Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59719
Title: | การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ชุด เดอะวิทรูเวียนแมน |
Other Titles: | THE CREATION OF A DANCE BY THE VITRUVIAN MAN |
Authors: | ธนกร สรรย์วราภิภู |
Advisors: | นราพงษ์ จรัสศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Naraphong.C@Chula.ac.th,thaiartmovement@hotmail.com |
Subjects: | นาฏยประดิษฐ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต Choreography |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่อง “การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ชุด เดอะวิทรูเวียนแมน” มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบและแนวคิดในการดำเนินการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพเดอะวิทรูเวียนแมนโดย เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo Da Vinci) ในประเด็นด้านสัดส่วนและรูปร่างหรือรูปทรงเรขาคณิตที่เกิดจากสรีระร่างกายของมนุษย์มาใช้เป็นแนวคิดหลักในการดำเนินงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สื่อสารสนเทศ ข้อมูลภาคสนาม การสังเกตการณ์งานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ การสัมมนา และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ และสรุปผล ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์สามารถจำแนกตามองค์ประกอบของการแสดงได้ 8 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดง สร้างสรรค์ขึ้นใหม่จากประเด็นด้านสัดส่วนและรูปร่างหรือรูปทรงเรขาคณิตของภาพเดอะวิทรูเวียนแมน 2) นักแสดงมีคุณสมบัติด้านสัดส่วนของสรีระร่างกายในรูปแบบที่เหมือนและต่างกันมีความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ 3) ลีลา นำเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) เครื่องแต่งกายแสดงถึงสรีระร่างกายของนักแสดงอย่างชัดเจน 5) ดนตรีและเสียงประกอบการแสดง ใช้เสียงจากนักแสดง สิ่งแวดล้อม และดนตรีสังเคราะห์ในการสร้างบรรยากาศการแสดง 6) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้เทปกระดาษกาวสองหน้าในการสื่อสารด้านการเปรียบเทียบสรีระ สร้างสรรค์รูปเรขาคณิต และใช้เครื่องฉายภาพขนาดเล็กเข้ามาส่งเสริมการแสดง 7) พื้นที่การแสดง จัดวางตำแหน่งผู้ชมเหนือพื้นที่การแสดง โดยจัดแสดงในพื้นที่ลักษณะอื่นที่ไม่ใช่โรงละคร 8) แสง ออกแบบให้เกิดความชัดเจนในการสื่อความหมายของการแสดง นอกจากนี้ในด้านแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ได้ให้ความสำคัญใน 8 ประเด็น ได้แก่ 1) ภาพเดอะวิทรูเวียนแมน 2) สัดส่วนและรูปร่างหรือรูปทรงเรขาคณิต 3) ความเรียบง่ายตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) องค์ประกอบทางทัศนศิลป์ 5) ออกแบบพื้นที่การแสดงโดยวางตำแหน่งผู้ชมอยู่ในระดับที่สูงกว่านักแสดง 6) ทฤษฎีนาฏยศิลป์ร่วมสมัย 7) อุปกรณ์ประกอบการแสดง และ 8) การแสดงที่เป็นศิลปะเพื่อศิลปะ ดังนั้นผลการวิจัยทั้งหมดนี้จึงมีความสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ ผู้วิจัยได้จัดการแสดงผลงานสร้างสรรค์เพื่อเผยแพร่ มีผู้เข้าชมผลงานทั้งสิ้น 158 คน เป็นนักศึกษาทางด้านนาฏยศิลป์ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏยศิลป์ อาจารย์สอนนาฏยศิลป์ ศิลปะการแสดงทั้งในระดับโรงเรียนมัธยม และมหาวิทยาลัย รวมถึงผู้สนใจทั่วไป ผลจากการทำประชาพิจารณ์และแบบสอบถามสรุปได้ว่า การนำแนวคิดด้านสัดส่วนและรูปร่างหรือรูปทรงเรขาคณิตในภาพเดอะวิทรูเวียนแมนมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์เป็นสิ่งที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้ท่าทางในชีวิตประจำวันเข้ามาใช้ในการแสดง มีการเน้นย้ำ ที่ส่งผลให้ผู้ชมสามารถรับรู้เรื่องราวการแสดงได้อย่างชัดเจน และผู้เข้าร่วมชมการแสดงยอมรับถึงรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ชิ้นนี้ อันก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ควรเผยแพร่และคุณค่าต่อการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ |
Other Abstract: | A thesis “The Creation of a Dance by The Vitruvian Man” aims to investigate the forms and concepts of performance designing inspired by the painting The Vitruvian Man by Leonardo Da Vinci. The thesis focuses on the concept of forms and figures including geometric shapes based on human figures. The research instruments include documentary research, interviews with experts, information media, field study, observation on dance creation, seminars, and personal experience of the researcher. The data collected has been analyzed, synthesized, brought to a dance creation, and concluded respectively. It is found that the dance creation can be divided into eight components of performance: 1) Role is invented with regards to the concept of forms and figures including geometric shapes represented in The Vitruvian Man. 2) Performers are both same and different in terms of body shape and figure while all of them have ability in dance performance. 3) Style is presented through a post-modern dance. 4) The costumes thoroughly represent the body figures of the performers. 5) Music and overtone are of the performers, environment, and music synthesis and they are used to create an atmosphere in the performance. 6) The main prop of the created performance is a roll of double-sided tape which is used to communicate the comparison of the body figures and create geometric shapes. A mini projector is also used to support the performance. 7) The performance area is located below the audience and it is not in a theatre but anywhere else; and 8) Light is designed to be clear to send a message of the performance to the audience. In addition, the concept of dance creation places emphasis on eight aspects: 1) The Vitruvian Man 2) Forms and figures including geometric shapes 3) Simplicity based on the post-modern dance 4) Visual art composition 5) Designing the performance area where the audience are above the performers 6) Contemporary dance theories 7) Props and 8) The performance which is an art for art's sake. As a result, all the components meet all the objectives in this research. The researcher has held his created performance in public. There were 158 audiences including dance students, dance experts, instructors who teach dance and performing arts in high school and university, and ones interested. From the public hearing and questionnaire, it is concluded that implementing the concept of forms and figures including geometric shapes presented in The Vitruvian Man into dance creation is very interesting, especially in terms of using everyday actions in the performance. The use of emphasis enables the audience to receive the message clearly from the performance, and the audience accepted the style of the dance creation, all of which brings about the knowledge that deserves to be passed on and creates the value for dance creation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ศิลปกรรมศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59719 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1464 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1464 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5886807535.pdf | 36.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.