Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59043
Title: | การศึกษาความต้องการทางโภชนาการของกุ้งแชบ๊วย Penaeus merguiensis เพื่อพัฒนาระบบการเลี้ยงที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม |
Other Titles: | Studies on nutritional requirements of the Banana Shrimp, Penaeus merguiensis for developing an environmental-friendly culture system |
Authors: | พอจำ อรัณยกานนท์ นุดล โมฬี |
Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ |
Subjects: | กุ้งแชบ๊วย -- การเจริญเติบโต โปรตีน |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ได้ทำการศึกษาความต้องการทางโภชนาการของกุ้งแชบ๊วย Penaeus merguiensis เพื่อพัฒนาระบบการเลี้ยงที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยทำการทดลองในระบบการทดลองที่สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการทดลองทั้งหมด 3 การทดลอง การทดลองที่ 1 เป็นการหาความหนาแน่นของกุ้งแชบ๊วยที่เหมาะสม และพบว่าที่ความหนาแน่น 25 ตัวต่อตารางเมตรเป็นความหนาแน่นที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากให้อัตราการเติบโต อัตราการรอดและผลิตรวมดีที่สุด การทดลองที่ 2 เป็นการทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับโปรตีนในอาหารกับความถี่ในการให้อาหารว่ามีผลอย่างไรต่ออัตราการเติบโตและอัตราการอดของกุ้งแชบ๊วย ซึ่งผลปรากฏว่า ระดับโปรตีนไม่มีผลต่ออัตราการเติบโต แต่มีผลต่ออัตราการรอดของกุ้งแชบ๊วย ในขณะที่ความถี่ในการให้อาหารตั้งแต่ 2 ครั้งต่อวันขึ้นไป ไม่ทำให้ผลของอัตราการเติบโตแตกต่างกัน ความถี่ในการให้อาหารไม่มีผลต่ออัตราการรอดของกุ้งแชบ๊วย ระดับโปรตีนในอาหารและความถี่ในการให้อาหารไม่มีแรงกระทำร่วมกันต่ออัตราการเติบโตและอัตราการรอดของกุ้งแชบ๊วย การทดลองที่ 3 เป็นการทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเปลี่ยนถ่ายน้ำกับระดับโปรตีนในอาหารต่ออัตราการเติบโตและอัตราการรอดของกุ้งแชบ๊วย ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ระดบโปรตีนนอาหารมีผลต่ออัตราการเติบโตแต่ไม่มีผลต่ออัตราการรอด ในขณะที่ อัตราการเปลี่ยนถ่ายน้ำไม่มีผลต่อทั้งอัตราการเติบโตและอัตราการรอด ระดับโปรตีนในอาหารและอัตราการเปลี่ยนถ่ายน้ำไม่มีแรงกระทำร่วมกันต่ออัตราการเติบโตและอัตราการรอดของกุ้งแชบ๊วย |
Other Abstract: | Nutritional requirements of Banana shrimp, Penaeus merguiensis were studied in order to develop an environmental-friendly culture system. Three experiments wer designed and conducted using the experimental systems at the Sichang Marine Science Research and Training Station Aquatic Resources Research Institute, Chulalongkorn University, Chon Buri. The first experiment was done to find the appropriate stocking density of the Banana shrimp. The result indicated that stocking density of 25 shrimp per square meter was the most suitable density due to high growth rate, high survival rate and highest production. The second experiment was conducted to investigate the correlation of dietary protein level and feeding frequency on growth and survival rates of Banana shrimp. The result showed that dietary protein level did not affect growth rate but did affect the survival rate of Banana shrimp while feeding frequency at 2 or more times per day did not affect either growth rate or survival rate. There is no interaction between dietary protein level and feeding frequency on either growth rate or survival rate of banana shrimp. The third experiment was executed to explore the correlation of dietary protein level and water exchange rate on growth and survival rates of Banana shrimp. The data suggested that dietary protein level did affect growth rate but did not affect the survival rate of Banana shrimp while water exchange rate did not affect either growth rate or survival rate. There is no interaction between dietary protein level and water exchange rate on either growth rate or survival rate of banana shrimp. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59043 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Aqua - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Porcham_Ar_Res_2546.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.