Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58785
Title: การศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของช่างพื้นเมืองเชียงใหม่ ในการทำตุงล้านนาด้วยวิธีการฉลุลายกระดาษ
Other Titles: A study of the local wisdom transmission process of Chiang Mai local artisans' Lanna Tung paper carving technique
Authors: ปริวิทย์ ไวทยาชีวะ
Advisors: ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Poonarat.P@Chula.ac.th
Subjects: ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย -- เชียงใหม่
หัตถกรรม -- ไทย -- เชียงใหม่
ตุง -- ไทย -- เชียงใหม่
การถ่ายทอดเทคโนโลยี
การบริหารองค์ความรู้
Local wisdom -- Thailand -- Chiang Mai
Handicraft -- Thailand -- Chiang Mai
Flags -- Thailand -- Chiang Mai
Technology transfer
Knowledge management
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของช่างพื้นเมืองเชียงใหม่ ในการทำตุงล้านนาด้วยวิธีการฉลุลายกระดาษ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเลือกสัมภาษณ์จากช่างพื้นเมืองที่มีความรู้ในการทำตุงโดยตรง 7 คน สังเกตขั้นตอนกระบวนการในการถ่ายทอดความรู้ของกลุ่มปราชญ์ท้องถิ่นและกลุ่มศิษย์ในแต่ละบุคคล มาวิเคราะห์ตีความและนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุของการถ่ายทอด เกิดจากการได้คลุกคลีในสิ่งแวดล้อมทางศิลปะจนคุ้นเคย มีความสนใจในงานศิลปะพื้นบ้าน จนเกิดการซึมซับ สามารถฝึกฝนค้นคว้าได้ด้วยตัวเอง เกิดความรักและหวงแหน จนเกิดความต้องการสืบทอดความรู้ภูมิปัญญาการทำตุงกระดาษให้กับผู้สนใจที่จะรับการถ่ายทอด 2) กระบวนการถ่ายทอด มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้โดยตรง ซึ่งการถ่ายทอดความรู้นี้ถือเป็นกระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง โดยเลือกวิธีการถ่ายทอดที่เหมาะสม ด้วยการสอนแบบปฏิบัติ ช่วยให้ผู้รับการถ่ายทอดเกิดพัฒนาการด้านทักษะทางศิลปะ ในการเรียนรู้การทำตุงล้านนา ด้วยวิธีการฉลุลายกระดาษ ซึ่งกระบวนการถ่ายทอดนั้นยังจะต้องประกอบไปด้วย ความพร้อมของผู้ถ่ายทอด ผู้รับการถ่ายทอด วัสดุอุปกรณ์ เนื้อหาสาระในการถ่ายทอด ภูมิปัญญาการเลือกวัสดุเพื่อมาใช้งาน ภูมิปัญญาเชิงช่าง คติความเชื่อของช่าง พื้นฐานจิตใจของช่าง และยังพบว่ามีการเตรียมพิธีกรรมของกลุ่มช่างผู้ทำงานศิลปะพื้นบ้าน เพื่อเป็นบูชาครูผู้ถ่ายทอดความรู้การทำตุง 3) ผลที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทอด ซึ่งจากการประเมินโดยปราชญ์ท้องถิ่นผู้ถ่ายทอดความรู้ พบว่าช่างพื้นเมืองผู้รับการถ่ายทอดความรู้ มีความสามารถในการทำตุงกระดาษฉลุ ด้วยกระบวนการถ่ายทอด ที่มีการขัดเกลาจากปราชญ์ท้องถิ่น โดยนอกเหนือไปจากการสอนให้ทำงานช่างแล้ว ยังเป็นการสอดแทรกจริยธรรมไปพร้อมๆ กัน ซึ่งรูปแบบการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมในสังคม มักมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาและยังสามารถถ่ายทอดความรู้ ค่านิยมทางสังคม ให้กับคนอีกรุ่นหนึ่งได้ ด้วยการเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ และยังทำให้ปราชญ์ท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจในในตัวศิษย์และผลงานของศิษย์อีกด้วย
Other Abstract: To investigate local wisdom transmission process of Chiang Mai Local Artisans’ Lanna Tung paper carving technique. It was a qualitative research using document study, filed study, in-depth interview, and participatory observation from 7 local artisans. The data was analyzed by analytic-induction method and presented by description. The study found that : 1) The Chiang Mai artisans had been familiarized with Lanna environment, and this motivated them to absorb and interest in Lanna Tung paper carving. With the industrious learning and practicing, they have realized that Lanna Tung paper carving was a valuable cultural knowledge to pass on to new generations and this reason caused the origin of transmission. 2) The process of transmission was directly related with learning process. The proper teaching approach especially practical teaching made the learners to develop more skillful of Tung carving techniques. The related factors which could cause more effective transmission process are the readiness of the local artisans and the learners, the materials, contents, teaching approaches, artisans’ beliefs and spiritual worships. 3) The results of transmission had evaluated by the local artisans, the well transmission process had led to new professionals of Lanna Tung carving. It was cleared that local artisans not only taught Tung carving techniques but also taught moral values. The interaction between person and environment had caused the transmission process. As a result, the new generations will inherit the Tung carving techniques from old artisans. Moreover, local artisans were proud of their works as well as their learners.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58785
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2005
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.2005
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pariwit Vitayacheeva.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.