Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59878
Title: การเล่าเรื่องประเด็นสังคมผ่านคลิปวิดีโอบนสื่อออนไลน์
Other Titles: STORYTELLING OF SOCIAL ISSUES IN ONLINE VIDED CLIPS
Authors: นิพัทธา อินทรักษา
Advisors: พนม คลี่ฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Phnom.K@Chula.ac.th,Phnom.K@Chula.ac.th
Subjects: สื่อสังคมออนไลน์
คลิป
การสื่อข่าวและการเขียนข่าว
Social media
Reporters and reporting
Film clips
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายการเล่าเรื่องประเด็นสังคม บริบทของการเผยแพร่ และความเชื่อมโยงของเนื้อหาในคลิปวิดีโอบนสื่อออนไลน์กับสาระหลักของประเด็นสังคมที่นำเสนอ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) โดยวิเคราะห์คลิปวิดีโอจำนวน 15 เรื่อง ที่มีจำนวนผู้เข้าชมมากกว่า 100,000 ครั้ง และมีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นสังคมที่เผยแพร่บนสื่อออนไลน์ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2558-2560 ผลการวิจัยพบว่า คลิปวิดีโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นสังคมบนสื่อออนไลน์ มีการเล่าเรื่องผ่านเรื่องจริงและเรื่องแต่ง โดยที่การเล่าเรื่องผ่านเรื่องแต่งมี 2 ประเภท ได้แก่ เรื่องแต่งที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องจริง และเรื่องแต่งจากจินตนาการ เมื่อวิเคราะห์ประเภทของเรื่อง (Genre) พบว่าเป็นแนวชีวิต แนวสารคดี แนวตลก แนวเพลง และแนวแอนิเมชั่น สำหรับบริบทของการเผยแพร่คลิปวิดีโอพบว่า มีคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการได้รับการแชร์และมีผู้ชมจำนวนมาก ได้แก่ เนื้อหาของคลิป ช่วงเวลาการเผยแพร่ตามเทศกาลและวันสำคัญ ความยาวของคลิปวิดีโอ ตัวหนังสือที่เป็นบทพูดประกอบการเล่าเรื่อง และการใช้แฮชแท็ก ในด้านความเชื่อมโยงของเนื้อหาในคลิปวิดีโอบนสื่อออนไลน์ กับสาระหลักของประเด็นสังคมพบว่า เป็นประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนกับสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่อกลุ่ม ประเด็นสังคมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และประเด็นสังคมที่เกิดมาจากพฤติกรรมเบี่ยงเบน นอกจากนี้เนื้อหาในคลิปวิดีโอมีความเชื่อมโยงกับสาระหลักของประเด็นสังคมที่เป็นเหตุการณ์จริงในช่วงปี พ.ศ. 2558-2560 ได้แก่ เรื่องคุณธรรมจริยธรรม ความสงบสุขของสังคม ระบบการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ความรุนแรงโหดร้ายในครอบครัว การหลอกลวงละเมิดและความเท่าเทียมทางเพศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ จิตสำนึกสาธารณะ การเคารพกติกา กฎหมาย สุขภาวะและโภชนาการ
Other Abstract: This research aims to explore and describe the storytelling of social issues, the disseminating context, and the connection between the content of video clips on online media and the main ideas of their delivered social issues. This qualitative research employs textual analysis to analyze 15 video clips with more than 100,000 views, all of which are about social issues on online media during the period of 2015-2017. The research has found that video clips are about social issues on online media present the content in two ways: a true story and a fictional story. For the latter, it can be either based on true story or completely imaginary. On the other hand, the storytelling can be categorized according to genre as well: drama, documentary, comedy, musical and animation. Regarding of disseminating context, it is found that in order for a video clip to be shared and viewed, its content, length, subtitles, hashtags and release periods of festivals and important days must aid the clip to go viral. For the social issues portrayed via video clips on online media, the relationship between an individual and the society; the relationship among different social groups; issues derived from technology advancement and issues of deviant behavior related matter are the main focus. In addition, they indicate the social issues occurred between 2015-2017 including ethics and morality, social harmony, equality in education, family violence, sexual harassment and gender equality, natural resources and environmental issues, safe and creative media, public mind, law and regulation, hygiene and nutrition.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59878
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.909
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.909
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5984663128.pdf7.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.