร์ชัยศรี
กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร
ปิยะณัฐ ประสมศรี
Email: Chaidate.I@Chula.ac.th
Kittisak.A@Chula.ac.th
Piyanat.P@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: โคนม -- ไทย
โคนม -- แง่เศรษฐกิจ
ฟาร์มโคนม -- ไทย
การผสมเชื้อ
การทดแทน (เศรษฐศาสตร์)
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์เพื่อทำนายเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นผสมพันธุ์โค และเวลาที่เหมาะในการทดแทนโคเพื่อประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์ม โดยใช้โปรแกรม @Risk (Palisade Corporation, Ithaca, NY, USA) บนแผ่นงานของโปรแกรม Excel (Microsoft Corporation, Redmond, WA, USA) เทคนิคที่เรียกว่า Monte Carlo stochastic simulation model โดยป้อนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวโคและข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ แหล่งของข้อมูลมาจากเอกสารอ้างอิง การเก็บข้อมูลภาคสนาม และความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ใช้ค่า retention pay off (RPO) เป็นผลลัพธ์ที่บ่งชี้เวลาที่เหมาะสมกับการทดแทนโค ผลการวิจัยพบว่าควรจะทำการทดแทนโคโดยทันทีกรณีที่ฟาร์มสามารถจัดหาโคที่มีสมรรถภาพการผลิตน้ำนมที่สูงขึ้น และกรณีที่ดอกเบี้ยต่ำมาก ๆ ให้ยืดระยะเวลาในการทดแทนโคออกไปนานกว่า 3 ปี ในส่วนของระยะเวลาในการเริ่มผสมพันธุ์ของโคที่ระยะต่าง ๆ จาก 5-9 สัปดาห์พบว่าไม่มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ย RPO มาก อย่างไรก็ตามเพื่อความแม่นยำของแบบจำลองควรเลือกใช้ข้อมูลป้อนเข้าที่จำเพาะสำหรับตัวโค หรือจำเพาะสำหรับฟาร์ม
Other Abstract: The objective of this study was to develop the economic simulation model which implied to predict the optimal time for the first inseminating and replacing cow to improve production efficiency. Program @Risk (Palisade Corporation, Ithaca, NY, USA) in Excel (Microsoft Corporation, Redmond, WA, USA) work sheet was used to produce a model with Monte Carlo stochastic technique. The inputs were cow data and economic data from literatures, survey and authors’ expertise. The output is the retention pay off (RPO) which used to determine the optimal time for replacing cow. Our results indicated that cow replacement should be done immediately if farm could provide replacement cow with a better milk production. In case of low bank interest, the replacement could delay more than 3 years. There is no significant difference of RPO between the first inseminating times at 5 – 9 weeks. However the input should collect from a specific farm and a specific cow to produce precise output.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58776
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
b2146943x_Chaidate In.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.