Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58971
Title: ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริการโทรเวชกรรม กรณีศึกษา : อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
Other Titles: Efficiency and effectiveness of telemedicine service : case study of Aoluek District, Krabi Province
Authors: ชญานิศวร์ กุลรัตนมณีพร
Advisors: เกื้อ วงศ์บุญสิน
Kost, Gerald J.
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
Advisor's Email: kua@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การแพทย์ทางไกล -- ไทย -- อ่าวลึก (กระบี่)
การแพทย์ทางไกล -- ประสิทธิผล
บริการทางการแพทย์ -- ประสิทธิผล
Telecommunication in medicine -- Thailand -- Aoluek (Krabi)
Telecommunication in medicine -- Effectiveness
Medical care -- Effectiveness
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการบริการโทรเวชกรรมในประเทศไทย ศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริการด้านโทรเวชกรรม ในอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และหาแนวนโยบายการบริการโทรเวชกรรมในประเทศไทย โดยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งใช้แบบสอบถาม และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ในอดีตปี พ.ศ. 2516 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงเริ่มนำระบบการสื่อสารทางวิทยุรับ-ส่ง มาใช้ในการรักษาพยาบาลของหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีนับเป็นจุดเริ่มต้นของการบริการโทรเวชกรรม จากนั้นในปี พ.ศ. 2537-2546 กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินโครงการแพทย์ทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งให้คำปรึกษาทั้งภาพและเสียงผ่านจอคอมพิวเตอร์ ต่อมาปี พ.ศ. 2548 โรงพยาบาลอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และโรงพยาบาลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนเริ่มให้บริการการรักษา ปี พ.ศ. 2550 การให้บริการเกิดขึ้นที่โรงพยาบาลหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โรงพยาบาลพังงาและโรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และในปี พ.ศ. 2551 การรักษาพยาบาลด้วยรูปแบบนี้ได้เกิดขึ้นอีกใน 10 จังหวัดของประเทศไทย จากการเก็บข้อมูลระดับบุคคลในอำเภออ่าวลึกที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง อุบัติเหตุและผู้ป่วยที่เคยใช้บริการโทรเวชกรรมทุกราย ในปี พ.ศ. 2548-2549 รวม 2,498 ราย พบว่า มีผู้ป่วยร้อยละ 13 ที่รู้จักการบริการโทรเวชกรรม การศึกษาแบบจำลอง Binary Logistic Regression พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการโทรเวชกรรม คือ อายุ รายได้ โรค การประเมินสุขภาพตนเอง ความถี่ในการไปโรงพยาบาล บุคคลที่ไปโรงพยาบาล,สถานีอนามัยกับผู้ป่วย ระยะทางและระยะเวลาการเดินทางระหว่างบ้านกับสถานีอนามัย แบบจำลองนี้สามารถอธิบายการไปใช้บริการได้ร้อยละ 67 ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้ พบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่รับการรักษาด้วยโทรเวชกรรมมีประสิทธิภาพดีกว่าและมีประสิทธิผลที่ไม่ด้อยกว่าการรักษาที่โรงพยาบาล แต่ยังสรุปไม่ได้ว่าในกลุ่มผู้ป่วยอุบัติเหตุนั้น การรักษาด้วยโทรเวชกรรมมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าและมีประสิทธิผลที่ไม่ด้อยไปกว่าการรักษาที่โรงพยาบาล ด้านนโยบายโทรเวชกรรมในอนาคต ควรมีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงและหน่วยงานนั้นต้องมีนโยบายที่ชัดเจน ควรทำอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน และต้องมีการพัฒนาบุคลากรในด้านนี้อย่างจริงจัง เพื่อประโยชน์กับประชากร
Other Abstract: The objectives of this study to determine the history and the experiences of the Telemedicine in Thailand; to study the efficiency and effectiveness of Telemedicine service in Aoluek District, Krabi province; to find the information for the policy of the Telemedicine in Thailand. The research methodology and the data collection, the individual questionnaire were used in quantitative research methods and in-depth interview, focus group discussion and group interview were used in qualitative research methods. The findings indicated that Telemedicine service in the past took place in 1973; H.R.H. the Prince Mother initiated the radio as a mean of improving communication for consulting and curing the patients conducted by “The Princess Mother’s Medical Volunteer Foundation”. During 1994-2003, the Ministry of Public Health was to act “Telemedicine Project” which to utilize the communication via the computer. In 2005 the Aoluek hospital, Krabi province and the Mae Sariang hospital, Mae Hong Son province started the service. In 2007, it took place at Lom Sak hospital; Phangnga hospital and Takuapa hospital. In 2008, Telemedicine service took place in 10 provinces in Thailand. Collecting the data at Aoluek district from every diabetic, hypertension, accident patients and patient who used telemedicine during 2005-2006, there was data of 2,498 patients collected. Only 13 percent of the population knows Telemedicine. The studying “Binary Logistic Regression” model, it was found that age, income, sickness, health evaluation, frequency of visiting the hospitals, the person who accompanied the patients go to hospital, primary care unit, distance and travel time between house and primary care unit. The variables can be explained by this model that the decision to use the telemedicine is 67 percent. Base on these data in the period of this study, diabetic and hypertension patients with telemedicine is more efficient (p<0.01) and no less effective than the hospital (p<0.05). While cannot be concluded in the accident patients. For the policy of Telemedicine service in the future time, the organizations that have to take the direct responsibility will be settled and the policy must be clearly classified, continuously implemented, sustainable and the human resource development in Telemedicine service must be seriously considered for the benefit of the population.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ประชากรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58971
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1295
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1295
Type: Thesis
Appears in Collections:Pop - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ShayanisawaKulrattanamaneeporn.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.