Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59117
Title: | รำเชิดฉิ่งเมขลา |
Other Titles: | Cherd-ching mekhala dance |
Authors: | จินตนา อนุวัฒน์ |
Advisors: | มาลินี อาชายุทธการ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Malinee.A@Chula.ac.th |
Subjects: | เชิดฉิ่ง การรำ -- ไทย Dance -- Thailand |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา องค์ประกอบ หลักการและกลวิธีในการรำเชิดฉิ่งเมขลา โดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ ตลอดจนการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง โดยศึกษากระบวนท่ารำจากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏยศิลป์ไทย จำนวน 5 ท่าน ได้แก่ ครูส่องชาติ ชื่นศิริ ครูจินดารัตน์ จารุสาร ครูรัจนา พวงประยงค์ ครูบุนนาค ทรรทรานนท์ และครูอัจฉรา สุภาไชยกิจ ผลการวิจัยพบว่า รำเชิดฉิ่งมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้สำหรับการฝึกหัดท่ารำพื้นฐานของตัวนางและสำหรับรำอวดฝีมือของผู้แสดง ซึ่งใช้ลีลาการร่ายรำแบบละครใน เพื่อแสดงความหมายของกิริยาอาการของตัวละครในเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่น รำเชิดฉิ่งเมขลา แสดงการเดินทางในระยะไกล ไปอย่างสง่างาม เป็นต้น การรำเชิดฉิ่งเมขลามีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1.ใช้บทรำจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ 2. ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงโดยใช้ทำนองเพลงเชิด และตีฉิ่งกำกับจังหวะโดยตีเฉพาะเสียง “ฉิ่ง” ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ 3.การแต่งกายยืนเครื่องตัวนาง โดยกำหนดให้สวมเสื้อในนางแขนยาว และนุ่งห่มผ้าสีน้ำเงินทั้งตัวเพื่อแทนสีกายของนางเมขลา 4.มีการถือดวงแก้วด้วยมือขวาประกอบการรำ เพราะถือเป็นของวิเศษประจำกายนางเมขลา 5. ฉากวิมานรัตนา มีการจัดแสดง 2 แบบ คือใช้เตียงแดงเป็นฉากสมมติแบบละครไทยโบราณและการจัดฉากวิมานประกอบการแสดง ผู้ที่จะรับบาทบาทนางเมขลา ควรคัดเลือกผู้ที่มีหน้าตางดงาม สรีระโปร่ง เพรียว และมีความแคล่วคล่องว่องไว และเป็นผู้ที่มีพื้นฐานการรำละครได้อย่างงดงาม กระบวนท่ารำเชิดฉิ่งเมขลา มี 3 ขั้นตอน คือ (1)กระบวนท่ารำบนวิมาน มีท่ารำหลักได้แก่ ท่าเทพนม ท่าบัวชูฝัก ท่าเท้าวิมาน ท่าปิดวิมาน ท่าเยื้องกรายเพื่อออกจากวิมาน (2)กระบวนท่าเชิดฉิ่งแสดงการล่องลอยไปในอากาศ เริ่มด้วยท่ารำร่าย ท่าป้องหน้า ท่ากินนรรำสลับท่าประไลยวาต ท่าโก่งศิลป์ ท่าฝ่ายฟ้อน ท่าเมขลา ท่าพิสมัยเรียงหมอน ท่ากังหันร่อน ท่ากินนรฟ้อนฝูง มีท่ารำเฉพาะตัวนางเมขลา คือ ท่าโยนแก้ว ท่าทิ้งแก้ว และ(3) กระบวนท่ารำในเพลงเชิดเพื่อแสดงการเดินทางระยะไกลอย่างเร่งรีบในท่าเหาะขึ้น ท่าโหนลง แสดงการถึงจุดหมายปลายทาง ในการปฏิบัติท่ารำมีการเคลื่อนไหวขาและเท้า 3 ลักษณะ คือ การย่ำเท้าหรือการซอยเท้า การขยั่นเท้า และการห่มเข่าที่จะต้องปฏิบัติให้ลงตรงตรมจังหวะฉิ่ง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของการรำเชิดฉิ่ง สุนทรียะของการรำเชิดฉิ่ง คือความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ของร่างกาย กล่าวคือ ในขณะที่ร่างกายส่วนบนมีการกล่อมหน้า ลักคอ กดเกลียวข้าง กดไหล่ในลักษณะการยักเยื้องนั้น ขณะเดียวกันร่างกายส่วนล่างที่ยืนด้วยขาเดียวและเท้าอีกข้างมีการยกหรือกระดกขึ้นที่ใช้การทรงตัวอย่างมั่นคงและสมดุลนั้น ก็มีการเข่าลงตามจังหวะฉิ่งไปพร้อมกันอย่างสอดคล้องและงดงาม รำเชิดฉิ่งเมขลา ถือเป็นศิลปะการแสดงขั้นสูงที่รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการและลีลาการร่ายรำของตัวนางในการแสดงนาฏยศิลป์ไทย กระบวนท่ารำเชิดฉิ่งตามแบบครูโบราณมีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ สืบทอดและเผยแพร่ เพราะถือเป็นท่ารำต้นแบบในการสร้างสรรค์การแสดงเพื่อพัฒนาศาสตร์ด้านนาฏยศิลป์ไทยต่อไป |
