Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59074
Title: | การสร้างระบบเฝ้าตรวจเเบตเตอรี่สำหรับสถานีไฟฟ้าย่อยเเบบ ไร้คนบนพื้นฐานของโพรโทคอล TCP/IP เเบบฝังตัว |
Other Titles: | An implementation of battery monitoring system for unmanned power substation based on embedded tcp/ip protocol |
Authors: | เกริกศักดิ์ จันทร์ด้ง |
Advisors: | วาทิต เบญจพลกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Watit.B@Chula.ac.th |
Subjects: | สถานีไฟฟ้าย่อย ทีซีพี/ไอพี (โปรโตคอลเครือข่ายคอมพิวเตอร์) Electric substations TCP/IP (Computer network protocol) |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปัจจุบันสถานีไฟฟ้าย่อยแบบไร้คนได้นำเอาระบบเฝ้าตรวจแบตเตอรี่มาใช้เฝ้าตรวจแบตเตอรี่สำรองสำหรับสถานีไฟฟ้าย่อยตลอดเวลา แต่ระบบเฝ้าตรวจแบตเตอรี่ส่วนใหญ่ที่มีขายในท้องตลาดมีราคาสูงอีกทั้งยังมีฟังก์ชันเกินความจำเป็นที่ผู้ใช้งานต้องการ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้ออกเเบบเเละสร้างระบบเฝ้าตรวจเเบตเตอรี่ขึ้นโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่มีการฝังระบบโพรโทรคอล TCP/IP ไว้ในตัวซึ่งใช้ควบคุมการสื่อสารบนโครงข่ายไอพี โครงสร้างของระบบประมวลผลจัดให้มีโครงสร้างการทำงานแบบแม่ข่ายลูกข่าย กล่าวคือจัดให้มีไมโครคอนโทรลเลอร์หลักหนึ่งตัวทำงานร่วมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ลูกข่ายอีกสี่ตัว เพื่อประมวลผลสัญญาณจากวงจรวัดและเซนเซอร์ที่จำเป็นในงานเฝ้าตรวจแบตเตอรี่ โดยเครื่องต้นแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถวัดแรงดันเซลล์ อุณหภูมิของแต่ละเซลล์ กระแสแบตเตอรี่ คำนวณความต้านทานของแบตเตอรี่แต่ละเซลล์ รวมถึงการเตือนเมื่อระดับสารละลายอิเล็กโทรไลต์ต่ำกว่าขีดที่กำหนด โดยสามารถใช้งานได้กับแบตเตอรี่ที่ต่ออนุกรมจำนวน 24 เซลล์ จากการทดสอบใช้งานจริงกับสถานีไฟฟ้าย่อยแบบไร้คนเป็นระยะเวลากว่า 3 เดือนพบว่าระบบเฝ้าตรวจแบตเตอรี่ที่พัฒนาขึ้น หลังจากปรับปรุงแก้ไขแล้วสามารถทำงานได้เป็นอย่างดี |
Other Abstract: | At present, unmanned power substation uses a battery monitoring system to monitor its backup battery continuously. However, most of the battery monitoring systems in the market are expensive and have excessive functions. In this thesis, a battery monitoring system is designed and implemented by using embedded TCP/IP protocol microcontroller which has the ability to communicate over IP network. The processing structure uses the master-slave structure which provides one master microcontroller and four slave microcontrollers to perform signal processing task from measurement circuits and sensors. The prototype which is developed can provide ability to measure cell voltage, cell temperature, battery current and room temperature, ability to calculate internal resistance of each cell and ability to alarm when electrolyte of each cell is below a specified limit. This prototype can work with battery which has cells connected in a series up to 24 cells. The system was tested in a unmanned power substation for over 3 months, after improvement, the developed battery monitoring system can work quite well. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59074 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2116 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.2116 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kroeksak Chandong.pdf | 5.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.