Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59028
Title: การกดการสร้างอสุจิด้วย Depot medroxyprogesterone acetate (DMPA) และ Testosterone enanthate
Other Titles: Suppression of spermatogenesis by Depot medroxyprogesterone acetate (DMPA) and Testosterone enanthate
Authors: นเรศร สุขเจริญ
เอนก อารีพรรค
Email: Nares.S@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: อสุจิ
คุมกำเนิด
สารคุมกำเนิด
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้ทำการศึกษาผลของ Depot medroxyprogesterone acetate (DMPA) กับ Testosterone enanthate (TE) ในการกดการสร้างอสุจิในชายไทย โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครชายไทยปกติจำนวน 10 คน ได้แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 (จำนวน 5 คน) ได้รับการฉีด DMPA 100 มก. ร่วมกับ TE 125 มก. เข้ากล้ามเนื้อทุก 4 สัปดาห์ และกลุ่มที่ 2 (จำนวน 5 คน) ได้รับการฉีด DMPA 100 มก. ร่วมกับ TE 250 มก. เข้ากล้ามเนื้อทุก 4 สัปดาห์ ทำการตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของอสุจิเพื่อดูผลของฮอร์โมนต่อการสร้างอสุจิ ค่ามัธยฐานของระยะเวลาตั้งแต่เริ่มฉีดยาจนกระทั่งความเข้มข้นของอสุจิลดลงเป็น 5, 3, 1 และ 0 ล้านตัวต่อ มล. ของทั้งสองกลุ่มเป็น 70, 93, 136 และ 140 วันตามลำดับ 60% ของผู้ชายทั้งหมดสามารถถูกกดการสร้างอสุจิจนตรวจไม่พบอสุจิในน้ำอสุจิ ไม่พบความแตกต่างระหว่างการกดการสร้างอสุจิของทั้งสองกลุ่ม ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของตับ, ผลการตรวจเลือด (Hematocrit, Hemoglobin, Blood urea nitrogen, Creatinine), ไขมัน (Total cholesterol, Triglyceride, HDL cholesterol, LDL cholesterol, และ VLDL cholesterol) ผลเสียที่พบได้บ่อยที่สุดคือ น้ำหนักเพิ่มขึ้น รายที่มีการกดการสร้างอสุจิจนไม่สามารถตรวจพบอสุจิในน้ำอสุจิ จะมีค่ามัธยฐานของเวลาของการตรวจพบอสุจิภายหลังการฉีดยาเข็มสุดท้ายเป็น 112 วัน และมีค่ามัธยฐานของเวลาที่ตรวจพบว่าความเข้มข้นอสุจิกลับคืนมาอยู่ในระดับความเข้มข้นมากกว่า 20 ล้านต่อมล. และอยู่ในระดับความเข้มข้นของอสุจิเท่ากับก่อนเข้าร่วมการศึกษาเป็น 139 และ 140 วัน ตามลำดับ นับจากการฉีดยาเข็มสุดท้าย ผู้เข้าร่วมการศึกษาทุกรายมีระดับอสุจิกลับเข้าสู่ระดับปกติทุกราย โดยสรุป DMPA และ TE ค่อนข้างมีประสิทธิภาพดีในการกดการสร้างอสุจิในการใช้เพื่อการคุมกำเนิดเพศชายเนื่องจากสามารถการสร้างอสุจิจนตรวจไม่พบอสุจิในน้ำอสุจิได้พอสมควร การศึกษาต่อไปควรทำการศึกษาทางคลินิกในการปรับขนาด DMPA และ TE ให้เหมาะสมสำหรับชายไทย หรือนำเอาฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์เป็นระยะเวลานานตัวใหม่มาใช้ทางคลินิกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกดการสร้างของอสุจิโดยมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด
Other Abstract: To investigate the effect of Depot medroxyprogesterone acetate (DMPA) and testosterone enanthate (TE) on suppression of spermatogenesis in Thai men, 10 normal Thai men were divided into two groups. Group I (n=5) received 100 mg DMPA and 125 mg TE every 4 weeks by intramuscular injection. Group II (n=5) received 100 mg DMPA and 250 mg TE every 4 weeks by intramuscular injection. During treatment, semen was collected regularly to monitor spermatogenesis. Sperm concentration was suppressed markedly. Median times for the first semen sample reaching sperm concentration threshold of 5, 3, 1 and 0 million/ml were 70, 93, 136, and 140 days, respectively. Sixteen percent of men achieved consistent azoospermia. There was no significant difference in the suppression of spermatogenesis between the two dosage regimens. Liver function tests, Blood chemistry (hematocrit, hemoglobin, blood urea nitrogen, Creatinine), lipids and lipoproteins (Total cholesterol, triglyceride, HDL cholesterol, LDL cholesterol, and VLDL cholesterol) were unchanged. The most common side effect was weight gain. After stopping injection, sperm first reappeared in the ejaculate of formerly azoospermia men at 112 days. Recovery of sperm output to normal sperm concentration (>20 million/ml) and recovery to their own baseline sperm concentration have been achieved in all men at a median time of 139 and 140 days, respectively. In conclusion, DMPA and TE is quite effective in suppression of spermatogenesis for male hormonal contraception due to the moderate rate of azoospermia induced. Further clinical studies on the adjustment of the dosage of DMPA and TE for Thai men or using the new long-acting hormones are still needed to improve the effectiveness of the spermatogenesis suppression with minimal side effects.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59028
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nares Su_Res_2541.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.