Other Abstract: | This dissertation aims to study the background, components, principles and techniques to portray the Cherd-Ching Mekhala Dance. The data were collected from various types of documents and by interviewing 5 Thai classical dance experts, namely Khun Kru Songchaat Choensiri, Khun Kru Jindarat Jarusarn, Khun Kru Rajana Puangprayong, Khun Kru Boonnag Trantranont, and Khun Kru Ajjara Supachaiyakit. The researcher observed the dance techniques and performed the dance according to the experts’advice. The study found that the Cherd-Ching Makhala Dance has been performed in the history of Thai classical dance since Ayuddhaya Period until the present. The dance is consisted of various gestures from the basic Cherd-Ching Dance for female performers. Usually the Cherd-Ching Dance is used for portraying the action of the role with great duty in the performance. An example is such that a role character is travelling in a long distance with graceful manner. The Cherd-Ching Mekhala Dance requires 5 important components to perform the dance. (1) The poem from the Ramayana. (2) The Thai Classical Ensemble. The music is called “Cherd” but the cymbals (or “Ching”) were used as the percussion in lieu of the drums. (3) The costumes consisted of a blue inner tight for female performer. (4) The magic glass ball or “Look Kaew”. (5) The angelic scene of heaven. The scene could be using a classical Thai flat bed called “Taen” or setting up the artworks to create the reality on stage. The performer who will portray Mekhala role must be a very skilful dancer with beautiful facial and body appearance, or the so-called perfect. The dance movements of Cherd-Ching Mekhala include (1) the dance action at the scene of heaven, (2) the dance action of flying, and (3) the dance action which signifies that the character has arrived her destination. There are several names of the gestures used in this dance in Thai. However, there is a unique character of this dance is that the performer will throw the magic ball into the air and dance with it until the end. Also, the dancer will quickly step frontward and backward using the feet professionally while the upward and downward movements are depending on the dance techniques which use a lot of knee movements. These characteristics make the Cherd-Ching Mekhala very unique dance. The dance must be performed in harmony to show the aesthetic power of the dance. The dancer will use every part of her body to make the dance movements graceful but yet sacred. She must have her good body balance throughout the dance even when lifting the legs and feet up and down. Cherd-Ching Mekhala Dance is considered one of the highest form of the Thai classical dance which is consisted of great details in Thai classical arts which must be conserved, transferred, and performed from generation to generation to maintain the Thai heritage. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นาฏยศิลป์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59117 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1092 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1092 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jintana_An.pdf | 19.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.